เลื่อนเลือกตั้ง ใครเดือดร้อน???

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.richmancando.com

จะเป็นจะตายกันหรือไง 

เลื่อนเลือกตั้ง ใครเดือดร้อน???

 กุลยา ตันติเตมิท ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง และ ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า การที่รัฐบาลประกาศเลื่อนเลือกตั้งออกไปจะไม่กระทบต่อเศรษฐกิจไทย หลังดัชนีตลาดหุ้นกลับมาเป็นปกติ จากที่ก่อนหน้านี้นักลงทุนมีการเทขายหุ้นอย่างหนักในวันที่ประกาศเลื่อนการเลือกตั้ง แต่ขณะนี้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจไทยยังเติบโตได้ ตามแรงขับเคลื่อนจากการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ของทางภาครัฐ และ เอกชน
สอดคล้องกับก่อนหน้านี้ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยในโอกาสเป็นประธานเปิดงานสัมมนาโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจตะวันออก “EEC ไม่มีไม่ได้” ว่า 
 จากการได้พบกับบรรดานักลงทุนที่ผ่านมาไม่มีการสอบถามกรณีการเลือกตั้งของไทยไม่สามารถจัดได้ภายในปีนี้หลังมีการเลือกการบังคับใช้กฏหมายลูกเลือกตั้ง ส.ส.ออกไปอีก 90 วัน ส่งผลทำให้การเลือกตั้งจะเกิดได้เร็วสุดในก.พ.ปีหน้า  
 “  "ถ้าไม่ทะเลาะกันก็น่าจะมีการเลือกตั้งเร็ว ผมลืมบอกไปว่าถ้าเศรษฐกิจดีอย่างนี้หุ้นน่าจะขึ้นนะ เท่าที่เจอกันไม่มีใครถามเรื่องนี้เลย  เพราะคนที่จะมาลงทุนเขาสนใจหลักๆ 3 เรื่อง คือ 1 บ้านเมืองสงบ 2 ประเทศมีเสถียรภาพ และ 3 เศรษฐกิจดีทั้งหมดเป็นองค์ประกอบที่เขาตัดสินใจมาลงทุน  เชื่อว่ารัฐบาลตั้งใจจะจัดการเลือกตั้งให้เร็วแต่มันก็มีบางเรื่องที่เราควบคุมไม่ได้ อยากให้ทุกคนช่วยกันคนละไม้คนละมือ เชื่อว่าการเลือกตั้งจะมีขึ้นเร็วๆนี้แน่” รองนายกฯกล่าว
นอกจากนั้น แม้การเลือกตั้งจะเลื่อนออกไปเป็นปี 2562 ก็ยังไม่มีนักลงทุนแสดงความกังวลหรือสอบถามเข้ามา เพราะต่างชาติมีความเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพของรัฐบาลอยู่แล้ว ทำให้บ้านเมืองสงบ และเศรษฐกิจดีทำให้มองเห็นอนาคตของธุรกิจ ยิ่งหากทุกคนช่วยกันคนละไม้คนละมือในที่สุดผมเชื่อว่าการเลือกตั้งก็จะเกิดขึ้นในเร็ววันนี้แน่นอน ที่สำคัญเมื่อทุกอย่างดีแบบนี้ รับรองหุ้นไทยขึ้นต่อแน่นอน

เลื่อนเลือกตั้ง ใครเดือดร้อน???

นอกจากนั้นสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) จัดทำประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 61 มีแนวโน้มขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องที่ 4.2% โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ 3.7% – 4.7% จากเดิมที่คาดขยายตัว 3.8% หลังส่งออก และ ท่องเที่ยวยังเติบโตได้ดี ประกอบกับ การใช้จ่ายภาครัฐเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญตามกรอบรายจ่ายลงทุนภาครัฐประจำปีงบประมาณ 61 ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยคาดว่าการบริโภคภาครัฐจะขยายตัว 3.4% โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ 2.9% – 3.9% และ การลงทุนภาครัฐจะขยายตัวสูงถึง 11.8% โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ 11.3% – 12.3%

ส่วนการลงทุนภาคเอกชนคาดว่าจะยังขยายตัวในอัตราเร่งที่ 3.8% โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ 3.3% - 4.3% การบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปที่ 3.5% โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ 3.0% – 4.0% จากรายได้ครัวเรือนนอกภาคเกษตรได้รับผลดีจากภาวะตลาดแรงงานที่อยู่ในเกณฑ์ดี นอกจากนี้ ภาวะการเงินที่ผ่อนคลายจะยังเป็นปัจจัยสนับสนุนการฟื้นตัวขึ้นของการใช้จ่ายภาครัวเรือน

ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 61 จะอยู่ที่ 1.2% โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ 0.7% – 1.7% ลดลงจากเดิมที่คาด 1.4% ตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ และ ราคาพลังงานที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ส่วนเงินเฟื้อพื้นฐานในปี 61 จะอยู่ที่ 0.8% โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ 0.3-1.3% ลดลงจากที่คาดไว้ที่ 0.9%

ทางด้านค่าเงินบาท สศค.ได้ปรับประมาณปีนี้มาอยู่ที่ 32.25 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นจากปีก่อน 5% จากสิ้นปี 60 ค่าเงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 33.94 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งล่าสุดเมื่อวันศุกร์ค่าเงินบาทอยู่ที่ 31.35 บาท/ดอลลาร์ โดยการที่เงินบาทแข็งค่ามาจากดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง ซึ่งเงินบาทแข็งค่าจะไม่กระทบต่อการส่งออกของไทยในปีนี้ หลังเศรษฐกิจคู่ค้ายังเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง
 

เลื่อนเลือกตั้ง ใครเดือดร้อน???

สำหรับเศรษฐกิจไทยในปี 60 คาดว่าจะสามารถขยายตัวได้ 3.8% เร่งขึ้นจากปี 59 ที่ขยายตัว 3.2% เป็นการขยายตัวได้สูงกว่าที่ประมาณการเมื่อครั้งก่อนหน้า อันเป็นผลจากการส่งออกสินค้า และบริการคาดว่าจะขยายตัวดีขึ้นต่อเนื่องมาอยู่ที่ 6.2% ตามเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ขยายตัวชัดเจน โดยการส่งออกสินค้าขยายตัวต่อเนื่องในหลายหมวดสินค้าและในเกือบทุกตลาดส่งออก ขณะที่รายได้จากภาคการท่องเที่ยวยังดีขึ้นต่อเนื่องตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามายังประเทศไทยในปี 60 ที่มีจำนวนสูงถึง 35.4 ล้านคน

นอกจากนี้ การใช้จ่ายภาคเอกชนยังมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยการบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัว 3.2% ตามรายได้ของแรงงานในภาคการผลิตเพื่อการส่งออกและภาคการท่องเที่ยวที่ปรับตัวดีขึ้น รวมทั้งผลดีจากมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มาตรการลดหย่อนภาษีเพื่อกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยในช่วงปลายปี และโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อฯ ส่วนการลงทุนภาคเอกชนเริ่มมีแนวโน้มฟื้นตัวจากปีก่อนหน้ามาขยายตัวที่ 2.1% สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นตามความชัดเจนของการดำเนินโยบายภาครัฐ อาทิ โครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และการประกาศใช้ร่าง พรบ. พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก สำหรับแรงกระตุ้นจากภาครัฐยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การบริโภคภาครัฐคาดว่าจะขยายตัวเร่งขึ้นจากปีก่อนหน้ามาอยู่ที่ 2.0% อย่างไรก็ตาม การลงทุนภาครัฐคาดว่าจะมีแนวโน้มหดตัวที่ -1.1%

เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 60 อยู่ในระดับต่ำที่ 0.7% ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ และ แนวโน้มต้นทุนจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่มีทิศทางเพิ่มขึ้น สำหรับเสถียรภาพภายนอกประเทศดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุล 48.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือ คิดเป็น 10.8% ของ GDP เนื่องจากดุลการค้าที่คาดว่าจะเกินดุลที่ 31.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตามมูลค่าสินค้านำเข้าที่คาดว่าจะขยายตัวเร่งขึ้นที่ 14.7% ในขณะที่มูลค่าสินค้าส่งออกคาดว่าจะขยายตัวที่ 9.7%