ระวัง ! มีเงินแล้วไม่ใช้ จะตกเป็นของรัฐ .....

อย่างนี้ก็มีด้วย !! ตะลึงพบมีเงินฝากบัญชีไม่เคลื่อนไหวเกินกว่า 10 ปีกว่าหมื่นลบ. คลังจ่อออก กม. โยกเงินเหล่านี้เป็นของรัฐ... ติดตาม/เพจ Richman can do

อย่างนี้ก็มีด้วย !! ตะลึงพบมีเงินฝากบัญชีไม่เคลื่อนไหวเกินกว่า 10 ปีกว่าหมื่นลบ. คลังจ่อออก กม. โยกเงินเหล่านี้เป็นของรัฐ... ติดตาม/เพจ Richman can do

ระวัง ! มีเงินแล้วไม่ใช้ จะตกเป็นของรัฐ .....

เป็นเรื่องไม่น่าเชื่อแต่ก็เกิดขึ้นจริง เมื่อกระทรวงการคลังซุ่มเงียบ โดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้มีการยกร่างกฎหมาย ให้อำนาจกระทรวงการคลังเป็นผู้ดูแลเงินฝากที่ไม่มีการเคลื่อนไหวเกินกว่า 10 ปีขึ้นไปของประชาชนแทนสถาบันการเงิน และจัดทำระบบการค้นหาข้อมูลออนไลน์เพื่อสืบค้นเงินฝากที่ไม่มีการเคลื่อนไหว เพื่อให้ประชาชนเจ้าของบัญชีหรือทายาทตามกฎหมายสามารถสืบค้นและขอเงินต้นคืนได้ตลอดเวลา ผ่านการดำเนินการตามกระบวนการที่กำหนด ทั้งนี้ หากไม่มีการจัดทำระบบการค้นหาข้อมูลข้างต้น ประชาชนอาจจะลืมหรือไม่เคยรู้มาก่อนว่ามีเงินจำนวนดังกล่าวอยู่ หรือหากประชาชนต้องการสืบค้นเงินดังกล่าวก็จำเป็นต้องติดต่อสอบถามสถาบันการเงินเป็นราย ๆ ไป

 

 

ระวัง ! มีเงินแล้วไม่ใช้ จะตกเป็นของรัฐ .....

นั่นหมายความว่า หากกฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้ขึ้นจริง เจ้าของบัญชีรายใดก็ตาม ที่มีเงินฝากในสถาบันการเงินทั้งของรัฐและธนาคารเอกชน หากบัญชีไม่เคลื่อนไหวเกินกว่า 10 ปี สถาบันการเงินทุกแห่งจะต้องส่งบัญชีเหล่านี้เข้าให้กรมบัญชีกลาง ก่อน หลังจากนั้นกรมฯจะส่งเงินเหล่านี้เข้าคงคลัง เพื่อบริหารจัดการต่อไป

โดย สศค. ให้เหตุผลว่า ขณะนี้มีบัญชีที่ไม่เคลื่อนไหวทั่วทั้งประเทศกว่า หนึ่งหมื่นล้านบาท ซึ่งตามแผนงาน รัฐจะบริหารเงินเหล่านี้ นำไปลงทุนต่างๆ ให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศ

อย่างไรก็ตาม  คลังยังเปิดโอกาสให้เจ้าของบัญชีเหล่านี้ มาถอนเอาเงินต้นคืนได้ตลอดเวลา  แม้เงินจะโยกไปอยู่ที่คงคลังแล้วก็ตาม แต่ต้องนำหลักฐานมาแสดง

ปัจจุบันแผนงานนี้ยังไม่ได้ออกเป็นกฎหมาย  คลังเพิ่งเปิดรับฟังความเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการเงินฝากที่ไม่มีการเคลื่อนไหวของสถาบันการเงิน พ.ศ. ….โดยเปิดให้ประชาชนเข้าแสดงความคิดเห็นผ่าน ทางเว็บไซต์ www.fpo.go.th

ระวัง ! มีเงินแล้วไม่ใช้ จะตกเป็นของรัฐ .....

ดังนั้นจึงน่าประหลาดใจ  กับท่าทีนี้ของคลังมาก  เพราะ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่กระทบกับประชาชนทุกชนชั้น ตั้งแต่รากหญ้า ถึง คนรวย แต่ คลัง กลับทำเงียบ คนต่างจังหวัดเข้าถึงอินเตอร์เน็ตและข่าวสารหมดหรือยัง จะมีโอกาสได้รับรู้ข่าวนี้ และ เข้าไปแสดงความคิดเห็นได้หรือไม่ ....

 

แม้ สศค. จะชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมว่า ปัจจุบัน ประชาชนส่วนหนึ่งมีการฝากเงินทิ้งไว้ที่สถาบันการเงินโดยที่บัญชีเงินฝากดังกล่าวไม่มีการเคลื่อนไหวเป็นระยะเวลานาน (Dormant Account) ซึ่งประชาชนอาจทราบหรือไม่ทราบก็ตาม ซึ่งในส่วนนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้มีการกำหนดแนวทางการบริหารจัดการเงินฝากดังกล่าวออกเป็น 2 แนวทาง ได้แก่

(1) กรณีเงินฝากมียอดเงินฝากคงเหลือน้อยกว่าขั้นต่ำที่ธนาคารกำหนด

ธนาคารสามารถเรียกเก็บค่าบริการรักษาบัญชีเงินฝากได้ หากมียอดคงเหลือในบัญชีเงินฝากน้อยกว่าขั้นต่ำที่ธนาคารกำหนด (ส่วนใหญ่ ธนาคารจะกำหนดยอดขั้นต่ำไว้ที่ 2,000 บาท และเก็บค่าบริการรักษาบัญชีจนกระทั่งเงินในบัญชีหมดไป)

(2) กรณีบัญชีเงินฝากที่ไม่เคลื่อนไหวมียอดเงินฝากคงเหลือสูงกว่าขั้นต่ำที่ธนาคารกำหนด

ธนาคารไม่สามารถเรียกเก็บบริการรักษาบัญชีเงินฝากสำหรับเงินในส่วนนี้ได้ ทั้งนี้ ธนาคารสามารถแยกเงินในบัญชีนี้ออกเป็นบัญชีที่ไม่มีการเคลื่อนไหว โดยต้องแจ้งยอดเงินฝากคงเหลือเป็นจดหมายลงทะเบียนหรือจดหมายรับรองให้ลูกค้าทราบ และหากลูกค้าหรือทายาทยังไม่ติดต่อกลับมายังธนาคารตามระยะเวลาที่กำหนด ธนาคารจะแยกเงินในบัญชีนี้ออกเป็นบัญชีที่ไม่มีการเคลื่อนไหว และที่ผ่านมาได้มีการใช้ประโยชน์จากเงินในส่วนนี้ ผ่านการรับรู้เงินในบัญชีดังกล่าวเป็นรายได้

ทั้งนี้ ในต่างประเทศได้มีการดำเนินการเกี่ยวกับบัญชีเงินฝากที่ไม่มีการเคลื่อนไหวในลักษณะเดียวกัน เช่น ออสเตรเลีย อังกฤษ ไอร์แลนด์ ญี่ปุ่น มาเลเซีย และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น โดยส่วนใหญ่จะนำเงินฝากที่ไม่มีการเคลื่อนไหวมาบริหารจัดการเพื่อนำเงินส่วนหนึ่งไปเพื่อสาธารณประโยชน์ และกันเงินสำรองอีกส่วนหนึ่งไว้เพื่อคืนเงินแก่ประชาชนที่มาขอเรียกเงินคืน

ในการนี้ สศค. จึงขอเชิญชวนหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงประชาชนทั่วไปร่วมแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อร่างกฎหมายดังกล่าวถึงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2560 ผ่านทาง Fax: 0 2618 3366 Email: [email protected]

ระวัง ! มีเงินแล้วไม่ใช้ จะตกเป็นของรัฐ .....

 

คำถามที่ตามคือ  .... 1. ทำไมประชาชนถึงได้คืนแต่เงินต้น ไม่มีดอกเบี้ยให้ ทั้ง ๆ ที่เงินของเราเมื่ออยู่ในแบงก์ เรายังได้ดอกเบี้ย

                    2. เวลาที่นำหลักฐานไปขอเงินคืน ประชาชนจะได้รับสะดวกในงานบริการหรือไม่ และ ต้องใช้เวลานานเท่าไรกว่าจะได้เงินคืน เพราะเวลาที่เราไปถอนจากแบงก์ เราได้รับเงินในทันที โดยเฉพาะประชาชนในต่างจังหวัด จะเดินทางไปติดต่อที่หน่วยงานใด

                                  3. คลัง น่าจะเปิดเวทีสาธารณะ รับฟังความคิดเห็นแบบ Public Hearing ทั่วทั้งประเทศ มากกว่าการเปิดเวทีในโลกอินเตอร์เน็ตเท่านั้น  ......