รฟม.  รับผิดชอบมั้ย ตัวดีทำให้  กทม.อากาศเป็นพิษ

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

ชีวิตคน กทม.ต้องทนสูดฝุ่นละอองไปอีกนานเท่าไร เมื่องานก่อสร้างรถไฟฟ้า ยังต้องใช้เวลาอีกหลายปีกว่าจะเสร็จ...???

รฟม.  รับผิดชอบมั้ย ตัวดีทำให้  กทม.อากาศเป็นพิษ

วันชัย ถนอมศักดิ์ รองปลัดกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ตรวจการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี ณ สำนักงานสนามโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูฯ ถ.รามอินทรา เขตคันนายาว จากนั้นตรวจจุดตรวจวัดคุณภาพอากาศโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม – มีนบุรี บริเวณหน้าโรงพยาบาลการุญเวช สุขาภิบาล 3 ถ.รามคำแหง เขตสะพานสูง ตรวจจุดตรวจวัดคุณภาพอากาศโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง และตรวจการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ บริเวณสถานีราชมังคลา โดยมีคณะผู้บริหารสำนักสิ่งแวดล้อม ผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่ ผู้บริหารการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และผู้เกี่ยวข้องร่วมลงพื้นที่
 

รฟม.  รับผิดชอบมั้ย ตัวดีทำให้  กทม.อากาศเป็นพิษ

ดังนั้นได้กำชับให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นผู้รับหน้าที่ดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าดังกล่าวให้ความสำคัญต่อการลดมลพิษทางอากาศที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชน โดยเฉพาะในเรื่องของฝุ่นละอองจากการก่อสร้างรถไฟฟ้าโครงการต่างๆ เนื่องจากที่ผ่านมาสภาพอากาศแปรปรวน ประกอบกับในหลายพื้นที่ของกรุงเทพมหานครมีการก่อสร้างอาคารและโครงรถไฟฟ้าหลายสาย ส่งผลให้การตรวจวัดค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก คือ PM10 และPM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพฯ มีค่าสูงกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนด ซึ่งค่าฝุ่นละอองที่สูงนั้นสามารถส่งผลกระทบกับสภาพแวดล้อมและสุขภาพประชาชนได้หากประชาชนได้รับฝุ่นละอองเข้าสู่ร่างกายเป็นระยะเวลานานหรือในปริมาณที่สูง

รองปลัดกรุงเทพมหานคร ได้ย้ำให้ทางผู้รับจ้างดำเนินการก่อสร้างโดยคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญ เช่น ปิดกั้นพื้นที่ก่อสร้างให้มิดชิด ป้องกันไม่ให้สิ่งของต่างๆ จากการก่อสร้างหล่นออกนอกพื้นที่ก่อสร้างซึ่งเป็นอัตรายต่อประชาชนได้ ให้มีการล้างถนน ดูดฝุ่น ล้างล้อรถทุกครั้งที่ออกจากพื้นที่ก่อสร้าง ล้างแท่งแบริเออร์กั้นทาง รวมถึงฉีดพ่นละอองน้ำลดฝุ่นละอองในอากาศ
 

รฟม.  รับผิดชอบมั้ย ตัวดีทำให้  กทม.อากาศเป็นพิษ

นอกจากการป้องกันเรื่องฝุ่นละอองแล้ว รองปลัดกรุงเทพมหานคร ยังกำชับว่า ต้องการติดตั้งป้ายแจ้งให้ประชาชนทราบว่าพื้นที่ข้างหน้ามีการก่อสร้าง จัดทำป้ายบอกทางลัดและทางเลี่ยงพื้นที่การก่อสร้าง ติดตั้งไฟเตือน ไฟบอกทาง ขีดสีตีเส้นจราจรใหม่ให้ชัดเจน และไม่ทิ้งวัสดุต่างๆ จากการก่อสร้างลงท่อระบายน้ำหรือกองไว้บริเวณปากท่อระบายน้ำเพราะจะทำให้เกิดการอุดตันในท่อระบายน้ำส่งผลให้ไม่สามารถระบายน้ำในพื้นที่ต่างๆ ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเกิดน้ำท่วมขังได้

 สำหรับในพื้นที่ที่เป็นจุดอ่อนน้ำท่วม รองปลัด กทม. ได้สั่งให้มีการติดตั้งเครื่องสูบน้ำประจำจุดไว้ล่วงหน้า หากมีฝนจะได้เปิดเครื่องใช้งานได้ทันที ซึ่งทางผู้รับจ้างยินดีให้ความร่วมมือกับกรุงเทพมหานครและดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมาย