ชื่อ TMB BANK แต่ไม่ใช่แบงก์ของทหารไทย  อึ้ง... กองทัพเหลือหุ้นแค่ 1%

เปิดประวัติชื่อ TMB BANK แต่ไม่ใช่แบงก์ของทหารไทย อึ้ง... กองทัพเหลือหุ้นแค่ 1%

ทำไมถึงเป็นเช่นนี้ ติดตามเพจ Richman can do

ชื่อ TMB BANK แต่ไม่ใช่แบงก์ของทหารไทย  อึ้ง... กองทัพเหลือหุ้นแค่ 1%

นับตั้งแต่ปี 2540  ที่เกิดวิกฤติการณ์ "ต้มยำกุ้ง" ขึ้น สถาบันการเงินในไทยล้มระเนระนาดไม่เป็นท่า รวมทั้ง TMB BANK หรือชื่อในอดีต "ธนาคารทหารไทย" ด้วยความคิดริเริ่มของ ฯพณฯ พลเอก สฤษดิ์ ธนะรัชต์ และได้รับอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ตามพระราชบัญญัติธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2488 ธนาคารเปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ.2500 ณ สำนักงานใหญ่ ถนนราชดำเนิน โดยมีประเภทบริการที่จำกัด และมุ่งบริการการเงินแก่หน่วยงานทหารและข้าราชการทหารเป็นหลัก หลังจากนั้นจึงได้พัฒนาและเติบโตขึ้นอย่างเป็นลำดับ จนกระทั่งในปี พ.ศ.2506 ธนาคารจึงได้เปิดสาขาแห่งแรกคือ สาขาราชประสงค์ อดีตกองทัพจึงเป็น ผู้ถือหุ้นใหญ่ โดยเฉพาะกองทัพบก  คำว่า TMB BANK อดีตจึงมาจากชื่อเต็มว่า Thai Military Bank  เพราะทหารคือผู้ถือหุ้นใหญ่ 

ประวัติ ธนาคารทหารไทย

ดังนั้นปี 2540 ที่แบงก์ประสบปัญหา จึงต้องเพิ่มทุนใส่เงินก้อนโต เพื่อเติมเงินกองทุนและดำเนินกิจการ ซึ่งช่วงนั้นกองทัพก็เพิ่มทุนตาม แต่ลดสัดส่วนลง เพิ่มแบบไม่เต็มจำนวน แต่ต่อมา  ปี 2547 ธนาคารได้รวมกิจการกับ ธนาคารดีบีเอสไทยทนุ และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ก็ต้องเพิ่มทุนก้อนใหญ่ อีก กองทัพก็ลดสัดส่วนการใส่เงินเพิ่มทุนลงไปอีก ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นลดน้อยลงเรื่อย ๆ  และปี 2548 ธนาคารได้ทำการ เปลี่ยนภาพลักษณ์  "Re-branding" โดยได้เปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษของธนาคารเป็น "TMB Bank Public Company Limited" เปลี่ยนโลโก้ใหม่และเปลี่ยนคำขวัญเป็น "ร่วมคิดเพื่อทุกก้าวของชีวิต"
ต่อมาปี 2550 TMB  แบงก์ได้ขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน 25000 ล้านหุ้นให้แก่ ING Bank  N.V. ซึ่งเป็นสถาบันกานเงิน 1 ใน 20 ของสถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลก และ 1 ใน 10 อันดับแรกของสถาบันการเงินที่ใหญ่ในยุโรป รวมทั้งกระทรวงการคลังและกลุ่มบุคคลที่เฉพาะเจาะจงในประเทศ โดยหุ้นที่เหลือจากการจัดสรรเสนอขายแก่สถาบันการเงินและกองทุนในต่างประเทศ  ซึ่งรอบนี้กองทัพไม่ได้ใส่เงินเพิ่มทุนตามไปด้วย

ประวัติ TMB

ปัจจุบันกองทัพบก จึงเหลือสัดส่วนการถือหุ้นในแบงก์เพียง 1.25%  มาดูโครงสร้างผู้ถือหุ้น TMB BANK
1. คลัง ถือ 11,364,282,005 หุ้น คิดเป็น 25.92%  2. ING BANK N.V.จำนวน10,970,893,359 หุ้น คิดเป็น 25.02% 3. บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด ถือ 4,609,439,235 หุ้น คิดเป็น 10.51%  4. CHASE NOMINEES LIMITED ถือ 1,075,048,272 หุ้น คิดเป็น 2.45%  5. นางสมพร จึงรุ่งเรืองกิจ ถือ 726,000,000 หุ้น คิดเป็น 1.66 %  6. DBS BANK LTD    ถือ 602,000,000 หุ้น คิดเป็น 1.37%  7. กองทัพบก ถือ 546,499,860 หุ้น คิดเป็น 1.25%  8. HSBC (SINGAPORE) NOMINEES PTE LTD ถือ 407,482,900  หุ้น คิดเป็น 0.93%  9. STATE STREET BANK EUROPE LIMITED ถือ  268,638,362 หุ้น คิดเป็น 0.61%  10. N.C.B.TRUST LIMITED-NORGES BANK ถือ  223,018,300 หุ้น คิดเป็น 0.51%
ด้านฐานะการเงินในปัจจุบัน ก็จัดว่าแบงก์มีอาการดีขึ้นเรื่อยมา จากอดีตเป็นธนาคารที่มีหนี้เสียมหาศาล ขาดทุนนับแสนล้านบาท คลัง ต้องดึงมืออาชีพเข้ามาบริหาร จนได้
บุญทักษ์ หวังเจริญ  อดีตผู้บริหารจากธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน) เข้ามาเป็น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย จำกัด(มหาชน) และกอบกู้ฐานะของแบงก์ได้ดีขึ้นมาเรื่อย ๆ 

ประวัติธนาคาร TMB

                                 ปิติ ตัณฑเกษม                              บุญทักษ์ หวังเจริญ  

 

แต่สิ้นปีนี้บุญทักษ์  จะก้าวพ้นตำแหน่ง และธนาคารมีมติแต่งตั้ง ปิติ ตัณฑเกษม เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการธนาคาร คนต่อไป แทน มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.61 เป็นต้นไป
ดังนั้นเมื่อเห็นโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหญ่ 10 อันดับแรกของ TMB BANK ก็คงตั้งคำถาม ทำไม ถึงยังใช้ชื่อ TMB BANK คำตอบที่คาดเดาได้คือ คลัง ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของธนาคาร ยังเกรงใจกองทัพ ถึงยกเลิกชื่อแบงก์ที่เป็นภาษาไทยว่า แบงก์ทหารไทย  แต่ยังคงให้เป็น TMB เหมือนเดิม ละไว้ในฐานที่เข้าใจ นั่นเอง...