ขีดเส้นตาย 31 มี.ค.61  ปลอดแรงงานต่างด้าวผิดกม.

เน้นแรงงานไทยสำคัญที่สุด ติดตามเพจ Richman can do

เน้นแรงงานไทยสำคัญที่สุด  ติดตามเพจ Richman can do

ขีดเส้นตาย 31 มี.ค.61  ปลอดแรงงานต่างด้าวผิดกม.
สำนักข่าว อินโฟ เควสท์ รายงานว่า จรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน แถลงภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน (กนร.) ที่พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เป็นประธานว่า รัฐบาลมีนโยบายสำคัญในการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวที่ผิดกฎหมายให้หมดสิ้น โดยภายในวันที่ 31 มี.ค.61 จะต้องไม่มีแรงงานต่างด้าวที่ผิดกฎหมายอีกต่อไป และในการบริหารจัดการควรมีฐานข้อมูลแรงงานต่างด้าวฐานเดียวที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ สามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้
 

 

ขีดเส้นตาย 31 มี.ค.61  ปลอดแรงงานต่างด้าวผิดกม.

ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานจะพิจารณาการจ้างงานแรงงานต่างด้าว โดยคำนึงถึงความเหมาะสมกับความต้องการของตลาดแรงงานในแต่ละกลุ่มอาชีพ หากสถานประกอบการหรือนักลงทุนมีความต้องการแรงงานต่างด้าวเพิ่ม จะต้องดำเนินการในรูปแบบการนำเข้าแรงงานต่างด้าวแบบรัฐต่อรัฐ (G to G) หรือการทำข้อตกลงระหว่างบริษัทจัดหางานที่ถูกต้องตามกฎหมายของทั้งสองประเทศดำเนินการร่วมกัน (MOU)

"เราต้องให้ความสำคัญกับแรงงานไทยเป็นอันดับแรก เนื่องจากปัจจุบันมีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ที่สามารถวางแผนส่งเสริมให้คนไทยมีงานทำเพิ่มมากขึ้น จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนตามแนวทางประชารัฐ เพื่อให้คนไทยได้ทำงานอย่างมีศักดิ์ศรี"จรินทร์ กล่าว

ขีดเส้นตาย 31 มี.ค.61  ปลอดแรงงานต่างด้าวผิดกม.

จรินทร์ กล่าวว่า ครั้งนี้คณะกรรมการฯ ได้ร่วมกันพิจารณา การจัดระบบฐานข้อมูลแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย ที่แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 แรงงานต่างด้าวทำงานในกิจการประมงทะเลและกิจการแปรรูปสัตว์น้ำ กลุ่มที่ 2 แรงงานที่ผ่านการตรวจสอบคัดกรองความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง (กลุ่มตามคำสั่ง คสช. ที่ 33/2560) และกลุ่มที่ 3 แรงงานต่างด้าวที่ถือบัตรประจำตัวผู้ซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (บัตรสีชมพู) นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีมติเห็นชอบให้กระทรวงแรงงานนำเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย มีอำนาจในการกำหนดเลขประจำตัว 13 หลัก ให้กับแรงงานต่างด้าว

นอกจากนี้ทางพล.อ.ประวิตร ได้สั่งการต่อที่ประชุมฯ โดยให้กระทรวงแรงงานและกระทรวงการต่างประเทศประสานงานกับประเทศต้นทางในการเร่งตรวจสัญชาติให้กับแรงงาน เพื่อสิทธิประโยชน์และการคุ้มครองที่แรงงานจะได้รับเมื่อผ่านการตรวจสัญชาติเรียบร้อยแล้ว, ให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการตามแนวทางที่คณะกรรมการฯ เห็นชอบ เพื่อให้การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลต่อภาพลักษณ์ในด้านบวกของประเทศไทยในระดับสากล และให้กระทรวงแรงงานประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารการจ้างงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย ให้นายจ้าง แรงงาน และประชาชนได้รับทราบอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความตระหนักรู้และเกิดความรับผิดชอบต่อส่วนรวมร่วมกัน