เร็วๆ นี้ !?!? “พ.ต.อ.ไพสิฐ”  เผยชัดวันค้นวัดพระธรรมกาย...หากเจ้าหน้าที่ไม่ดำเนินการ จับกุม “พระธัมมชโย” เจอข้อหาอีก (รายละเอียด)

ความคืบหน้าการเดินหน้าทำคดีของพระธัมมชโย พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าการขออนุมัติหมายค้นวัดพระธรรมกายรอบที่ 3 เพื่อจับกุมตัวพระธัมมชโย ผู้ต้องหาคด

ความคืบหน้าการเดินหน้าทำคดีของพระธัมมชโย

พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าการขออนุมัติหมายค้นวัดพระธรรมกายรอบที่ 3 เพื่อจับกุมตัวพระธัมมชโย ผู้ต้องหาคดีสมคบกันฟอกเงิน ร่วมกันฟอกเงินและรับของโจร จากการรับเช็คบริจาคของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นฯ นั้น พ.ต.อ.ไพสิฐยืนยันว่า ต้องมีการเข้าปฏิบัติการเพื่อให้ได้ตัวผู้ต้องหาตามหมายจับ หากเจ้าหน้าที่ไม่ดำเนินการ ต้องมีความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ แต่ในการเข้าค้น ต้องประเมินสถานการณ์อย่างรอบคอบ และต้องสนธิกำลังร่วมตำรวจและทหาร เนื่องจากดีเอสไอไม่มีกำลังเพียงพอ คาดว่าเร็วๆ นี้สามารถเข้าปฏิบัติการได้

 

เร็วๆ นี้ !?!? “พ.ต.อ.ไพสิฐ”  เผยชัดวันค้นวัดพระธรรมกาย...หากเจ้าหน้าที่ไม่ดำเนินการ จับกุม “พระธัมมชโย” เจอข้อหาอีก (รายละเอียด)

หากจะนับถอยหลังปฏิบัติการบุกจับพระธัมมชโย อดีตเจ้าอาวาสกิตติมศักดิ์ของวัดพระธรรมกาย และผู้นำแห่งลัทธิธรรมกาย ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ต้องหาสมคบกันฟอกเงิน ร่วมกันฟอกเงิน และร่วมกันรับของโจร

 

ในคดีสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ที่ทางเจ้าหน้าที่ยังคงบูรณาการทำงานร่วมกันและดำเนินคดีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทุกขั้นตอนต้องเป็นไปตามกฎหมาย หากพิจารณาจากเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นก็พอจะอุปมานไปได้ว่านี่คือละครเรื่องหนึ่งที่กำลังเข้มข้น และเดินทางมาใกล้จะถึงตอนอวสารแล้วใช่หรือไม่

 

ซึ่งในวันนี้ทีมข่าวสเปเชี่ยลรีพอร์ตทีนิวส์จะได้แจกแจงรายละเอียดที่ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้แจ้งข้อกล่าวต่อวัดพระธรรมและบุคคลที่เกี่ยวข้องดังนี้ โดยทางเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองท่าโขลง จ.ปทุมธานี

 

ปิดป้ายประกาศ ห้ามใช้และห้ามเคลื่อนย้ายที่กำแพงวัดพระธรรมกาย เนื่องจากสร้างกำแพงโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร เช่นเดียวกับที่ประตู 4 เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบล คลอง 3 ปิดป้ายประกาศ คล้ายกัน

 

แม้ว่านายธัชนนท์ พรใบหยก ทนายความผู้รับมอบอำนาจจากวัดพระธรรมกาย ชี้แจงว่าสิ่งปลูกสร้างอาคารต่างๆ ในวัดพระธรรมกายทั้งหมดเป็นไปตามพระราชบัญญัติการก่อสร้างอาคาร ไม่จำเป็นต้องขออนุญาตจากท้องถิ่น แต่ส่งแบบแปลนให้ท้องถิ่นรับทราบอย่างถูกต้องเพื่อสร้างอาคาร ลานจอดรถ สะพานข้ามคลอง รวมถึงสิ่งปลูกสร้างอื่นๆเพื่อการศาสนา

 

แต่ล่าสุดกลับพบว่าข่าวและสื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับการดำเนินคดีกับวัดพระธรรมกายในความผิด พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 เรื่องการก่อสร้างอาคารและสิ่งปลูกสร้างของวัดพระธรรมกาย โดยมีเทศบาลเมืองท่าโขลง จังหวัดปทุมธานี เป็นผู้แจ้งความร้องทุกข์นั้น

 

ในความเป็นจริงแล้ว เจ้าพนักงานท้องถิ่นเทศบาลเมืองท่าโขลง ยืนยันว่าวัดวาอารามหรืออาคารต่างๆที่ใช้เพื่อการศาสนา จะได้รับการยกเว้นเมื่อรัฐมนตรีได้ประกาศเป็นกฎกระทรวง

 

ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีการออกกฎกระทรวงเพื่อมารองรับกรณีการก่อสร้างวัดพระธรรมกายแต่อย่างใดดังนั้นวัดพระธรรมกายจะต้องยื่นคำร้องขออนุญาตก่อสร้างจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น แต่วัดพระธรรมกายไม่มีการขออนุญาตก่อสร้างแต่อย่างใด

 

อย่างไรก็ตามวัดพระธรรมกาย ถูกดำเนินคดีแล้ว จนถึงวันที่ 16 ธันวาคม 2559 มี 158 คดี แบ่งเป็นคดีต่างๆดังต่อไปนี้

 

- ความผิดฐานบุกรุก จำนวน 10 คดี

 

- ความผิดตามพระราชบัญญัติขนส่ง 20 คดี

 

- ความผิดกีดขวางการจราจร จำนวน 3 คดี

 

- ทำให้เสียทรัพย์ 2 คดี

 

- หมิ่นประมาท 1 คดี

 

- ความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร การก่อสร้างอาคารและกำแพงโดยไม่ได้รับอนุญาต 109 คดี

 

- ความผิดกาาก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต ประเภทเสาวิทยุ ทาวเวอร์ 2 คดี

 

- ความผิดตามพระราชบัญญัติน้ำบาดาล 1 คดี

 

- ความผิดบุกรุกที่สาธารณะ ด้วยการเดินสายไฟฟ้าข้ามถนนและคลอง 7 คดี

 

- ความนำแผ่นสแลนสีเขียวแผงเหล็ก ปิดกั้นถนนสาธารณะ 2 คดี และ

 

- ความผิดขุดทำลายถนน ทางเชื่อมเลียบคลองแอน 1 คดี

 

นอกเหนือจากคดีความที่กำลังถาดโถมเข้ามาอย่างต่อเนื่องดูเหมือนว่าก็ไม่ได้ทำให้วัดพระธรรมกาย พระธัมมชโย และเครือข่ายสะทกสะท้านแต่ประการใด อันสืบเนื่องมาจากหลายปัจจัย ที่ทำให้วัดพระธรรมกายยังคงแข็งกร้าวชนิดที่เรียกว่าตาต่อตาฟันต่อฟัน

 

สำหรับมหาอาณาจักรธรรมกายที่มีการก่อสร้างอย่างยิ่งใหญ่ มีทั้งสิ้นกว่า 27 สถานที่อลังการงานสร้าง แห่งมหานครลัทธิธรรมกาย ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

 

1. "อุโบสถวัดพระธรรมกาย" ก่อสร้างเมื่อปลายปี พ.ศ. 2520 เสร็จสมบูรณ์เมื่อวันศุกร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2525 สามารถรองรับพระภิกษุและสามเณร ถึง 200 รูป แต่ตัวอุโบสถวัดพระธรรมกาย ไม่มีช่อใบระกา ไม่มีช่อฟ้า มีรูปลักษณ์แบบศิลปไทยประยุกต์ มีมูลค่าการก่อสร้างมากกว่า 370 ล้านบาท

 

2. "วิหารแม่ชีจันทร์ ขนนกยูง" เป็นวิหารทรงพีระมิดหกเหลี่ยมทองคำ สูง 29 เมตร ภายในเป็นห้องหยกประดิษฐานรูปหล่อทองคำ คุณยายอาจารย์มหาอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง และเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม สามารถรองรับคนได้ 300 คน มีมูลค่าการก่อสร้างมากกว่า 550 ล้านบาท

 

3."หอฉันแม่ชีจันทร์ ขนนกยูง" เป็นอาคารชั้นล่างโปร่ง มีส่วนสำนักงาน 4 ชั้น ส่วนของหลังคาสร้างเป็นยอดรูปทรงกลมคล้ายมหาธรรมกายเจดีย์ มีมูลค่าการก่อสร้างมากกว่า 970 ล้านบาท

 

4. "อาคาร 100 ปี แม่ชีจันทร์ ขนนกยูง" เป็นอาคารรูปทรงกลม เริ่มก่อสร้างปลายปี 2552 ฐานเป็นทรงสี่เหลี่ยมซ้อนกัน ทั้ง 4 มุม เพื่อให้เป็นสำนักงานใหญ่ของวัด ห้องประชุมด้านวิชาการด้านพระปริยัติธรรมขนาดใหญ่ ห้องปฏิบัติธรรมสำหรับบรรพชิต อุบาสก อุบาสิกา

 

และเหล่าบรรดาคณะศิษยานุศิษย์ ขนาดใหญ่ พิพิธภัณฑ์ที่เกี่ยวกับมหาปูชนียาจารย์ ภายในตัวอาคาร มีเครื่องปรับอากาศ เครื่องฟอกอากาศ บันไดหนีไฟ บันไดเลื่อน ลิฟท์อำนวยความสะดวกอย่างครบครัน ตัวอาคาร มีมูลค่าการก่อสร้างมากกว่า 3,000 ล้านบาท โดยเหมาก่อสร้างโดย บริษัท ฤทธา จำกัด

 

5."มหาวิหารพระมงคลเทพมุนี" อาคารรูปทรงกลมแบบสาญจิเจดีย์คล้ายจานคว่ำเหมือนมหาธรรมกายเจดีย์ เป็นที่ประดิษฐานรูปหล่อทองคำพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงพ่อวัดปากน้ำภาษีเจริญ มีมูลค่าการก่อสร้างมากกว่า 5,800 ล้านบาท มหาวิหารดังกล่าวตั้งอยู่บริเวณริมสระนํ้าทางเข้าประตูใหญ่หมายเลข หนึ่งของวัดพระธรรมกาย

 

7."ปฏิมากรรมบูชามหาธรรมกายเจดีย์" เป็นสถานที่สักการะของคณะเหล่าบรรดาศิษยานุศิษย์ ที่มาเยือนวัดพระธรรมกาย มีมูลค่าการก่อสร้างมากกว่า 175 ล้านบาท

 

6. "สภาธรรมกายสากล" อาคารปฏิบัติธรรมขนาดใหญ่ พื้นที่กว่า 150 ไร่ ประกอบด้วยชั้นที่ 1 (ชั้ นใต้ดิน) เป็นสถานที่ จอดรถและมีห้องประชุมหลายขนาด ส่วนชั้นที่ 2 เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจต่างๆ สามารถจุคน ได้ประมาณ 300,000 คน มีมูลค่าการก่อสร้างมากกว่า 17,400 ล้านบาท

 

8. "มหาธรรมกายเจดีย์" เจดีย์รูปโดมทรงกลมแบบสาญจิเจดีย์ เส้นผ่าศูนย์กลางที่ฐาน 194.40 เมตร ความสูง 32.40 เมตร ภายนอกของมหาธรรมกายเจดีย์มีการเรียงต่อองค์พระธรรมกายประจำตัวที่สลักชื่อเจ้าของไว้จำนวน 300,000 องค์ ส่วนภายในมหาธรรมกายเจดีย์บรรจุพระธรรมกายประจำตัว จำนวน 700,000 องค์

 

ซึ่งมหาธรรมกายเจดีย์ออกแบบด้วยหลักวิศวกรรมให้คงอยู่ได้ไม่ต่ำกว่าหนึ่งพันปี และเป็นสถานที่ประกอบศาสนพิธีกลางแจ้ง ในวันสำคัญ จะมีเหล่าบรรดาศิษยานุศิษย์จากทั่วโลกเดินทางมาวัดพระธรรมกาย หลายแสนคนและในทุกวัน มีมูลค่าการก่อสร้างมากกว่า 75,000 ล้านบาท

 

9. "มหารัตนวิหารคด" มีลักษณะอาคารสองชั้นในรูปแบบคล้ายสเตเดียมและสี่เหลี่ยมจตุรัส ความยาวด้านละ 1 กิโลเมตร อาคารมี 4 ด้าน ทั้งหมดมีความ 4 กิโลเมตร รอบมหาธรรมกายเจดีย์ ทั้งสี่ด้านคาดว่าสามารถจุคนได้หนึ่งล้านคน มีมูลค่าการก่อสร้างมากกว่า 189,000 ล้านบาท

 

10. "กำแพงวัดพระธรรมกาย" มีความยาว ด้านละ 3 กิโลเมตร ทั้ง 4 ด้าน วัดพระธรรมกาย มีความยาวทั้งหมด 12 กิโลเมตร ตัวกำแพงสูง ทั้งแต่ 2 เมตร ไปจนถึง 4 เมตร มีหอประภาคารคู่ (สังเกตการณ์) ทุกประตูทางเข้าวัด มูลค่าการก่อสร้างมากกว่า 340 ล้านบาท

 

11."หอคอยสังเกตการณ์" เป็นสถานที่ไว้สำหรับตรวจตราจัดเวรยามคอยสังเกตการณ์ ทั้งภายในวัดและภายนอกวัด ตัวหอคอยสังเกตการณ์มีขนาดความสูง 50 เมตร และ 100 เมตร มีจำนวน 15 หอคอย มีมูลค่าการก่อสร้างมากกว่า 280 ล้านบาท

 

12."สถานพยาบาลธรรมกาย" (ศูนย์วัดพระธรรมกาย) เป็นสถานที่ไว้สำหรับรักษา อาการเจ็บอาพาธป่วยไข้ (สำหรับอาการไม่หนัก) ของพระภิกษุสามเณรและศิษยานุศิษย์ที่ ปฏิบัติอยู่ภายในวัดพระธรรมกาย อาคารสถานพยาบาล มีลักษณะคล้ายคอนโด และมีขนาดใหญ่โต โดยอาคารสถาพยาบาลธรรมกาย มีมูลค่าการก่อสร้างมากกว่า 1,400 ล้านบาท

 

13."อาคารสถานีโทรทัศน์ DMC" ของวัดพระธรรมกาย เป็นสถานีโทรทัศน์ โดยมีอุปกรณ์การถ่ายทอดสด และห้องสตูริโอ และยังมีกล้อง HD 1080p และกล้อง 4 K มีจำนวนมากกว่า 20 ตัวซึ่งไว้ถ่ายทำละครและภาพยนตร์เกี่ยวกิจกรรมของวัด

 

และยังมีการถ่ายทำข่าวเกี่ยวกับกิจกรรมของวัดพระธรรมกายอีกด้วย ซึ่งยังมีรถโมบายเคลื่อนที่เป็นของวัดเอง ซึ่งจะมีการส่งระบบการออกอากาศ ผ่านทางทีวีดาวเทียม ซึ่งอาคารสถานีโทรทัศน์ของวัดพระธรรมกาย มีมูลค่ามากกว่า 850 ล้านบาท

 

ซึ่งเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2559 ที่ผ่านมา มติที่ประชุมของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เห็นชอบให้ปิดสถานีโทรทัศน์และสถานีวิทยุของวัดพระธรรมกาย (DMC) เป็นการชั่วคราว ระยะเวลา 15 วัน

 

สืบเนื่องจากเมื่อวันที่(6 ธันวาคม 2559) พ.ต.อ. ไพสิฐ วงศ์เมือง กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ส่งหนังสือถึงเลขาธิการ กสทช. เรื่อง ขอให้พิจารณาระงับการแพร่ภาพและเสียงที่นำเสนอผ่านสถานีโทรทัศน์ DMC เป็นการชั่วคราว ในระหว่างที่ดีเอสไออยู่ระหว่างขั้นตอนการวางแผนเข้าตรวจค้น

 

เนื่องจากพบว่าสถานีโทรทัศน์ DMC ทำการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารแก่บุคคลทั่วไปเพื่อเชิญชวน เรียกร้องให้บุคคลที่มีความเชื่อถือและศรัทธาต่อวัดพระธรรมกายและพระธัมมชโย มารวมตัวกันเพื่อทำพิธีกรรมทางศาสนา แต่มีวัตถุประสงค์ที่แท้จริง เพื่อขัดขวางไม่ให้เจ้าพนักงานปฏิบัติงานตามหน้าที่ ช่วยเหลือไม่ให้ผู้ต้องหาถูกจับกุมไปดำเนินคดีตามกฎหมายบ้านเมือง

 

ซึ่งเข้าข่ายพฤติผิดตามกฎหมายอาญาเป็นอันตรายต่อความสงบเรียบร้อย หากปล่อยปละให้สถานีโทรทัศน์ DMC เผยแพร่ข้อมูลอันเป็นข่าวสารที่เข้าข่ายเชิญชวน ยั่วยุ เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือเกิดความกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนอาจก่อให้เกิดเหตุการณ์รุนแรงและภัยต่อความมั่นคงของประเทศได้

 

14."มหาวิทยาลัยธรรมกายแคลิฟอร์เนีย" ตั้งอยู่ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปัจจุบันมีการเปิดสอน 3 หลักสูตร และประกาศนียบัตรประกอบด้วย 2 ปริญาญาบัตร คือ

 

1.หลักสูตร Pre-Degree

2.หลักสูตรสัมฤทธิบัตร

3. หลักสูตรศาสตร์

 

(1.) ปริญญาตรี ระยะเรียน 4 ปี

(2.) ปริญญาโท ระยะเรียน 2 ปี

 

มีการเปิดสอนทั้งแต่ปริญญาตรีไปจนถึงปริญญาโท ซึ่งยังมีการอำอวยความสะดวกให้กับผู้ที่สนใจเรียน แต่ไม่สามารถเดินทางไปเรียนที่มหาวิทยาลัยธรรมกายฯ ได้ ก็สามารถรํ่าเรียนศึกษาระบบทางไกล (ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต)

 

"และบุคคลที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมกายฯ จะมีการซ้อมรับปริญญาบัตรและได้รับปริญญาบัตร จากมือ พระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ที่วัดพระธรรมกาย สาขาใหญ่ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี"

 

แต่มีข้อจำกัดว่า บุคคลที่จบการศึกษา ไม่สามารถสมัครงานในหน่วยงานราชการหรือหน่วยงานเอกชนได้ เพราะมหาวิทยาลัยดังกล่าวไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกาก็เช่นกัน มหาวิทยาลัยธรรมกาย

 

ไม่จดทะเบียนขึ้นกับกระทรวงศึกษาและองค์กรศึกษาสหรัฐอเมริกา "จะเรียกว่า มหาลัยเถื่อน ก็ไม่ผิด" โดยยกเว้นหน่วยงานในสังกัดของวัดพระธรรมกาย ที่สามารถสมัครงานได้

 

ในปัจจุบันยังมีพระสงฆ์และสามเณรยังรวมไปจนถึงศิษยานุศิษย์ในสังกัดของวัดพระธรรมกาย และในสาขาวัดพระธรรมกายต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ที่กำลังศึกษาในมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย และศึกษาผ่านระบบทางไกล ซึ่งมหาวิทยาลัยธรรมกาย มีมูลค่าการก่อสร้างมากกว่า 7,200 ล้านบาท

 

15. "สถานที่จอดรถกลางลานดิน และ พื้นคอนกรีต" ในวัดพระธรรมกาย มีลักษณะเป็นโซน มีทั้งแต่โซน A ไปจนถึง โซน Y แต่ละโซนกินเนื้อที่โดยประมาณทั้งแต่ 2 ไร่เศษไปจนถึง 5 ไร่เศษ มีมูลค่าประมาณ 100 ล้านบาท

 

16. "อาคารสถานที่จอดรถขนาดใหญ่" จำนวน 6 อาคาร ในแต่ละอาคารมีจำนวน 9 ชั้น กับอีก 2 ชั้นใต้ดิน มีทางขึ้นอย่างสะดวกสบาย ในแต่ละอาคารสามารถ รับรองการจอดรถของเหล่าบรรดาศิษยานุศิษย์ได้มากถึง 1,000 คัน ถึง 3,500 คัน

 

และลิฟท์จำนวน 4 ตัวไว้คอยให้บริการศิษยานุศิษย์ของวัดพระธรรมกาย ด้านบนของอาคารเป็นลานจอดเฮลิคอปเตอร์ จำนวน 4 ลานจอด โดยอาคารจอดรถ มีมูลค่าการก่อสร้างมากกว่า 11,800 ล้านบาท

 

17."โรงเรียนพระปริยัติธรรม" ของวัดพระธรรมกาย เป็นสถานที่ไว้สำหรับสอนพระภิกษุสามเณรและศิษยานุศิษย์ ที่รํ่าเรียนนักธรรมและบาลี พื้นที่อาคารมีขนาดใหญ่โต ก่อตั้งขึ้นในช่วงปลายปี พ.ศ. 2528 ประกอบไปด้วยตัวอาคารมีขนาด 8 ชั้น

 

หากดูจากมุมสูงจะมีลักษณะคล้ายคอนโมมิเนียม ภายในตัวอาคารมีเครื่องปรับอากาศ บันไดหนีไฟ บันไดเลื่อน ลิฟท์อำนวยความสะดวกอย่างครบครัน ตัวอาคาร มีมูลค่าการก่อสร้างมากกว่า 2,200 ล้านบาท

 

18."อาคารโรงครัวธรรมกาย" เป็นสถานที่ขนาดใหญ่ไว้สำหรับหุงข้าวและปรุงอาหาร เพื่อถวายพระภิกษุและสามเณร และเพื่อเลี้ยงอาหารแก่ศิษยานุศิษย์ ที่อยู่ในสังกัดวัดพรธรรมกาย มากกว่า 10,000 คนต่อวัน

 

ซึ่งจะมีการหุงข้าวแบบนึ่งในกะละมังสเตนเลสและกะละมังอลูมิเนียม จำนวนหลายสิบเตา แต่ละเตามีขนาดใหญ่โต ฝาครอบนึ่งเป็นสเตนเลสทรงกระบอกปลายเป็นทรงกรวย

 

มีความสูง 1 เมตร ถึง 2 เมตร ด้านบนค้านจะมีรอกไว้รับเชือกที่ผูกมัดฝาครอบนึ่ง ในการหุงข้าวแต่ละครั้งจะหุงในปริมาณ 500 กิโลกรัม ถึง 800 กิโลกรัม ต่อมื้อ และมีการปรุงอาหารอีกหลายหลายเมนู พระสงฆ์วัดพระธรรมกาย จะไม่ออกเดินบิณฑบาตรโปรดญาติโยมในช่วงเช้า

 

แต่จะมีกิจกรรมของทางวัดเอง ในวันอาทิตย์ ซึ่งจะมีการตักบาตรอาหารเเห้งในช่วงเช้า ภายในอาคารสภาธรรมกายสากล และลานกลางแจ้ง ของมหาธรรมกายเจดีย์ ตัวอาคารโรงครัวธรรมกาย มีมูลค่าการก่อสร้างมากกว่า 650 ล้านบาท

 

19."อาคารผลิตนํ้าดืมธรรมกาย" เป็นอาคารผลิตนํ้าดืมของวัดพระธรรมกาย มีเครื่องกรองขนาดใหญ่จำนวน 12 เครื่อง และเครื่องผลิตนํ้าดืมขนาดใหญ่อีกจำนวน 9 เครื่อง ซึ่งสามารถผลิตนํ้าดืมได้สูงสุด ได้มากกว่า 338,000 ลิตรต่อวัน อาคารดังกล่าวซึ่งมีมูลค่าประมาณ 320 ล้านบาท

 

20. "อาคารผลิตกระแสไฟฟ้า" จากเครื่องปันไฟฟ้าดีเซล รุ่น Cummins VTA28G1 จำนวน 100 เครื่อง แต่ละเครื่องให้กำลังผลิตไฟฟ้าได้ถึง 500 กิโลวัตต์ เท่ากับ วัดพระธรรมกาย มีกำลังผลิตไฟฟ้า มากกว่า 50,000 กิโลวัตต์ ซึ่งอาคารดังกล่าวซึ่งมีมูลค่าประมาณ 1,150 ล้านบาท

 

21."อาคารภาวนา 60 ปี พระราชภาวนาวิสุทธิ์" (ธัมมชโย) สั่งขึ้นเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2546 ตอกเสาเข็มต้นแรก 16 พฤศจิกายน 2546 สร้างเสร็จในวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2547 เป็นอาคารรูปทรงกลมคล้ายมหาธรรมกายเจดีย์ เป็นสถานที่รองรับผู้ปฏิบัติธรรม ระดับ VIP (ผู้เชี่ยวชาญในการปฏิบัติธรรม) โดยจะไม่ให้บุคคลที่ไม่บัตร VIP และไม่ได้รับอนุญาตเข้าออกภายในอาคารอย่างเด็ดขาด

 

ผู้ปฏิบัติธรรม ระดับ VIP จะปฏิบัติธรรมอย่างต่อเนื่องระยะยาวนานนับเดือน ในแต่ละครั้ง จะมีผู้ปฏิบัติธรรม ระดับ VIP จำนวน 500 คน ตลอดทั้งโครงการมีเนื้อที่ประมาณ 225 ไร่ อาคารหลักมีลักษณะเป็นทรงโดมพร้อมเชิงลาด เหมือนรูปทรงของมหาธรรมกายเจดีย์ โครงสร้างทำจากคอนกรีตผสมชนิดพิเศษ

 

เสริมเหล็กกล้า มีแผ่นโลหะสแตนเลสเคลือบอนุภาคทองคำแท้ประกอบปิดรอบนอก ภายในประดิษฐานองค์พระธรรมกายทองคำบริสุทธิ์เป็นพระประธาน ภายนอกประดิษฐานพระธรรมกายขนาดเล็กทำจากซิลิกอนบรอนซ์เคลือบอนุภาคทองคำ 300,000 องค์ ตัวอาคารดังกล่าว มีมูลค่าการก่อสร้างมากกว่า 45,500 ล้านบาท

 

22. "โรงภาพยนตร์ธรรมะ" ระบบ 3 D และ ระบบ 4K โรงภาพยนตร์วัดพระธรรมกาย มีความจุโรงละ 500 ที่นั่ง จำนวน 10 โรง มีเครื่องอำนวยความสะดวกครบครัน อาทิเช่น เครื่องปรับอากาศ เบาะนั่งกำมะหยี่ ห้องชมภาพยนตร์ระดับ VIP แบบส่วนบุคคล

 

และแบบธรรมดา เป็นเก้าอี้ธรรมดา ส่วนจอภาพยนตร์มีขนาด ความยาว 25 เมตร กว้าง 12 เมตร มีป๊อบคอร์นและนํ้าอัดลม วางจำหน่ายบริเวณหน้าโรงภาพยนตร์ และสามารถจองตั๋วออนไลน์ได้อีกด้่วย หากต้องการจองบัตรสามารถเข้าดูได้ที่เว็บไซต์ http://www.dmc.tv/expo/show.php?id=18992

 

โรงภาพยนตร์ของวัดพระธรรมกาย จะแบ่งออกเป็น 2 สถานที่ คือ สภาธรรมกายสากล จำนวน 3 โรง และ มหารัตนวิหารคด จำนวน 7 โรง มีดังต่อไปนี้

 

โรงที่ 1 ณ มหารัตนวิหารคด 4 (เสา D11)

 

โรงที่ 2 ณ มหารัตนวิหารคด 9 (เสา D23)

 

โรงที่ 3 ณ มหารัตนวิหารคด 13 (เสา D35)

 

โรงที่ 4 ณ มหารัตนวิหารคด 17 (เสา D45)

 

โรงที่ 5 ณ มหารัตนวิหารคด 20 (เสา D55)

 

โรงที่ 6 ณ มหารัตนวิหารคด 25 (เสา D68)

 

โรงที่ 7 ณ มหารัตนวิหารคด 29 (เสา D78)

 

โรงที่ 8 ณ สภาธรรมกายสากล เสา B5

 

โรงที่ 9 ณ สภาธรรมกายสากล เสา I30

 

โรงที่ 10 ณ สภาธรรมกายสากล เสา Q5

 

23. "อาคารปรนิมมิตวสวัตดี" (อาคารภาวนา) "ชื่อสวรรค์ชั้นที่ 6" เป็นที่พักของธัมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย มีลักษณะ 3 ชั้น กับ 1 ชั้นใต้ดิน ภายในถูกตกแต่งอย่างหรูหรายิ่งกว่าโรงแรม 6 ดาว ข้างในบริเวณอาคารและนอกอาคาร ประกอบไปด้วย เครื่องปรับอากาศ เครื่องฟอกอากาศ อ่างอาบนํ้า ลิฟท์ กล้องวงจรปิด สัญญาณกันขโมย สัญญาณไฟไหม้

 

"หน้าต่างมีระบบป้องกัน 2 ชั้น คือ"

ชั้นที่ 1 เป็นเหล็กกล้า ดัดเป็นลูกกรงลายไทย

ชั้นที่ 2 เป็นกระจกนิรภัย (กันกระสุน)

 

"ส่วนประตู มีระบบป้องกัน 3 ชั้น คือ"

ชั้นที่ 1 เป็นเหล็กกล้า ดัดเป็นลูกกรงลายไทย

ชั้นที่ 2 เป็นกระจกนิรภัย (กันกระสุน)

ชั้นที่ 3 เป็นไทเทเนี่ยม

ท้ายที่สุดถึงเวลาแล้วหรือยังที่อาณาจักรธรรมกายใกล้ถึงจุดจบ หลัง “พระธัมมชโย” ยังดื้อดันหัวชนฝาทำตัวอยู่เหนือกฎหมาย ไม่ออกมาสู้ตามกระบวนการยุติธรรมตั้งแต่แรก จนล่าสุดคนใกล้ชิด และเครือข่ายวัดพระธรรมกายเจอคดีกันทั่วหน้านับ100 คดี

 

นับเป็นการตัดสินใจผิดพลาดของพระธัมมชโยเพียงคนเดียว ทั้งๆที่เดือนพฤษภาคม ปี 2559 ที่ผ่านมา พระธัมมชโยยังมีคดีเพียงคดีเดียวที่ถูกกล่าวหา โดยกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ฐานรับของโจร และฟอกเงิน แต่กลับไม่ยอมเข้ามอบตัวเพื่อต่อสู้ตามกระบวนการยุติธรรม หลังถูกออกหมายจับครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2559 ที่ผ่านมา ถือเป็นจุดเริ่มต้นหายนะของอาณาจักรธรรมกายใช่หรือไม่

 

รวมทั้งพฤติกรรมที่พระธัมมชโยกำลังกระทำอยู่นั้นเสมือนทำตัวอยู่เหนือกฎหมายท้าทายอำนาจรัฐ โดยใช้สาวก ลูกเล็กเด็กแดง คนเฒ่าคนชรา ทุกเพศทุกวัยเป็นโล่มนุษย์ ยกระดับเป็นปัญหาความมั่นคงของประเทศ ทั้งการรุกป่าสงวน ก่อสร้างอาคารผิดกฎหมาย และดำเนินคดีผู้ให้การช่วยเหลือพระธัมมชโย จนมีหมายจับเพิ่มขึ้นหลายสิบใบ

 

จนสถานการณ์ล่าสุดอยู่ในขั้นวิกฤติ ขณะที่พระธัมมชโย ซึ่งถือได้ว่าเป็นทั้งผู้สร้างและเป็นผู้ทำลายอาณาจักรนี้ด้วยน้ำมือของตัวเอง จนทำให้หลายฝ่ายออกมาวิพากษ์วิจารณ์กันอื้ออึงว่าจะเป็นจุดจบของอาณาจักรธรรมกายในที่สุด

 

อ้างอิงจาก นับถอยหลังวันอวสาน"ธรรมกาย" "ธัมมชโย"(สละ)เรือ คดีเต็มวัด!!จะอยู่ต่อไปได้อย่างไร?

เรียบเรียงโดย ชนุตรา สำนักข่าวทีนิวส์