แพะหรือไม่แค่ไหน !!! ถามกระบวนการยุติธรรมไทยดู

ความผิดพลาดมหันต์ของหน่วยงานยุติธรรม ไม่ว่าจะเกิดจากความประมาทเลินเล่อ หรือจงใจแต้มสีจากขาวเป็นดำ โดยเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย เพียงแค่ปลายปากกาบิดพลิ้วไปจากข้อเท็จจริง หรือเพียงแค่กระดาษแผ่นเดียว

จากกรณีนางจอมทรัพย์ แสนเมืองโคตร อดีตครูโรงเรียนในอำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร ยื่นเรื่องขอรื้อฟื้นคดีขับรถโดยประมาททำให้ผู้อื่นถึงแก่ชีวิต ซึ่งศาลฎีกาพิพากษาจำคุก 3 ปี 2 เดือน และได้รับพระราชทานอภัยโทษออกจากเรือนจำ เมื่อปี 2558 ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 4 ให้ศาลจังหวัดนครพนมรื้อฟื้นคดี ทำให้นึกย้อนไปในอดีตว่า คดีของครูจอมทรัพย์นั้นไม่ใช่คดีแรก แต่ความผิดพลาดมหันต์ของหน่วยงานยุติธรรม ไม่ว่าจะเกิดจากความประมาทเลินเล่อ หรือจงใจแต้มสีจากขาวเป็นดำ โดยเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย เพียงแค่ปลายปากกาบิดพลิ้วไปจากข้อเท็จจริง หรือเพียงแค่กระดาษแผ่นเดียวที่ถูกแต่งแต้มเนื้อหาเข้าทำนอง “ยัดข้อหา” นำมาซึ่งการเข่นฆ่าใครคนใดคนหนึ่งให้ “ตายทั้งเป็น” ในฐานะ “แพะ” ถูกสาดสีป้ายโคลนจนเปรอะเปื้อน

ดังเช่น คดีโด่งดังเมื่อ 30 ปีก่อน อุ้มฆ่า “เชอรี่ แอน ดันแคน” เด็กสาวลูกครึ่งไทย-อเมริกัน วัย 16 ปี หน้าตาดี ดีกรีนางแบบนิตยสารบันเทิง เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2529

ครั้งนั้นตำรวจท้องที่ สภ.อ.เมืองสมุทรปราการ ใช้เวลาสืบหาฆาตกรประมาณ 1 เดือน จับกุมผู้ต้องหาเป็นชาย 5 คน พร้อมทั้งเปิดแถลงข่าวการจับกุมทันทีว่ามีประจักษ์พยาน อาชีพขับรถสามล้อรับจ้าง เป็นผู้เห็นเหตุการณ์

เมื่อข่าวแพร่สะพัดออกไปชาวบ้านต่างพากันประณามและเรียกร้องให้ประหารชีวิตฆาตกรกลุ่มนี้ ขณะที่พนักงานสอบสวนส่งสำนวนให้อัยการ กระทั่งส่งฟ้องผู้ต้องหา 4 คนต่อศาลจังหวัดสมุทรปราการ ส่วนอีก 1 คน อัยการปล่อยตัวไปเพราะหลักฐานอ่อน

ศาลชั้นต้นพิพากษาประหารชีวิต ต่อมาจำเลยทั้งสี่ยื่นอุทธรณ์

ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้อง 3 จำเลย ขณะที่จำเลย 1 คนเสียชีวิตจึงให้จำหน่ายคดี แต่ยังให้ขังจำเลยไว้ระหว่างฎีกา

ในที่สุดวันที่ 8 มีนาคม 2536 ศาลฎีกาพิพากษาว่า ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง ชอบแล้ว พิพากษายืน

จำเลยได้รับการปล่อยตัว หลังถูกคุมขังนานถึง 6 ปี 7 เดือนเศษ โดยมิได้ประกันตัวหรือปล่อยตัวชั่วคราว ทั้งหมดต้องทนทุกข์ทรมานสูญสิ้นอิสรภาพอยู่ภายในคุกที่สุขอนามัยย่ำแย่ ไม่ต่างกับตกนรกทั้งเป็น ชีวิตครอบครัวที่อยู่เบื้องหลังสุดแสนลำเค็ญ ลูกสาวของหนึ่งในจำเลยถูกข่มขืนแล้วฆ่า ภรรยาเครียดจัดเสียชีวิตตามไป

และพบว่าจำเลย 2 รายติดโรคร้ายมาจากในคุก และเสียชีวิตภายหลังได้รับอิสรภาพไม่นานนัก

คงเหลือจำเลยเพียงคนเดียวที่ยังมีลมหายใจ แต่ต้องใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก เพราะกระดูกสันหลังร้าวนอนหงายไม่ได้ เหมือนคนพิการ เนื่องจากถูกซ้อมเพื่อให้รับสารภาพ

เหตุการณ์ทั้งหมดเกิดจากพยานโจทก์ที่เป็นคนขับรถสามล้อเพียงปากเดียวให้การเข้าข่ายปั้นพยานเท็จเพื่อจับแพะ

แม้ในเวลาต่อมาจะมีการรื้อคดีขึ้นมาอีกครั้ง ศาลฎีกาพิพากษาจำคุกตลอดชีวิตฆาตกรที่แท้จริง 2 คน ส่วนอีก 1 คนเสียชีวิตระหว่างการพิจารณาของศาล นายตำรวจผู้ปั้นพยานเท็จตัวการสำคัญถูกไล่ออกจากราชการและหลบหนี

คนขับรถสามล้อพยานเท็จถูกศาลพิพากษาจำคุก 8 ปี และศาลแพ่งสั่งให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ฝ่ายจำเลยและทายาท 7 คน รวม 26,038,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี ยอดเงินรวมประมาณ 38,000,000 บาท ซึ่งถึงกระนั้นก็ไม่อาจทดแทนชีวิตและครอบครัวของผู้บริสุทธิ์ที่สูญเสียไปได้!!

 

แพะหรือไม่แค่ไหน !!! ถามกระบวนการยุติธรรมไทยดู

 

แพะหรือไม่แค่ไหน !!! ถามกระบวนการยุติธรรมไทยดู

 

แพะหรือไม่แค่ไหน !!! ถามกระบวนการยุติธรรมไทยดู

 

แพะหรือไม่แค่ไหน !!! ถามกระบวนการยุติธรรมไทยดู

 

แพะหรือไม่แค่ไหน !!! ถามกระบวนการยุติธรรมไทยดู

 

แพะหรือไม่แค่ไหน !!! ถามกระบวนการยุติธรรมไทยดู

 

 

อีกหนึ่งคดีสะเทือนขวัญ คือ กรณีของนายเฟิร์ท ผู้ต้องหาที่กลายเป็นแพะรับบาป จากคดีข่มขืนเด็กหญิงวัย 8 ขวบ ที่ จ.ตรัง ตกเป็นเเพะข้อหาบังคับ ด.ญ. อายุแค่ 8 ขวบ ดื่มน้ำอัดลมผสมยาบ้า ก่อนจะข่มขืน ด.ญ. คนดังกล่าวอย่างทารุณ กระทั่งเด็กมีอาการคลุ้มคลั่ง ปวดท้องอย่างรุนแรง และช็อกเสียชีวิตที่โรงพยาบาลตรัง กลายเป็นคดีอุกฉกรรจ์ สะเทือนขวัญ และเศร้าสลดของคนทั้งประเทศ โดยเฉพาะชาวบ้าน จังหวัดตรัง ที่ยังเกิดความคลางแคลงใจว่าใครเป็นคนร้ายตัวจริง หลังจากเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมนายศรัณย์รัชย์ ซู่สั้น หรือ เฟิร์ส อายุ 20ปี ในเวลาอันรวดเร็ว  ซึ่งนายศรัณย์รัชย์ ได้ออกมาปฏิเสธ โดยยืนยันว่าไม่ได้กระทำการดังกล่าว เนื่องจากช่วงเกิดเหตุนอนพักผ่อนอยู่ที่บ้านพัก โดยมีมารดา เพื่อนฝูง รวมไปถึงญาติพี่น้องอีกหลายคน

จนกระทั่งในช่วงเย็นวันที่ 24 มิถุนายนที่ผ่านมา นายศรัณย์รัชต์ หรือ เฟิร์ส ผู้ต้องหาคนแรกที่ถูกจับกุมในคดีข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิง เหตุเกิดที่ จ.ตรัง เมื่อเดือนพฤษภาคมที่่ผ่านมา ได้ถูกปล่อยตัวออกมาจากเรือนจำจังหวัดตรัง หลังจากที่ถูกจองจำกว่า 1 เดือน โดยที่ผ่านมาทางครอบครัวพยายามติดต่อขอประกันตัวถึง 3 ครั้งแต่ไม่สำเร็จ กระทั่งผลพิสูจน์ยืนยันชัดเจนว่า นายศรัณย์รัชต์ ไม่ใช่ผู้ต้องหาในคดีนี้

 

แพะหรือไม่แค่ไหน !!! ถามกระบวนการยุติธรรมไทยดู

 

แพะหรือไม่แค่ไหน !!! ถามกระบวนการยุติธรรมไทยดู

 

 

แต่ความผิดพลาดเหล่านั้นมักที่จะเกิดขึ้นบ่อยครั้ง จนกระทั้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับอดีตครูวัย 54 ปี นางจอมทรัพย์ แสนเมืองโคตร ที่ถูกจองจำด้วยความกล้ำกลืนนาน 1 ปี 6 เดือน เธอต้องหมดอนาคต ถูกให้ออกจากอาชีพ “แม่พิมพ์ของชาติ”

ซ้ำร้ายครอบครัวเคยอยู่อย่างมีความสุข ต้องแตกกระสานซ่านเซ็น สามีตีจาก ลูก 2 คนในวัยเรียนพากันหมดอนาคต ต้องจำนองบ้าน รถ ที่ดิน เพื่อประทังชีวิต ด้วยคดีขับรถชนคนตายที่ครูจอมทรัพย์ไม่ได้กระทำ

ครูจอมทรัพย์เล่าในวันที่ได้รับอิสรภาพ แต่ยังเฝ้ารอความเป็นธรรมจากกระบวนการยุติธรรมด้วยใจจดจ่อ ในวันที่ไม่อาจย้อนเวลากลับไปวันวาน วันที่ครอบครัวอยู่พร้อมหน้าอบอุ่น

“ครูจอมทรัพย์” ถูกดำเนินคดีจนถึงปัจจุบัน ต้องอยู่ในกระบวนการยุติธรรมนานถึง 11 ปี 10 เดือน

เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2548 ต.ท่าลาด อ.เรณูนคร จ.นครพนม ครูจอมทรัพย์ถูกดำเนินคดีขับรถชนคนตาย พนักงานอัยการฟ้องเป็นคดีอาญา

วันที่ 25 สิงหาคม 2549 ศาลจังหวัดนครพนมพิพากษาให้จำคุก 3 ปี 2 เดือน แต่ด้วยความมั่นใจในความบริสุทธิ์ เธอปฏิเสธและสู้คดีในชั้นอุทธรณ์

วันที่ 30 กรกฎาคม 2552 ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายกฟ้อง แต่ในที่สุดเธอถูก จำคุก 3 ปี 2 เดือนในชั้นศาลฎีกา เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2556 และถูกส่งตัวไปคุมขังที่เรือนจำกลางจังหวัดนครพนม

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2557 สามีครูจอมทรัพย์ติดต่อขอความช่วยเหลือจากกองทุนยุติธรรม สำนักงานยุติธรรมจังหวัดนครพนม เพื่อขอเงินจ้างทนายในการรื้อฟื้นคดี เป็นการต่อสู้เฮือกสุดท้ายเพื่อทวงความยุติธรรมให้กับภรรยา

วันที่ 19 มีนาคม 2557 กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพอนุมัติเงินกองทุนยุติธรรมเป็นค่าธรรมเนียมศาล จำนวน 20,000 บาท ค่าจ้างทนาย จำนวน 50,000 บาท

อีก 2 เดือนถัดมา ความจริงที่ครูจอมทรัพย์เฝ้ารอเริ่มปรากฏ วันที่ 19 พฤษภาคม 2557 นายสับ วาปี ผู้กระทำความผิดที่แท้จริง เข้าพบพนักงานสอบสวน สภ.นาโดน จ.นครพนม พร้อมรับว่าเป็นคนขับรถชน

วันที่ 10 มิถุนายน 2557 ศาลจังหวัดนครพนมพิพากษาในคดีแพ่ง ให้จำเลยชำระค่าเสียหาย 170,000 บาท โดยผู้กระทำความผิดที่แท้จริงได้ยื่นคำร้องขอชดใช้เงินเอง

วันที่ 24 ตุลาคม 2557 ศูนย์ช่วยเหลือลูกหนี้ฯ กระทรวงยุติธรรม แต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าวและสืบสวนสอบสวนจนนำไปสู่การร้องขอให้รื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่

วันที่ 23 พฤศจิกายน 2557 นายสับให้การรับสารภาพต่อพนักงานสอบสวน ศูนย์ช่วยเหลือลูกหนี้ฯ กระทรวงยุติธรรม ว่าเป็นเจ้าของรถกระบะ ทะเบียน 56 มุกดาหาร ที่ขับชนคนตาย

วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2558 ทนายความกองทุนยุติธรรมยื่นคำร้องขอรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่

วันที่ 3 เมษายน 2558 “ครูจอมทรัพย์” ได้รับอภัยโทษและถูกปล่อยตัว รวมถูกจำคุก 1 ปี 6 เดือนเศษ

อิสรภาพกลับคืนมา แต่ความสูญเสียและความโหดร้ายที่ครูจอมทรัพย์ต้องเผชิญยังต้องรอการพิสูจน์เพื่อยืนยันความบริสุทธิ์

วันที่ 30 พฤศจิกายน 2559 ศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีคำสั่งให้รื้อคดีขึ้นพิจารณาใหม่ โดยนัดพร้อมโจทก์ จำเลยในวันที่ 16 มกราคม 2560 เวลา 13.00 น. ที่ศาลจังหวัดนครพนม

คดีจับแพะ เช่น “ครูจอมทรัพย์” มิได้ เกิดขึ้นครั้งแรก จากสถิติการช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา ของสำนักงานช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ประจำปีงบประมาณ 2559 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2558 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2559 มีผู้มายื่นคำร้องขอ 702 ราย อนุมัติจ่ายเงินช่วยเหลือ 91 ราย ยอดเงิน 17 ล้านบาทเศษ

 

ติดตามเพิ่มเติม : มาแล้วหลักฐานเด็ด!!! ยธ.ส่งกระบะครูจอมทรัพย์ตรวจหารอยก่อนพิสูจน์ขอรื้อคดีชนคนตาย(รายละเอียด)

 

 

แพะหรือไม่แค่ไหน !!! ถามกระบวนการยุติธรรมไทยดู

 

แพะหรือไม่แค่ไหน !!! ถามกระบวนการยุติธรรมไทยดู

 

แพะหรือไม่แค่ไหน !!! ถามกระบวนการยุติธรรมไทยดู

 

แพะหรือไม่แค่ไหน !!! ถามกระบวนการยุติธรรมไทยดู

 

เรียบเรียง : W Wannisa T-News