เส้นทางนักสู้ ไอดอลคนใช้แรงงาน "ไมค์ ภิรมย์พร" กว่าจะถึงฝั่งฝันสู้ยิบตา

ถือว่าเป็นนักร้องขวัญใจคนสู้ชีวิตโดยแท้สำหรับ ไมค์ ภิรมย์พร หรือ พรภิรมย์ พินทะปะกัง ที่ชีวิตถือว่าล้มลุกคลุกคลานมาโดยตลอดตั้งแต่เริ่มตามฝันเส้นทางการเข้ามาเป็นนักร้อง กว่าจะมีวันนี้ได้นั้นถือว่าลำบากมาก วันนี้สำนักข่าวทีนิวส์จะพาทุกท่านไปเจาะลึกเส้นทางชีวิตของนักร้องลูกทุ่งขวัญใจผู้ใช้แรงงานว่ากว่าจะมีวันนี้เขาต้องผ่านอะไรมาบ้างกว่าจะได้อยู่บนดวงดาว 

 

        ถือว่าเป็นนักร้องขวัญใจคนสู้ชีวิตโดยแท้สำหรับ ไมค์ ภิรมย์พร หรือ พรภิรมย์ พินทะปะกัง ที่ชีวิตถือว่าล้มลุกคลุกคลานมาโดยตลอดตั้งแต่เริ่มตามฝันเส้นทางการเข้ามาเป็นนักร้อง กว่าจะมีวันนี้ได้นั้นถือว่าลำบากมาก วันนี้สำนักข่าวทีนิวส์จะพาทุกท่านไปเจาะลึกเส้นทางชีวิตของนักร้องลูกทุ่งขวัญใจผู้ใช้แรงงานว่ากว่าจะมีวันนี้เขาต้องผ่านอะไรมาบ้างกว่าจะได้อยู่บนดวงดาว 

 

เส้นทางนักสู้ ไอดอลคนใช้แรงงาน "ไมค์ ภิรมย์พร" กว่าจะถึงฝั่งฝันสู้ยิบตา

 

           ไมค์  ภิรมย์พร นั้นเกิดในครอบครัวที่มีอาชีพชาวนา ทำไร่ทำสวน และรับจ้างทั่วไปถือว่าเกิดในครอบครัวที่มีฐานะยากจน จนไมค์ ถึงขนาดเคยรับจ้างตัดฟืนขาย เพราะนาที่ทำอยู่นั้นแล้งจนไม่สามารถปลูกข้าวได้จึงต้องออกทำอาชีพเสริม หาเงินมาซื้อข้าวกิน และเจียดส่วนหนึ่งไว้ใช้ในการศึกษาภาคค่ำ ที่ไมค์ นั้นมุ่งมานะเรียน จนจบมัธยมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดอุดรธานี ด้วยความชอบด้านการร้องเพลงของไมค์ ตั้งแต่เด็กบวกกับความใฝ่ฝันอยากจะเป็นนักร้องเมื่อมีงานที่ไหนไมค์ จะต้องขึ้นไปโชว์เสียงร้องเพลงของเขาอยู่ตลอด 

 

เส้นทางนักสู้ ไอดอลคนใช้แรงงาน "ไมค์ ภิรมย์พร" กว่าจะถึงฝั่งฝันสู้ยิบตา

 

           เมื่ออายุได้ 17 ปี ไมค์ ต้องเดินทางเพื่อเข้ามาหางานทำที่กรุงเทพฯ จากสภาพความเป็นอยู่ทางครอบครัวที่ฐานะยากจนประกอบกับเรียนมาน้อยจึงต้องหางานที่ไม่ต้องการใช้วุฒิ คำตอบของไมค์ในตอนนั้นจึงเลือกอาชีพก่อสร้าง แถวบางบอน โดยไมค์ทำอยู่ 3 - 4 เดือน ด้วยความเป็นคนมีอารมณ์ศิลปินจึงชอบขึ้นไปบนดาดฟ้า เป่าขลุ่ยแซวสาวโรงงาน และระบายความเหงากับความคิดถึงบ้าน จากนั้นเมื่องานก่อสร้างเสร็จ ไมค์ จึงเดินทางกลับหันไปทำงานรับจ้าง ทำไร่นากับครอบครัว

 

เส้นทางนักสู้ ไอดอลคนใช้แรงงาน "ไมค์ ภิรมย์พร" กว่าจะถึงฝั่งฝันสู้ยิบตา

 

         แต่จุดพลิกผัน เกิดขึ้นเมื่อไมค์ อายุได้ 23 ปี โดยคราวนี้มาเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของบริษัทแห่งหนึ่ง แถวถนนสุขุมวิท 71 แต่เขาไปพักอยู่กับเพื่อนที่ช่องนนทรี ช่วงที่รองานอยู่นั้น เขาต้องอดมื้อกินมื้อ กินเฉพาะยามที่หิวจริงๆ และอาหารหลักก็คือกล้วย หลังจากนั้นราว 2 อาทิตย์เขาก็ได้งาน ตอนแรกถูกส่งไปประจำที่โรงงานยาแถวลาดกระบัง ซึ่งที่พักกันดารมาก เขาอยู่ได้เดือนกว่า ก็ย้ายมาอยู่ที่นาซ่า ดิสโก้เธค แถวคลองตันซึ่งโด่งดังมากในขณะนั้น โดยทำหน้าที่ตรวจตราความเรียบร้อย และโบกรถอำนวยความสะดวก ในช่วงวันหยุดเขาก็จะรับจ๊อบเป็นเด็กรับรถแขกที่มาเที่ยวนาซ่าด้วย รวมเวลาสำหรับการเป็นยามของเขาก็ประมาณ 7 – 8 เดือน

 

เส้นทางนักสู้ ไอดอลคนใช้แรงงาน "ไมค์ ภิรมย์พร" กว่าจะถึงฝั่งฝันสู้ยิบตา

 

        ระหว่างที่เป็นยาม เขาได้รู้จักกับเจ้าของผับที่เปิดด้านล่างนาซ่า ก็เลยฝากเนื้อฝากตัวขอเป็นเด็กเสิร์ฟ เพื่อให้ได้เข้าใกล้ความฝันเรื่องการเป็นนักร้องของเ ขา เพราะที่นี่เขาได้เจอดารา นักร้องชื่อดัง ที่มาเที่ยวและมาเปิดผับแถวนั้นมากมาย ระหว่างที่เป็นเด็กเสิร์ฟ เขาช่วยดูแลนักดนตรีวง THE JET ที่เล่นอยู่ที่ผับเป็นพิเศษ เลยได้รับความเอ็นดูจากนักดนตรี และวันหนึ่ง จอห์น นูโว กับ โจ นูโว ก็มาติดต่อวงดนตรีของนักดนตรีเหล่านี้ไปเล่นแบ็คอัพให้กับ ใหม่ เจริญปุระ ที่ออกผลงานเพลงชุดแรกชื่อ "ใหม่ ไม้ม้วน" นักดนตรีเหล่านี้ก็เลยชวนเขาไปเป็นเด็กประจำวงด้วย โดยทำหน้าที่หลังเวทีทุกอย่าง ทั้งขนหรือติดตั้งเครื่องดนตรี ซึ่งไมค์ ภิรมย์พร ก็ยินดีที่ได้ร่วมงาน และไม่สนใจเรื่องค่าจ้าง เพราะอยากเข้าไปใกล้วงการบันเทิงอยู่แล้ว เวลาว่างเขาก็ชอบไปยืนดูใหม่ร้องเพลง และฝันอยากจะเป็นเช่นนั้นบ้าง

 

 

เส้นทางนักสู้ ไอดอลคนใช้แรงงาน "ไมค์ ภิรมย์พร" กว่าจะถึงฝั่งฝันสู้ยิบตา

 

        วันหนึ่ง นักดนตรีแนะนำให้รู้จักกับนักจัดรายการคนหนึ่งชื่อ สุพจน์ สุขกลัด ที่เป็นทั้งดีเจ และโปรดิวเซอร์ให้กับสมหมายน้อย ดวงเจริญ หมอลำชื่อดังในสมัยนั้น เขาเลยได้ไปเทสต์เสียง และได้เป็นลูกศิษย์ของสุพจน์ คอยติดสอยห้อยตาม และรับใช้ทั่วไป เช่น รดน้ำต้นไม้และล้างจาน อาจารย์สุพจน์ บอกว่าจะให้เขาบันทึกเสียง แต่หลังจากนั้นไม่นาน อาจารย์ก็ออกจากบริษัทค่ายเทป และหันมาทำร้านอาหาร ไมค์ ภิรมย์พร ก็ตามอาจารย์มาด้วย โดยมาช่วยเสิร์ฟ ต่อมาก็พัฒนามาเป็นกุ๊ก ระหว่างนั้นเขาเคยไปช่วยสมหมายน้อยร้องประสานเสียง และร้องเพลงโฆษณาเตาแก๊สลัคกี้เฟลม กับทำเดโมเอาไว้ชุดหนึ่ง เป็นเพลงที่เขาแต่งเองเพลงหนึ่งกับที่อาจารย์สุพจน์แต่งอีกเพลง

 

     แต่หลังจากอาจารย์สุพจน์ที่ทำร้านอาหารต้องปิดกิจการ ไมค์ ภิรมย์พร ก็ต้องระเหเร่ร่อนอีกครั้งและได้ติดต่อไปยังลูกพี่เก่าซึ่งก็คือ นักดนตรีที่เคยเล่นดนตรีให้ใหม่ เจริญปุระ เพื่อของานทำ เขาก็เลยได้ทำงานเป็นเด็กตักน้ำแข็ง และล้างแก้วอยู่ที่ผับในโรงแรมนารายณ์ และด้วยความขยันทำให้เขาได้เลื่อนตำแหน่งมาเป็นบาร์เทนเดอร์ และได้เป็นหัวหน้าบาร์ในที่สุด ซึ่งที่นี่เขามีโอกาสได้ร้องเพลงโชว์ความสามารถด้วย แต่ต่อมาผับก็ต้องปิดกิจการไป หลังจากเห็นเพื่อนทำงานเป็นพนักงานห้องน้ำ ในผับแห่งหนึ่ง ได้ทิปดีวันละ 2 – 3 พัน เขาก็เลยขอทำบ้าง แต่ทำได้พักหนึ่งผับก็ปิดอีก ไมค์ ภิรมย์พร รู้สึกท้อ เลยอยากทำกิจการของตัวเอง เขาจึงนำเงินที่เก็บไว้มาซื้อรถเข็น โต๊ะ เก้าอี้ เพื่อขายลาบส้มตำ ต่อมาก็ขายลูกชิ้นปิ้งแถวซอยโชคชัย 4 ตรงข้ามโรงพยาบาลสยาม ที่นี่เขาเจอกับการไล่จับของเทศกิจเป็นประจำ

เส้นทางนักสู้ ไอดอลคนใช้แรงงาน "ไมค์ ภิรมย์พร" กว่าจะถึงฝั่งฝันสู้ยิบตา

 

     ต่อมาทราบข่าวว่าทางบริษัทอาร์เอสประกาศรับสมัครนักร้องลูกทุ่ง เขาจึงนำเดโมเทปไปส่ง แต่หลายวันผ่านไป ปรากฏว่าทางบริษัทยังไม่ได้ฟังเดโมของเขา เขาจึงนำมันกลับมา เพื่อหวังนำไปเสนอที่ใหม่ อยู่มาวันหนึ่ง ไมค์ ภิรมย์พร อ่านข่าวบันเทิงในหน้าหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ และเห็นข่าวที่บอกว่าบริษัทแกรมมี่ประกาศลุยตลาดลูกทุ่งเต็มตัว เขาจึงอยากลองสมัครเป็นนักร้อง ก็เลยได้ไปหานักดนตรีที่รู้จักกันให้ช่วยแนะนำให้ ซึ่งก็ได้รับคำแนะนำให้นำเดโมเทปไปให้อาจารย์ จรัล สารีวงษ์ โปรดิวเซอร์ของแกรมมี่ ราว 2 สัปดาห์ เขาก็ถูกเรียกตัวมาเทสต์เสียง ซึ่งเขาก็ทำได้ดี เพราะเทคเดียวผ่าน จากนั้นประมาณครึ่งเดือนต่อมา อ.จรัล ก็โทรบอกว่า เขาอาจจะมีสิทธิ และเมื่อเขามาที่บริษัทก็ได้เซ็นสัญญาเป็นศิลปินลูกทุ่งคนแรกของแกรมมี่

เส้นทางนักสู้ ไอดอลคนใช้แรงงาน "ไมค์ ภิรมย์พร" กว่าจะถึงฝั่งฝันสู้ยิบตา

 

     สำหรับชื่อ ไมค์ ภิรมย์พร นั้น ตอนแรกหลายคนเรียกเขาว่าสมหมาย เพราะเขาชอบร้องเพลงหมอลำของสมหมายน้อย ดวงเจริญ ต่อมาในสมัยที่ทำงานอยู่ที่โรงแรมนารายณ์ การที่เขาชอบเต้น เหมือนไมค์ ไทสัน นักมวยที่กำลังดังในยุคนั้นเต้นฟุตเวิร์ค เขาก็เลยถูกเปลี่ยนมาเรียกว่าไมค์ และในที่สุด ก็กลายเป็นไมค์ ภิรมย์พร โดยสมบูรณ์เมื่อมาอยู่กับแกรมมี่

 

     ไมค์ ภิรมย์พร มีผลงานชุดแรกชื่อ "คันหลังก็ลาว" แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ พอถึงชุดที่ 2  มีเพลงที่เริ่มเป็นที่รู้จักของแฟนเพลงอย่าง ละครชีวิต และเพลงละครชีวิตนี้ ก็เกือบทำให้ไมค์ ภิรมย์พร ได้รับรางวัลพระพิฆเนศทองพระราชทานในฐานะนักร้องยอดเยี่ยมแต่ใน 2 ชุดหลังจากนั้น บริษัทเปลี่ยนแนวให้เขามาร้องหมอลำ เพราะมองว่าเขาน่าจะเข้ากับเพลงแนวสนุกสนาน แต่ปรากฏว่าไม่ประสบความสำเร็จอย่างมาก ในชุดต่อมา เขาจึงต้องเปลี่ยนแนวอีกครั้ง มารับบทนักร้องแนวคนสู้ชีวิต ในเพลง ยาใจคนจน และนั่นก็คือจุดเริ่มต้นความโด่งดัง เป็นที่รู้จักของคนไทยทั่วประเทศ จนถึงทุกวันนี้ ในฐานะนักร้องขวัญใจผู้ใช้แรงงาน

 

 

 

      ปัจจุบัน ไมค์ ภิรมย์พร มีผลงานเดี่ยวเต็มอัลบั้มออกมาแล้ว 20 ชุดด้วยกัน ไม่รวมถึงผลงานชุดพิเศษอีกมากมาย รวมทั้งชุด "รวมเพลงดังสองฝั่งโขง" 2 ชุด และอัลบั้มเพลงประกอบละครนายฮ้อยทมิฬ ทางช่อง 7 สี ที่ไมค์ ภิรมย์พร ได้ร่วมแสดงด้วย  

 

     ในส่วนของรางวัลและผลงานเด่นที่เคยได้รับนั้นประกอบด้วย 

- รางวัลเชียงใหม่ อะวอร์ด ศิลปินดีเด่นระดับประเทศ ประเภทเพลงลูกทุ่ง ครั้งที่ 1

- ปี 2542 รางวัลพระพิฆเนศทองพระราชทาน ครั้งที่ 4 ประเภทผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งชายยอดนิยมจากเพลงยาใจคนจน

- ปี 2545 โล่เกียรติยศพระราชทาน จากพระเจ้าวรวงค์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลีฯ เป็นบุคคลตัวอย่างในด้านการอนุรักษ์และรณรงค์สวมใส่ผ้าไทย ในงาน " มหกรรมผ้าไทย เทิดไท้องค์ราชินี " จัดโดยกระทรวงมหาดไทย

- ปี 2545 รางวัลพระพิฆเนศทองพระราชทาน ครั้งที่ 5 ประเภทผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งชาย ยอดเยี่ยมจาก…เพลงนักสู้ ม. 3

- เพลง ด้วยแรงแห่งรัก ได้รับรางวัลเพลงยอดเยี่ยมมาลัยทอง 2545

- รางวัลศิลปินคุณธรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนา ประจำปี 2546 ในฐานะพุทธศาสนิกชนที่ดีและเป็นผู้บำเพ็ญตนอยู่ในแนวศีล 5 จัดโดยสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

- รางวัลบุคคลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเยาวชน สาขาสื่อมวลชนเพื่อเด็กและเยาวชนที่ป้องกัน ปัญหาสังคม ประจำปี 2546 จากสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็กเยาวชนผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ โดยคณะกรรมการส่งเสริม
และประสานงานเยาวชนแห่งชาติ (สยช.)

- เพลง "อยากให้เธอเข้าใจ "ได้รับรางวัล " คำร้องยอดเยี่ยม" , " ผสมเสียงยอดเยี่ยม "   จากงานประกาศรางวัลมาลัยทอง ครั้งที่ 4 จากลูกทุ่งเอฟเอ็ม ประจำปี 2546

- ปี 2547 ได้รางวัลศิลปินรุ่นใหม่ที่มียอดจำหน่ายสูงสุดในช่วง 10 ปี

- ปี 2547 ได้รับคัดเลือกจากสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้ร้องเพลง " ผู้แทนคนดี " เป็นการรณรงค์การเลือกตั้งเวอร์ชั่นลูกทุ่ง

- ปี 2548 ได้รางวัลมาลัยทอง ประเภทนักร้องชายยอดเยี่ยม

 

เส้นทางนักสู้ ไอดอลคนใช้แรงงาน "ไมค์ ภิรมย์พร" กว่าจะถึงฝั่งฝันสู้ยิบตา

 

      ด้านชีวิตครอบครัวของไมค์ นั้นมีลูกสาวอยู่ 3 คน คือ น้องเมย์ -  เมย์วดี พินทะปะกัง น้องแกรมมี่ - กาญจนา พินทะปะกัง และน้องมิ้ว - พรพิมล พินทะปะกัง โดยลูกของไมค์แต่ละคนจัดว่าเป็น 3 ใบเถาที่สวยสมวัยมากๆ แต่สิ่งหนึ่งที่อดพูดถึงไม่ได้กับน้องเมย์ และน้องแกรมมี่ ที่เรียนจบ ม. 3 แล้วเดินทางไปเรียนต่อที่ประเทศแคนดา ซึ่งถึงแม้ว่าจะมีคุณพ่ออย่างไมค์คอยส่งเสียให้เรียนแต่น้องทั้งสองก็ยังหารายได้พิเศษจากที่นั่น ด้วยการไปเป็นลูกจ้างเสิร์ฟ ล้างจานในร้านอาหาร เพื่อเป็นทุนในการซื้อของที่ตนอยากได้นอกเหนือจากเงินที่ไมค์ ส่งเสีย 

 

เส้นทางนักสู้ ไอดอลคนใช้แรงงาน "ไมค์ ภิรมย์พร" กว่าจะถึงฝั่งฝันสู้ยิบตา

 

ไมค์ ถือเป็นหนึ่งบุคคลแรงบันดาลใจในการสู้ชีวิตให้ผู้ใช้แรงงานหลายคนได้รับรู้ว่า แม้จะล้มสักกี่ครั้งก็ไม่สามารถทำอะไรเราได้หากเรา ลุกขึ้นสู้อย่างเต็มกำลังตามฝัน "ไมค์ ภิรมย์พร"

 

ขอขอบคุณ mitrmike  ,  mike_pirompron