“วันมาฆบูชา” ในเดือนแห่งความรัก ทางการยกเป็น “วันกตัญญูแห่งชาติ” ดูแลพระอรหันต์ในบ้าน วิธีสร้างกุศลวันพระ

ติดตามเรื่องดีๆ ได้ที่ http://www.tnews.co.th/

วันมาฆบูชา

เป็นวันสำคัญของชาวพุทธเถรวาทและวันหยุดราชการในประเทศไทย "มาฆบูชา" ย่อมาจาก "มาฆปูรณมีบูชา" หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะตามปฏิทินของอินเดีย หรือเดือน 3 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย (ตกช่วงเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม) ถ้าปีใดมีเดือนอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน (ปีอธิกมาส) ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 3 หลัง (วันเพ็ญเดือน 4)

วันมาฆบูชาได้รับการยกย่องเป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธ เนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน คือ พระโคตมพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ท่ามกลางที่ประชุมมหาสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพระพุทธศาสนา

มีเหตุการณ์เกิดขึ้นพร้อมกัน 4 ประการ คือ พระภิกษุ 1,250 รูป ได้มาประชุมพร้อมกันยังวัดเวฬุวันโดยมิได้นัดหมาย, พระภิกษุทั้งหมดนั้นเป็น "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" หรือผู้ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง, พระภิกษุทั้งหมดนั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญา 6, และวันดังกล่าวตรงกับวันเพ็ญเดือน 3 ดังนั้น จึงเรียกวันนี้อีกอย่างหนึ่งว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต" หรือ วันที่มีการประชุมพร้อมด้วยองค์ 4

“วันมาฆบูชา” ในเดือนแห่งความรัก ทางการยกเป็น “วันกตัญญูแห่งชาติ” ดูแลพระอรหันต์ในบ้าน วิธีสร้างกุศลวันพระ

วันกตัญญูแห่งชาติ

วันมาฆบูชา มักตรงกับเดือน “กุมภาพันธ์” หลายครั้งตรงกับวันวาเลนไทน์ พอดี ในปี พ.ศ. 2549 รัฐบาลไทยได้ประกาศให้วันมาฆบูชาเป็น "วันกตัญญูแห่งชาติ"

 เนื่องจากในสังคมไทยปัจจุบัน หญิงสาวมักเสียตัวในวันวาเลนไทน์ หลายหน่วยงานจึงพยายามรณรงค์ให้วันมาฆบูชาเป็นวันแห่งความรัก (อันบริสุทธิ์) แทน

นอกจากนี้ “วันกตัญญูแห่งชาติ” ยังเตือนให้ระลึกถึง การทำตัวเป็นคนดี อยู่ในศีลธรรม ไม่ประพฤตินอกลู่นอกรอย

เพื่อนำความภูมิใจมาสู่บิดามารดา และญาติพี่น้องในวงศ์ตระกูล อีกทั้งยังเตือนให้ระลึกถึงคุณบิดามารดา เป็นการสร้างกุศลให้เกิดขั้นก่อนภายในครอบครัว ซึ่งถือเป็นสถาบันพื้นฐานอันสำคัญ ที่จะส่งผลไปถึงในระดับสังคมต่อไป

“วันมาฆบูชา” ในเดือนแห่งความรัก ทางการยกเป็น “วันกตัญญูแห่งชาติ” ดูแลพระอรหันต์ในบ้าน วิธีสร้างกุศลวันพระ

พระศาสดา ตรัสว่า  

         

“วันมาฆบูชา” ในเดือนแห่งความรัก ทางการยกเป็น “วันกตัญญูแห่งชาติ” ดูแลพระอรหันต์ในบ้าน วิธีสร้างกุศลวันพระ  

มารดาบิดาผู้อนุเคราะห์บุตร ท่านเรียกว่าพรหม 
 ท่านเรียกว่าบุรพาจารย์ และท่านเรียกว่าอาหุไนยบุคคล 
 เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงนมัสการและสักการะมารดาบิดานั้น 
 ด้วยข้าว ด้วยน้ำ ด้วยผ้า ด้วยที่นอน ด้วยการอบกลิ่น ด้วยการให้อาบน้ำ
 และด้วยการล้างเท้าทั้งสอง เพราะการปรนนิบัติในมารดาบิดา นั้นแล 
 บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญเขาในโลกนี้เอง เขาละไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์ ฯ

ข่าว : ไญยิกา เมืองจำนงค์ (ทีมข่าวปัญญาญาณ ทีนิวส์)