ดร.สามารถ เคลียร์ชัดๆ ฟังขึ้นหรือไม่ ก.คมนาคม ยกเหตุค่าโดยสาร อ้างครม.เบรคขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสีเขียว

ดร. สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และ อดีตรองผู้ว่าฯกทม ชำแหละทุกปมข้อเท็จจริง เหตุคำอ้างกระทรวงคมนาคม ค้านขยายสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว เพราะมีราคาแพงเทียบรถไฟฟ้าสีน้ำเงิน

ดร.สามารถ เคลียร์ชัดๆ ฟังขึ้นหรือไม่ ก.คมนาคม ยกเหตุค่าโดยสาร อ้างครม.เบรคขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสีเขียว

กำลังกลายเป็นประเด็นปัญหาใหญ่ถ้าไม่มีการสะสางให้เกิดความชัดเจน   จากประเด็นปัญหาการหาข้อยุติ เรื่องแผนการขยายอายุสัมปทานการเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวให้กับ  "บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์"    ที่ผ่านมาปีกว่าแล้ว   กลับปรากฎว่า กระทรวงคมนาคม  โดยนายศักดิ์สยาม  ชิดชอบ  ได้ทำหนังสือลงวันที่ 16 พ.ย.2563   ส่งถึงเลขาคณะรัฐมนตรี    เแสดงความเห็นเพิ่มเติมกรณีขอความเห็นชอบผลการเจรจา และเห็นชอบร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสีเขียว  ซึ่งสาระสำคัญของหนังสือฉบับดังกล่าว ก็คือ  การเพิ่มเติมความเห็นจากข้อมูลที่กระทรวงคมนาคม ร่วมพิจารณาให้ความเห็นเกี่ยวกับแผนอนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสีเขียวไปก่อนหน้า อาทิ   เมื่อวันที่ 24 ต.ค. 2562 ,  วันที่ 30 มี.ค. 2563 , วันที่ 9 มิ.ย.2563 และ วันที่ 17 ส.ค. 2563  ตามลำดับ  อ้างหลายเหตุผลจนทำให้กระทรวงมหาดไทย  ต้องถอนเรื่องผลการเจรจาและร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว  ที่เสนอไว้ก่อนหน้าออกไป  ทั้งๆที่ก่อนหน้าทุกฝ่ายได้มีการเจรจาหาข้อยุติประเด็นต่าง ๆ มาเป็นลำดับ โดยเฉพาะเงื่อนไขการต่อสัญญาสัมปทาน

 

ดร.สามารถ เคลียร์ชัดๆ ฟังขึ้นหรือไม่ ก.คมนาคม ยกเหตุค่าโดยสาร อ้างครม.เบรคขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสีเขียว

 

( คลิกอ่านข่าวประกอบ :  เปิดเบื้องหลัง "ศักดิ์สยาม"สุดย้อนแย้ง พลิกลำขวางขยายสัมปทาน รถไฟฟ้าสีเขียว  ผ่านมาปีกว่า"คมนาคม"ทำสะดุดแรง?? )

ล่าสุด ดร. สามารถ ราชพลสิทธิ์  รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และ อดีตรองผู้ว่าฯกทม. ได้โพสต์แสดงความเห็น ประเด็นที่กระทรวงคมนาคม นำมาอ้างเพื่อชะลอแผนอนุมัติ การขยายสัมปทานการเดินรถไฟฟ้าสีเขียว ออกไป  ว่า "เปรียบเทียบค่าโดยสาร BTS - MRT กม.ต่อ กม. ใครแพงกว่า?

เหตุผลหนึ่งที่คมนาคมค้านการขยายสัญญาให้บีทีเอสเพราะค่าโดยสารแพง ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ค้นหาได้จากบทความนี้  ในการประชุม ครม.เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 กระทรวงคมนาคมค้านกระทรวงมหาดไทยที่เสนอให้ขยายสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวให้บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอส ออกไปอีก 30 ปี จากปีที่สิ้นสุดสัญญาสัมปทานคือปี 2572  ถึงปี 2602

 

ดร.สามารถ เคลียร์ชัดๆ ฟังขึ้นหรือไม่ ก.คมนาคม ยกเหตุค่าโดยสาร อ้างครม.เบรคขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสีเขียว

 

ดร.สามารถ เคลียร์ชัดๆ ฟังขึ้นหรือไม่ ก.คมนาคม ยกเหตุค่าโดยสาร อ้างครม.เบรคขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสีเขียว

 

ดร.สามารถ เคลียร์ชัดๆ ฟังขึ้นหรือไม่ ก.คมนาคม ยกเหตุค่าโดยสาร อ้างครม.เบรคขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสีเขียว

รถไฟฟ้าสายสีเขียวอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกรุงเทพมหานคร (กทม.) และ กทม.อยู่ในสังกัดของกระทรวงมหาดไทย การขยายสัมปทานให้บีทีเอสออกไปอีก 30 ปีนั้น กทม.มีเงื่อนไขดังนี้

1. ค่าโดยสารสูงสุดจะต้องไม่เกิน 65 บาท
บีทีเอสจะเก็บค่าโดยสารสูงสุดได้ไม่เกิน 65 บาท ซึ่งเป็นอัตราค่าโดยสารที่ลดลงจากการเก็บตามปกติในอัตราเดิมที่มีค่าโดยสารสูงสุด 158 บาท

2. บีทีเอสจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบภาระหนี้ของ กทม.จากการก่อสร้างส่วนต่อขยายสายสีเขียวช่วงหมอชิต-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ในส่วนของค่าดอกเบี้ยเงินกู้ ค่าจัดหาขบวนรถเพิ่มเติม ค่าติดตั้งระบบสื่อสาร อาณัติสัญญาณ และระบบตั๋ว รวมทั้งค่าจ้างเดินรถค้างจ่าย รวมเป็นเงินกว่า 7 หมื่นล้านบาท

3. บีทีเอสจะต้องแบ่งรายได้จากค่าโดยสารให้ กทม.ตั้งแต่ปี 2572-2602 เป็นเงินกว่า 2 แสนล้านบาท ในส่วนที่เกี่ยวกับค่าโดยสารนั้น กระทรวงคมนาคมมีความเห็นว่าค่าโดยสารของรถไฟฟ้าสายสีเขียวแพงกว่าสายสีน้ำเงิน ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร?

ค่าโดยสารของรถไฟฟ้าสายสีเขียวสูงสุด 65 บาท ระยะทางยาวที่สุด 68.25 กิโลเมตร คิดเป็นค่าโดยสาร 0.95 บาท/กิโลเมตร  เมื่อเปรียบเทียบกับค่าโดยสารของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินซึ่งมีราคาสูงสุด 42 บาท และระยะทางยาวที่สุด 48 กิโลเมตร คิดเป็นค่าโดยสาร 0.88 บาท/กิโลเมตร จะเห็นได้ว่าค่าโดยสารของรถไฟฟ้าสายสีเขียวแพงกว่าสายสีน้ำเงินเพียงแค่ 7 สตางค์/กิโลเมตร เท่านั้น ที่เป็นเช่นนี้เพราะ....

1. รถไฟฟ้าสายสีเขียวเป็นการลงทุนเกือบทั้งหมดโดยบีทีเอส มี กทม.ร่วมลงทุนเป็นส่วนน้อย ทำให้บีทีเอสมีต้นทุนสูง ในขณะที่รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเป็นการลงทุนส่วนใหญ่โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) มีบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีอีเอ็มร่วมลงทุนเป็นส่วนน้อย ทำให้บีอีเอ็มมีต้นทุนต่ำกว่าบีทีเอส

2. บีทีเอสจะต้องแบ่งรายได้จากค่าโดยสารให้ กทม.กว่า 2 แสนล้านบาท แต่บีอีเอ็มไม่ต้องแบ่งรายได้ให้ รฟม. แม้ว่าบีทีเอสเก็บค่าโดยสารแพงกว่าบีอีเอ็ม (เพียงเล็กน้อย) แต่บีทีเอสได้ผลตอบแทนจากการลงทุนน้อยกว่า กล่าวคือบีทีเอสได้ผลตอบแทน 9.6% ในขณะที่บีอีเอ็มได้ผลตอบแทน 9.75% ทั้งนี้ เป็นเพราะบีทีเอสมีต้นทุนสูงกว่าบีอีเอ็ม เนื่องจากภาครัฐร่วมลงทุนกับบีทีเอสน้อยกว่าร่วมลงทุนกับบีอีเอ็ม

ผมเห็นด้วยที่จะทำให้ค่าโดยสารรถไฟฟ้าทุกสายถูกลง ถ้ารัฐมีขีดความสามารถในการร่วมลงทุนมากขึ้น และ/หรือสามารถช่วยเหลือค่าโดยสารให้ผู้โดยสารได้ แต่จะเป็นภาระหนักของรัฐที่จะทำเช่นนั้น  หากกระทรวงคมนาคมมีแนวคิดที่ดีและเป็นไปได้ในการทำค่าโดยสารให้ถูกลงก็น่าจะเสนอออกมา เพื่อช่วยลดค่าครองชีพของพี่น้องประชาชน ถ้าทำได้จริง พี่น้องประชาชนที่ใช้รถไฟฟ้าทุกคนจะปรบมือให้ และร้องไชโยดังๆ เป็นแน่แท้! 

 

ดร.สามารถ เคลียร์ชัดๆ ฟังขึ้นหรือไม่ ก.คมนาคม ยกเหตุค่าโดยสาร อ้างครม.เบรคขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสีเขียว