ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

กลายเป็นทอล์กออฟเดอะทาวน์อีกครั้งหนึ่งสำหรับความเสื่อมที่เกิดขึ้นของวงการสงฆ์ไทย  ปฏิบัติปารสายฟ้าฝ่า การเดินหน้าล้างบางคดีทุจริตเงินทอนวัด ที่ไม่สนหน้า“พรหม”รูปใด  ถือความจริงและความถูกต้องเป็นหลักแห่งการปฏิบัติการชำระล้างวงการผ้าเหลืองให้ใสสะอาดครั้งใหญ่ หลังฝังรากลึกแตกสาขากิ่งก้านใบ ขบวนการทรงอิทธิพลที่อาศัยคราบผ้าเหลืองแสวงหาอำนาจและผลประโยชน์

 

 

โดยเฉพาะกับวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ที่มีเจ้าอาวาสเป็นถึงกรรมการมหาเถรสมาคม อย่าง พระพรหมสิทธิ "ธงชัย สุขโข" เจ้าอาวาสวัดสระเกศ และเจ้าคณะภาค10 โดยมีกระแสข่าวออกมาหนาหูว่าอาจหลบหนีไปต่างประเทศ เพราะเป็น1ใน4 พระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ที่ถูกออกหมายจับ ในข้อหาร่วมกันฟอกเงิน 

ส่วนที่เหลืออีก3รูป ประกอบไปด้วยพระศรีคุณาภร หรือพระมหาบุญทวี คำมา ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศ ,พระครูสิริวิหาร การ สมจิตร จันทร์ศรี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศ  และพระวิจิตรธรรมาภรณ์ หรือ เจ้าคุณเทอด ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศ 

 

 

จากการตรวจสอบเบื้องต้น พบบัญชีเงินฝากของพระพรหมสิทธิเจ้าอาวาสวัดสระเกศรวม 10 บัญชี มีเงินรวมทั้งหมดกว่า 132 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ ตำรวจได้มีการอายัดเงินจำนวนดังกล่าวไว้แล้ว 

 

 นี่ไม่ใช่ครั้งแรกสัญญาณความไม่ชอบมาพากลเกิดขึ้นที่วัดแห่งนี้ เพราะการได้มาซึ่งตำแหน่ง “เจ้าอาวาส” และ “กรรมการมหาเถรสมาคม” ของเจ้าคุณธงชัยรูปนี้ ต้องแลกกับการตายของ ศิษย์ร่วมสำนัก อาจารย์คนเดียวกัน

 

ความขัดแย้งภายใน “วัดสระเกศ” เด่นชัดขึ้นเมื่อช่วงปี58 หากยังพอจำกันได้หลังมีการปลดพระพรหมสุธี (เสนาะ ปญฺญาวชิโร) พร้อมกับแต่งตั้งพระพรหมสิทธิ (ธงชัย สุขญาโณ) ขึ้นรักษาการเจ้าอาวาสจากปัญหาความไม่โปร่งใสในการบริหารงบจัดงานพระราชทานเพลิงศพ “สมเด็จเกี่ยว” 67 ล้านบาท ในสมัยที่พระพรหมสุธีดูแลอยู่ ซึ่งเป็นผลจากที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ตรวจพบ ด้วยเหตุนี้ทำให้สังคมเชื่อว่าการกระทำ “อัตวินิบาตกรรม” ด้วยการใช้ “ประคดผูกคอตาย” ของ เจ้าคุณเสนาะ  เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2559 มาจากเรื่องนี้ และถือเป็นเหตุการณ์ที่ประวัติศาสตร์สงฆ์ไทยจะต้องจารึกเอาไว้เลยทีเดียว

      

ทั้งเจ้าคุณเสนาะ  และเจ้าคุณธงชัย ต่างก็เป็นศิษย์ร่วมสำนักเดียวกัน โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชที่ล่วงลับไปแล้ว ในขณะดำรงสมณศักดิ์ "พระพรหมคุณาภรณ์"  เป็นพระอุปัชฌาย์  และทั้ง2รูปได้สนองงานรับใช้สมเด็จเกี่ยวอย่างใกล้ชิด

 

แม้เจ้าคุณเสนาะ จะมีอายุและพรรษาในการบวชที่น้อยกว่าได้เป็นถือมือขาว พร้อมตำแหน่ง เลขานุการเจ้าอาวาสวัดสระเกศ ดูแลงานปกครองและด้านการเงินของวัดทั้งหมด  และได้เติบโตในชั้นยศเป็นลำดับ จนเป็นดาวรุ่งพุ่งแรงในขณะนั้น ส่วนเจ้าคุณธงชัย เป็นมือซ้าย ได้รับมอบหมายให้ดูแลงานด้านพระธรรมทูต อีกทั้งบริหารงานส่วนของภูเขาทอง หรือ บรมบรรพต และการบรูณปฏิสังขรณ์

ศึกพระผู้ใหญ่สองขั้วภายในวัดสระเกศ ปรากฏขึ้นเด่นชัดภายหลัง “สมเด็จเกี่ยว” มรณภาพ  หลังจากนั้นมีการแต่งตั้งให้ พระพรหมสุธี ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสคนใหม่

ปมความขัดแย้งปะทุหนักเมื่อพระพรหมสุธีได้สั่งปลดพระพรหมสิทธิ  ผู้ช่วยเจ้าอาวาสออกจากการทำหน้าที่บริหารเงินบริจาคในพื้นที่ภูเขาทอง ก่อนจะแจ้งความดำเนินคดีเรื่องการยักยอกเงินบริจาคภายในวัด

 

จากนั้นเรื่องก็บานปลาย เมื่อมีการแฉเอกสารพาดพิงยังเจ้าคุณเสนาะว่าร่ำรวยผิดปกติ เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินมากกว่า 1,000 ล้านบาท ไม่ว่า ธุรกิจสวนกล้วยไม้กว่า 300 ไร่ มูลค่ากว่า 100 ล้านบาท, สวนมะยงชิด, ฟาร์มเพาะพันธุ์ไก่ชน, เพาะพันธุ์ปลากัด, เพาะพันธุ์นกเขา, ธุรกิจปล่อยเงินกู้, รวมถึงการเป็นเจ้าของรีสอร์ทหรู ธุรกิจบ้านจัดสรร  พร้อมกับมีการตั้งข้อสังเกตว่า ข้อมูลที่นำมาโจมตีเจ้าคุณเสนาะ นั้นเกิดหลังจากการปลดเจ้าคุณธงชัย ซึ่งอาจจะไม่พอใจ  ก่อนที่เจ้าคุณเสนาะ ต้องพ้นจากตำแหน่งเจ้าอาวาส จากข้อหาส่อทุจริตหลังนั่งเก้าอี้เจ้าอาวาสเพียงปีเศษ

 

ส่วนเรื่องที่หลายคนเชื่อว่าเป็น “ปม” อันนำไปสู่การทำอัตวินิบาตกรรมของเจ้าคุณเสนาะนั้น เห็นจะหนีไม่พ้นกรณีการทุจริตการจัดซื้อโต๊ะหมู่บูชาในงานพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) มูลค่า 67 ล้านบาท

      

       เรื่องนี้มีที่มาที่ไปสืบเนื่องจากสำนักตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ในสมัยของนายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส  เคยเป็นคีย์แมนสำคัญในการปราบการทุจริตต่างๆ ไม่เว้นแม้แต่เรื่องการใช้งบประมาณของวัด

 

ตรวจสอบพบความผิดปกติในการเบิกจ่ายงบประมาณที่เจ้าคุณเสนาะเป็นผู้ดูแลอยู่ ซึ่งเป็นเงินที่ใช้ในการจัดงานพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระพุฒาจารย์ จำนวน 67 ล้านบาท โดยสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) ได้มีหนังสือแจ้งรายงานทางลับกับผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ถึงความผิดปกติในการใช้งบประมาณดังกล่าว

 

สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เห็นว่าทางสตง.ได้มีหนังสือแจ้งรายงานถึงความผิดปกติของการใช้งบประมาณแผ่นดิน ที่ใช้ในพิธีพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระพุฒาจารย์  อดีตประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช จำนวน 67 ล้านบาทมาอย่างต่อเนื่อง จำนวน 3 ฉบับ โดยฉบับสุดท้าย คือ วันที่ 8 มกราคม 2558 ซึ่งสตง.ได้มารายงานทางลับโดยตรงกับผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช  จนนำมาสู่การปลดพระพรหมสุธีออกจาตำแหน่งกรรมการมหาเถรสมาคม และเจ้าอาวาส

 

โดยสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ในฐานะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช มอบพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชแต่งตั้ง กรรมการ มส.รูปใหม่ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 12 และมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2535 และมาตรา 3 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ แต่งตั้งให้ เจ้าคุณธงชัย  รักษาการเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ดำรงตำแหน่งกรรมการ มส.แทนเจ้าคุเสนาะ เมื่อวันที่11 ก.พ.58

 



      

       ปมของเรื่องนี้อยู่ตรงที่เจ้าคุณเสนาะได้เบิกเงินงบประมาณแผ่นดินจำนวน 67 ล้านบาทเพื่อซื้อโต๊ะหมู่บูชานำไปแจกให้กับวัดวาอารามต่างๆ ทั่วประเทศ ทั้งๆ ที่โดยข้อเท็จจริงแล้วมีประชาชนได้บริจาคเงินสร้างโต๊ะหมู่บูชาให้จนครบจำนวนอยู่แล้ว

      


       เมื่อสมเด็จพระสังฆราชมีพระบัญชาให้เจ้าคุณเสนาะออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสระเกศ จึงส่งผลให้ต้องพ้นจากตำแหน่ง เจ้าคณะภาค 12 ด้วย กระทั่งต่อมา 20 มกราคม 2558 มหาเถรสมาคม (พศ.)ได้มีคำสั่งปลดจากตำแหน่ง ประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ การสั่งพักงานเจ้าคุณเสนาะทั้ง 3 ตำแหน่ง ได้แก่ เจ้าอาวาส เจ้าคณะภาค และประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ เป็นไปตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 23 ว่าด้วยระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ. 2541

 

 

นำพาซึ่งแห่งเศร้าสลด ..ท้ายที่สุดแม้นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ออกมายืนยันภายหลังการมรณภาพแล้วว่า “ไม่มีความผิด เพราะเงินได้กลับเข้าไปสู่ระบบแล้ว เหมือนการยืมเงินทดรองไป ถ้าไม่มีการร้องเรียนขึ้นมาเงินนั้นอาจมีปัญหาก็ได้ แต่วันนี้เงินกลับไปแล้วก็จบ”

      

 
       และนายพิศิษฐ์ ในตอนนั้น ได้ออกมายืนยันเช่นกันว่า “การจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวเป็นเงินทดรองจ่าย ซึ่งหลังจากที่พระพรหมสุธีพ้นจากตำแหน่งเจ้าอาวาส ได้นำเงินมาคืนให้กับสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ดังนั้นเงินหลวงไม่มีอะไรเสียหาย ซึ่งเรื่องนี้ได้ยุติไปก่อนหน้านี้แล้ว และพระพรหมสุธีไม่มีคดีอะไร ส่วนเงินส่วนที่เหลือตรวจสอบแล้วพบว่าเบิกจ่ายตรงตามวัตถุประสงค์”

      


แต่กลับไม่มีเสียงตอบรับจากทั้งสำนักงานพระพุทธฯ และ มส. ในเมื่อพระพรหมสุธีไม่ผิด แล้ว มส.จะคืนความชอบธรรมให้เขาอย่างไร?