ตราบาป กสทช.ทีวีดิจิตอล  ผลงานโบว์ดำ หรือ โบว์แดง...??

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

กสทช.มีความสุขมากมั้ย เห็นคนสื่อพาเหรดตกงาน  ระวังเหตุการณ์จะย้อนกลับเหมือน วิกฤติต้มย้ำกุ้งปี40 นักข่าวตกงานจนลามไปทำให้แบงก์สะเทือน....

ตราบาป กสทช.ทีวีดิจิตอล  ผลงานโบว์ดำ หรือ โบว์แดง...??

ยังคงจำกันได้ บรรยากาศใน คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ กสทช. เมื่อเดือน ธ.ค. 2556 ที่ดี๊ด๊าเป็นปลากระดี่ได้น้ำ  เพราะเวลานั้น 7 อรหันต์ของ กสทช.ต่างภาคภูมิใจที่สามารถประมูลช่องโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิตอล ด้วยยอดเงินประมูลรวมถึง 50,862 ล้านบาท ซึ่งในเวลานั้นสังคมต่างตั้งคำถามมากว่า แล้วจะรอดมั้ย เพราะผู้ประกอบการแต่ละรายมีต้นทุนสูงมาก มันไม่ใช่แค่ต้นทุนค่าไลเซ่นส์เท่านั้น แต่รวมถึงต้นทุนดำเนินงาน ค่าพนักงาน ค่าจิปาถะอีกมากมาย 
 

ตราบาป กสทช.ทีวีดิจิตอล  ผลงานโบว์ดำ หรือ โบว์แดง...??

แต่ในเวลานั้น กสทช. ไม่ได้ฟังเสียงทักท้วงเหล่านี้  และไม่ได้คิดถึงคนเป็นหมื่น ที่เอาชีวิตมาเดิมพันกับวงเงิน 5 หมื่นกว่าล้านบาท ที่กสทช.ประมูลได้ไป เพราะในขณะนั้นคงจะคิดเพียงแค่ว่า เอาเงินมาก่อน เพื่อโชว์ผลงาน ให้รัฐบาลเห็น ส่วนใครจะรอดหรือมั้ย เป็นเรื่องของเอกชนผู้ประมูลได้ ต้องไปแก้ปัญหาชีวิตเอง  ดังนั้นเมื่อภาคเอกชนประสบปัญหาจากวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นทั่วโลก  กสทช.ที่เป็นหน่วยงานกำกับดูแล กลับเพิกเฉย กว่าจะหาทางเหยียวยาได้ ก็ล้มหมอนนอนเสื่อกันไปแล้ว แต่ค่ายทีวีดิจิตอลส่วนใหญ่ยังต้องแบกและประคองสถานการณ์กันต่อไป เพราะความรับผิดชอบกับชีวิตพนักงาน แต่หลายรายก็จำใจต้องแก้ปัญหา เพื่อรักษาคนหมู่มากไว้ ด้วยการเลิกจ้างพนักงาน ที่มีให้เห็นทุกปี และยังจะมีให้เห็นเกิดขึ้นต่อไปอีก ขึ้นกับว่า ใครจะหนองแตกก่อนกัน 

ดังจะเห็นได้จากเมื่อปีที่แล้ว 2560  บริษัท วอยซ์ ทีวี จำกัด (สถานีวอยซ์ ทีวี ช่อง 21, ช่องทางออนไลน์ วอยซ์ ทีวี ) ได้ปรับลดจำนวนพนักงานลงด้วยการ เลิกจ้างจำนวน 127 คน  โดยพนักงานที่ถูกเลิกจ้างทุกคน จะได้รับเงินค่าชดเชย ไม่น้อยกว่าที่กฎหมายแรงงานกำหนด ซึ่งจะมีพนักงานส่วนหนึ่งที่ถูกเลิกจ้าง ยังคงร่วมงานในรูปแบบ Outsource กับบริษัทฯ  และก่อนหน้านี้ เมื่อต้นปี 2559 วอยซ์ ทีวี เคยได้ทำการปลดพนักงานมาแล้ว จำนวน 57 คน โดยให้เหตุผลว่า เพื่อปรับโครงการองค์กรให้เหมาะสมกับการแข่งขันธุรกิจทีวีดิจิตอลในขณะนั้น

ตราบาป กสทช.ทีวีดิจิตอล  ผลงานโบว์ดำ หรือ โบว์แดง...??

นอกจากนั้นเมื่อ วันที่ 24 พ.ค. 2560 บริษัท ทริปเปิลวีบรอดคาสต์ จำกัด เจ้าของสถานีโทรทัศน์ไทยรัฐทีวี มีนโยบายดำเนินโครงการลาออกด้วยความสมัครใจ โดยผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการฯ นั้น ประธานเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจเป็นผู้พิจารณาอนุมัติการเข้าร่วมโครงการของพนักงาน ทั้งนี้ ผลการพิจารณาของประธานเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจถือเป็นที่สิ้นสุด และเป็นข้อยุติพนักงาน ไม่สามารถขออุทธรณ์ หรือขอให้ทบทวนผลการพิจารณา ซึ่งพนักงานที่ได้รับการอนุมัติจากประธานเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจให้ออกตามโครงการแล้ว และถอนเรื่องคืนหรือยกเลิกไม่ได้ ซึ่งโครงการลาออกด้วยความสมัครใจนี้คาดว่า ตั้งเป้าลดพนักงานร้อยละ 15 จากจำนวนพนักงานทั้งหมดประมาณ 700 คน ล่าสุด เกิดเหตุ ที่สถานีข่าวนิวทีวีช่อง 18 ปลดพนักงานฝ่ายข่าว 37 คน รวมผู้ประกาศ  และกำลังทะยอยตามมาอีกหลายสถานีที่จะปลดคนลงอีก ที่คาดว่า จะไม่ต่ำกว่า 3 พันคนรอคิวตกงาน ตราบใดที่ กสทช. ยังเกาไม่ถูกที่คัน 

แม้ล่าสุด กสทช.จะใช้วิธีช่วยเหลือผู้ประกอบกิจการทีวีดิจิตอล โดยให้พักชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตงวดสุดท้าย พักการจ่ายเงินเป็นเวลา 3 ปี (คิดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย) และให้ลดค่าเช่าโครงข่าย (ค่ามัค) ลงร้อยละ 50 แต่มันเป็นเพียงแค่การซื้อเวลา  หรือ ยาบรรเทาชั่วคราว ไม่ใช่การรักษาโรคที่แท้จริง พูดง่าย ๆ  กสทช. ยังเกาไม่ถูกที่คัน

ผู้ประกอบการค่ายทีวีดิจิตอลมากมายต่างเสนอความเห็นให้ กสทช.รับทราบว่า หนทางที่จะแก้ไขให้ตรงจุด คือ การลดค่าไลเซ่นส์ หรือ ลดค่าสัปทานลงจากเดิมที่ประมูลได้ไป เพราะเป็นวิธีเดียวที่ทำให้ทุกรายจะอยู่ได้ โดยไม่ต้องปลดพนักงาน เนื่องจากคนเป็นต้นทุนที่สูง  
เห็นได้ชัดว่า  มาตรการเยียวยาที่กสทช นำมาใช้กับทีวีดิจิตอล ไม่ใช่ข่าวดีจริง  เพราะหุ้นของแต่ละค่ายที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่ขานรับในทางที่ดี ตามที่นักวิเคราะห์ต่างคาดหวัง  เช่น หุ้น บมจ.โมโน ราคาก็อยู่ในระดับ 4.40 บาท หุ้น WORK  อยู่ที่ 77 บาท   และ หุ้นช่อง 3 ที่อาการแย่สุดจาก 17 บาท เมื่อช่วงไตรมาส 4 ปีที่แล้ว  ราคาอยู่ที่ 10.60 บาท  เนื่องจากผลดำเนินงานกำไรทรุด94.99% จากปี 59 ที่มีกำไร 1,218.29 ล้านบาท แต่ปี 60 มีกำไรสุทธิ 61.01 ล้านบาท  สาเหตุเพราะนอกจากรายได้จากค่าโฆษณาลดลงแล้ว ทั้ง ๆ ที่เรตติ้งช่องไม่ได้ตกอะไรมากมาย แต่ในขณะที่ต้นทุนดำเนินงานของช่อง  3 สูงขึ้นมาก ทั้งการผลิตรายการและต้นทุนพนักงาน 

ตราบาป กสทช.ทีวีดิจิตอล  ผลงานโบว์ดำ หรือ โบว์แดง...??

กสทช. จะยังคงหัวเราะเริงร่า ชีวิตมีความสุขต่อไปอีกใช่มั้ย ท่ามกลางเลือดกลบปาก ของ ทีวีดิจิตอลทุกช่องและคนสื่ออีกร่วมหมื่นชีวิต  และถ้าต้องมีการลดคนข่าวลงอีก จะไม่ใช่แค่จำนวนคนตกงานเพิ่ม แต่จะขยายวงไปถึง หนี้เสียที่จะเกิดขึ้นอีกกับธนาคารพาณิชย์หลายแห่ง เพราะคนเหล่านี้ต่างยังต้องผ่อนบ้าน ผ่อนรถ  เมื่อไม่มีงานทำจะเอาเงินที่ไหนไปใช้หนี้ สภาพจะย้อนกลับไปเหมือน วิกฤติต้มยำกุ้ง ปี 2540 ที่เกิดขึ้นกับคนสื่อ จนลามไปสู่วงการอื่น ๆ ตามมาอีก หรือไม่ หวังว่า  กสทช. คงไม่กลืนน้ำลายคัวเองนะ กับสโลแกน “ดิจิตอลทีวีดูดีทุกบ้าน” หรือ จะมือถือสาก ปากถือศิล ต่อไป โดยใช้ชีวิตคนร่วมหมื่นเป็นเดิมพัน.....