กัปตันโยธิน ย้อนวิกฤตใครทำบินไทยขาดทุน ฝากบิ๊กตู่ดูให้ดีๆ ถกคนร.ระวังพวกฉวยโอกาส

กัปตันโยธิน ย้อนรากเหง้าปัญหาการบินไทย ฝากนายกฯประยุทธ์ แก้ปัญหาให้ถึงรากเหง้าวิกฤต

ถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ระดับประเทศ  กับสถานภาพทางธุรกิจของ  บมจ.การบินไทย  ที่ประสบผลขาดทุนต่อเนื่อง  ยิ่งโดยเฉพาะกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่ตกต่ำ  และสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่แพร่ระบาดไปทั่วโลก  ท้ายสุด  นายสุเมธ ดำรงชัยธรรม กรรมการผู้อำนวยการใหญ่  บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน)  ได้ยื่นหนังสือลาออกแล้ว มีผลเมื่อวันที่ 1  เมษายน 2563 ที่ผ่านมา 

 

กัปตันโยธิน ย้อนวิกฤตใครทำบินไทยขาดทุน ฝากบิ๊กตู่ดูให้ดีๆ ถกคนร.ระวังพวกฉวยโอกาส


(คลิกอ่านข่าวประกอบ :  การบินไทยอาการป่วยยังไม่ฟื้น ปี 62 ขาดทุนกว่า 1.2 หมื่นล้าน งัดแผนสู้วิกฤตอุตลุด )  

ล่าสุด  กัปตันโยธิน  ภมรมนตรี   อดีตผู้บริหาร บมจ.การบินไทย  ที่เฝ้าติดตามวิกฤตการณ์ที่เกิดกับองค์กรรัฐวิสาหกิจ  ที่มีความสำคัญระดับชาติมาโดยตลอดหลายปีที่ผ่านมา  โพสต์ให้ความเห็น  ในเพจเฟซบุ๊ค  Jothin Pamon-montri   มีใจความสำคัญว่า    "เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2563 ที่กระทรวงคมนาคม  นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว. คมนาคม  เปิดเผยภายหลังเข้าร่วมประชุมแก้ไขเร่งด่วน และแผนฟื้นฟูบริษัทการบินไทย แต่ไม่สามารถเปิดเผยแผนดังกล่าวที่จะเสนอในที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ซึ่งมี พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเพื่อพิจารณา ในวันที่ 29 เมษายน 2563


ในปี 2557 บริษัทการบินไทย ได้จ้างบริษัทที่ปรึกษาต่างชาติมาทำแผนปฏิรูปบริษัทฯ  บริษัทนี้ใช้เวลา เพียง 55 วันเพื่อทำแผน ในราคาค่าจ้าง 35 ล้านบาท และเมื่อแผนแล้วเสร็จในต้นปี 2558 ผู้บริหารมีความเชื่อมั่นว่า บริษัทจะมีกำไรแน่นนอนในปี 2558 แต่ในความเป็นจริง ขาดทุน -13,067 ล้านบาท และเป็นที่น่าแปลกใจ เพราะในปีนั้นราคาน้ำมันลดลงมาก ทุกสายการบินทำกำไร ยกเว้น การบินไทย

 

กัปตันโยธิน ย้อนวิกฤตใครทำบินไทยขาดทุน ฝากบิ๊กตู่ดูให้ดีๆ ถกคนร.ระวังพวกฉวยโอกาส


ในปี 2558 บริษัทฯมีค่าใช้จ่ายในการบริหารความเสียงราคาน้ำมัน  18,154 ล้านบาท  และในปีเดียวกัน  นำเอาเครื่องบินที่ยังมีอายุใช้งานอีก 10 ไปจอด ตามข้อเสนอของบริษัทที่ปรึกษา "นโยบาย หด เพื่อโต"  เอาไปจอดและขายไม่ได้ เมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณ 2558 จึงต้องเสียค่าด้อย 10,810 ล้านบาท โดยข้อเท็จจริงแล้วถ้าไม่ดำเนินการตามนโยบายนี้ แทนที่บริษัทฯจะขาดทุน 13,067 ล้าน แต่บริษัทฯจะทำกำไร 15,897 ล้านบาท

 

กัปตันโยธิน ย้อนวิกฤตใครทำบินไทยขาดทุน ฝากบิ๊กตู่ดูให้ดีๆ ถกคนร.ระวังพวกฉวยโอกาส

 

ในปี 2559 ที่แจ้งว่าทำกำไร 15 ล้านบาท ในความเป็นจริง ขาดทุน เนื่องจากบริษัทฯได้รับบางส่วนของภาษี คืนมาเลยทำให้มีกำไร หลังจากนั้นเป็นต้นมา ก็ขาดทุนติดต่อกันจนปัจจุบัน และทุกครั้งที่ออกแถลงการณ์ว่า ดำเนินการตามแผนปฏิรูป และมาถูกทางแล้ว แต่ผลที่ปรากฏไม่เห็นอะไรเป็นรูปธรรมเลย ยกเว้นแผนซื้อเครื่องบิน
 

ภาพภูเขาน้ำแข็ง ภาพหนึ่งแสดงให้เห็นความเสียหาย  อีกภาพ แสดงช่วงเวลาที่เกิดขึ้น ความเสียหายเกิดจากนโยบายที่ผิดพลาด จากเหตุผลทางการเมือง และทุจริตเชิงนโยบาย ดังท่านนายกฯได้เคยกล่าวในตอนหนึ่งของการแถลงข่าวที่ทำเนียบรัฐบาลในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบินไทย เมื่อวันที่ 24 พ.ย. 2558 ว่า “จะไปโทษ พนักงานเขาได้อย่างไร ต้องไปโทษผู้บริหาร โทษซีอีโอ และ โทษบอร์ด”

 

กัปตันโยธิน ย้อนวิกฤตใครทำบินไทยขาดทุน ฝากบิ๊กตู่ดูให้ดีๆ ถกคนร.ระวังพวกฉวยโอกาส

 

กัปตันโยธิน ย้อนวิกฤตใครทำบินไทยขาดทุน ฝากบิ๊กตู่ดูให้ดีๆ ถกคนร.ระวังพวกฉวยโอกาส


การระบาดของเชื้อ COVID-19 กระทบกระเทือนแทบทุกธุรกิจ รวมทั้งสายการบิน มิใช่แค่การบินไทย แต่สายการบินทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นสายการบินที่มีฐานะการเงินที่แข็งแกร่ง ทำกำไรมาตลอด แต่ผลกระทบจาก COVID-19  ทุกสายการบินต้องขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลของตน ด้วยเหตุผลนี้เป็นครั้งแรกที่รัฐฯหันมาสนใจปัญหาของการบินไทย อย่างจริงจัง

 

กัปตันโยธิน ย้อนวิกฤตใครทำบินไทยขาดทุน ฝากบิ๊กตู่ดูให้ดีๆ ถกคนร.ระวังพวกฉวยโอกาส

 

ในการประชุม คนร. ในวันที่ 29 เมษายน นี้  จะมีการเสนอแนวทางที่จะฟื้นฟู  บริษัทการบินไทย   แต่มีความเป็นห่วงมากกว่าดีใจ  กลัวว่าพวกที่คอยจ้องจะเอาทรัพย์สิน อันมีค่าของบริษัทฯ เช่น ฝ่ายบริการภาคพื้น  ฝ่ายช่าง  และ ฝ่ายโภชนาการ แยกออกจากการบินไทย  เพราะทั้ง 3 ฝ่ายทำรายได้ให้บริษัทฯปีละ ไม่ต่ำกว่า 14,000 ล้านบาท จะใช้เหตุผลลดขนาดองค์กรลง  แต่หารู้ไม่ว่า กิจการสมทบเป็นธุรกิจสำคัญ  สำหรับการบินไทยที่บินไปต่างประเทศ เพราะมีอำนาจต่อรอง เช่น สายการบินต่างชาติที่บินเข้ามายังไทย  ใช้บริการจากการบินไทย และการบินไทยก็จะใช้บริการของสายการบินนั้น เมื่อบินไปประเทศของเขา

 

เมื่อ 30 ปีที่แล้ว รัฐบาลฯมีมติให้ บริษัทเดินอากาศไทย (บดท.) ควบกิจการกับการบินไทย เพื่อเป็นการสนับสนุนการท่องเที่ยวของประเทศไทย เป็นนโยบายที่ทำให้ธุรกิจการบินภายในประเทศ เติบโต เป็นผลดี แก่ธุรกิจการท่องเที่ยว

 

ไม่ทราบว่าด้วยเหตุผลใดในปี 2555 คณะกรรมการบริษัทการบินไทย มีมติให้จัดตั้ง  สายการบินไทยสมายล์ หลังจากทำการศึกษา (Feasibility study) ว่า สายการบินไทยสมายล์ ในช่วง4ปีแรก คาดการณ์ว่าจะทำกำไร + 7,020 ล้านบาท แต่ผลประกอบการที่แท้จริง กลับขาดทุน -6,075 ล้านบาท ขณะนี้สายการบินไทยสมายล์ มียอดขาดทุนกว่า 8 พันล้านบาท และมีหนี้สิน กว่า 12,000 ล้านบาท

 

เพื่อเป็นการช่วยเหลือ ด้านการตลาดของสายการบินไทยสมายล์  บริษัท การบินไทย รับประกัน จำนวน 90% ของที่นั่งในทุกเที่ยวบินของไทยสมายล์ จึงสมควรแก่เวลาแล้ว ที่จะรวมไทยสมายล์กับการบินไทย เพื่อสนับสนุนการตลาดซึ่งกันและกัน เลิกนโยบาย หนึ่งบริษัท สองมาตรฐาน ดังสิงคโปร์แอร์ไลน์ เอาสายการบินลูก Silk Air เข้ารวมกับ สิงคโปร์ แอร์ไลน์ เพื่อรักษาไว้ซึ่งมาตรฐานของ สิงคโปร์ แอร์ไลน์

 

กัปตันโยธิน ย้อนวิกฤตใครทำบินไทยขาดทุน ฝากบิ๊กตู่ดูให้ดีๆ ถกคนร.ระวังพวกฉวยโอกาส

 

ก็หวังว่า พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ ประธานคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (คนร.)  จะไม่ยอมให้ใครมาฉวยโอกาส ใช้โอกาสนี้เอาของหลวงไปหาประโยชน์ ในขณะที่สายการบินกำลังอยู่ในขั้นวิกฤตจากผลกระทบ COVID-19


นอกจากนี้ กัปตันโยธิน  ยังได้โพสต์เพิ่มเติม  ถึงอีกหนึ่งประเด็นปัญหาภายในบมจ.การบินไทย  ที่บุคลากรทุกคนของ บมจ.การบินไทย อยากเห็นแนวทางการแก้ไขอย่างถูกต้อง และจริงจังในยุครัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ !!  

 

กัปตันโยธิน ย้อนวิกฤตใครทำบินไทยขาดทุน ฝากบิ๊กตู่ดูให้ดีๆ ถกคนร.ระวังพวกฉวยโอกาส