มะละกอ ขึ้นชื่อกับประโยชน์ต่อสุขภาพ

มะละกอ เป็นไม้ผลที่มีเนื้อในสีเหลืองส้ม หุ้มด้วยเปลือกชั้นนอกบาง ๆ สีเขียว เปลี่ยนเป็นสีส้มหรือแดงเมื่อผลใกล้สุกเต็มที่แล้ว หากยังไม่ถูกผ่าออก มะละกอจะไม่ส่งกลิ่นใด ๆ

มะละกอ เป็นไม้ผลที่มีเนื้อในสีเหลืองส้ม หุ้มด้วยเปลือกชั้นนอกบาง ๆ สีเขียว เปลี่ยนเป็นสีส้มหรือแดงเมื่อผลใกล้สุกเต็มที่แล้ว หากยังไม่ถูกผ่าออก มะละกอจะไม่ส่งกลิ่นใด ๆ แต่เมื่อถูกปอกเปลือกและผ่าจนเห็นเนื้อใน มะละกอจะส่งกลิ่นหอมหวานออกมา นอกจากคนจะนิยมรับประทานมะละกอสุกเป็นผลไม้อาหารว่างแล้ว มะละกอยังถูกนำมาประกอบอาหารไทยหลายชนิด โดยเฉพาะส้มตำ อาหารยอดนิยมและขึ้นชื่อเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของประเทศไทย

 

มะละกอ ขึ้นชื่อกับประโยชน์ต่อสุขภาพ

 

ในด้านคุณค่าทางโภชนาการ มะละกอเป็นผลไม้ที่ประกอบไปด้วยสารอาหารนานาชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย มีแคลอรี่ต่ำ ไม่มีไขมันหรือคอเลสเตอรอล และยังเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของวิตามินเอ วิตามินซี โพแทสเซียม โฟเลต และเส้นใยอาหาร นอกจากนี้ ในมะละกอยังมีสารพาเพน (Papain) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ช่วยย่อยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมันได้เป็นอย่างดี เป็นผลดีต่อกระบวนการย่อยสลายอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ที่ถูกรับประทานเข้าไป และยังมีสารคาร์เพน (Carpain) ที่คาดว่าอาจมีฤทธิ์ในการฆ่าทำลายปรสิต และส่งผลดีต่อระบบประสาทได้อีกด้วย

 และที่สำคัญมะละกอสุกนั้น ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีแก้ท้องผูก ป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ด้วย ที่สำคัญไปมากกว่านั้นมะละกอสามารถยับยั้งการเกิดมะเร็งปากมดลูก เพราะมะละกอเป็นอาหารที่มีเส้นใยสูง ในร่างกายของคนเรานั้นต้องการอาหารเส้นใจมากถึงวันละ 20 กรัม เส้นใยมีประโยชน์ ในการไปจับกับสารก่อมะเร็งแล้วจะขับออกทางอุจจาระได้

 

มะละกอ ขึ้นชื่อกับประโยชน์ต่อสุขภาพ

 

ดังนั้น ผลและใบของมะละกอจึงเชื่อว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพในด้านต่าง ๆ และอาจสามารถนำมาใช้รักษาบรรเทาอาการป่วยบางอย่างได้ เช่น ช่วยให้ประสาทผ่อนคลาย ช่วยขับปัสสาวะ ป้องกันและรักษาโรคในระบบทางเดินอาหาร การติดเชื้อและโรคพยาธิในลำไส้ และอาการปวดเส้นประสาทเนื่องจากมีหนอนพยาธิในระบบน้ำเหลือง เป็นต้น

 

มะละกอ ขึ้นชื่อกับประโยชน์ต่อสุขภาพ

 

อย่างไรก็ตาม ยังคงมีคำถามเกี่ยวกับสารเคมีต่าง ๆ ที่พบในมะละกอ ว่ามีประสิทธิภาพทางการรักษาและมีคุณประโยชน์ต่อสุขภาพจริงหรือไม่ จึงเป็นที่มาของการศึกษาค้นคว้าข้อมูลในด้านต่าง ๆ และการทดลองทางการแพทย์ เพื่อให้ได้หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่แน่ชัดให้สามารถนำมาปรับประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้จริง

ความปลอดภัยในการบริโภคมะละกอข้อมูลสำหรับผู้บริโภคทั่วไป

 

มะละกอ ขึ้นชื่อกับประโยชน์ต่อสุขภาพ


    เลือกบริโภคมะละกอสดที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะมะละกอสุกที่มีผิวสีเหลืองบางส่วน หรือทั้งผล และไม่นิ่มเหลวตรงบริเวณขั้วที่ติดกับลำต้น
    ไม่บริโภคมะละกอที่เน่าเสีย ผิวช้ำ เหี่ยวย่น หรือหลีกเลี่ยงการบริโภคมะละกอบริเวณที่มีเนื้อนุ่มเหลวเละ
    ไม่บริโภคมะละกอที่ดิบจนเกินไป โดยเฉพาะที่มีเปลือกนอกสีเขียว และมีเนื้อแข็ง
    การบริโภคมะละกอจะปลอดภัย หากบริโภคในปริมาณที่พอดีในรูปแบบอาหารและผลไม้ของว่างทั่วไป
    การบริโภคยาหรือสารสกัดมะละกอจะปลอดภัย หากบริโภคตามปริมาณที่ถูกต้องเหมาะสมภายใต้คำแนะนำของแพทย์
    การบริโภคมะละกอจะเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพ หากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป
    การที่ผิวสัมผัสกับยางมะละกอ อาจจะเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพได้

 

มะละกอ ขึ้นชื่อกับประโยชน์ต่อสุขภาพ

 

ข้อควรระวังของการบริโภคมะละกอในผู้ที่มีปัจจัยทางสุขภาพ
    ผู้ที่ตั้งครรภ์ การบริโภคมะละกออาจไม่ปลอดภัยสำหรับผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ เนื่องจากมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์จากบางงานวิจัยชี้ว่า สารเคมีพาเพนในมะละกออาจเป็นพิษต่อทารกในครรภ์หรือทำให้เกิดภาวะพิการแต่กำเนิดได้ จึงควรรับประทานมะละกอในปริมาณที่เหมาะสม หรือปรึกษาแพทย์ก่อน
    ผู้ที่กำลังให้นมบุตร แม้ยังไม่มีข้อพิสูจน์ใดที่เสนอเกี่ยวกับผลกระทบต่อแม่และทารกแรกเกิดในระหว่างช่วงที่ให้นมบุตร แต่แม่เด็กควรหลีกเลี่ยงการบริโภคมะละกอในปริมาณมากเกินไป เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของตนและทารกที่อาจได้รับสารเคมีต่าง ๆ ผ่านทางน้ำนมไปด้วย
    โรคเบาหวาน มะละกอที่ผ่านการหมักดองอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลงได้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่กำลังใช้ยาลดระดับน้ำตาลในเลือดควรระมัดระวังในการบริโภค ไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คและควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมอยู่เสมอ
    ผู้ที่แพ้สารพาเพน ต้องหลีกเลี่ยงไม่บริโภคมะละกอ อาหาร หรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของมะละกอ เนื่องจากมีสารชนิดนี้อยู่ในมะละกอ
ผู้ที่แพ้สารลาเท็กซ์ ต้องหลีกเลี่ยงการบริโภคหรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของมะละกอและยางมะละกอ
    ผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด เนื่องจากมะละกอที่ผ่านการหมักดองอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลงได้ จึงอาจกระทบต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดระหว่างและหลังการผ่าตัด ดังนั้น ผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดควรหยุดบริโภคมะละกออย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด

 

มะละกอ ขึ้นชื่อกับประโยชน์ต่อสุขภาพ



http://www.pobpad.com,http://www.honestdocs.co