ก้าวคนละก้าวเริ่มท้อ หลังโดนด่าวิ่งเรี่ยไรเงิน

เรียกได้ว่า โครงการก้าวคนละก้าว เกิดขึ้นมา จากพี่ตูนย์ บอดี้สแลม พร้อมทีมงานก้าว ที่อยากจะช่วยเหลือโรงพยาบาลที่ยังขาดแคลนปอุปกรณ์ทางการแพทย์ เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2559  ตูน บอดี้ สแลม พร้อมคณะ จึงได้ ออกวิ่งระดมทุนจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย กทม. ไปยังโรงพยาบาลบางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ รวมระยะทาง 400 กิโลเมตร ระดมทุนจากคนไทยทุกคนที่ร่วมกันบริจาค เพื่อช่วยเหลือโรงพยาบาลบางสะพาน ซึ่งในตอนนั้นได้มีการบริจาคเงินให้แก่โรงพยาบาลทั้งสิ้น 85 ล้านบาท

ก้าวคนละก้าวเริ่มท้อ หลังโดนด่าวิ่งเรี่ยไรเงิน

ก้าวคนละก้าวเริ่มท้อ หลังโดนด่าวิ่งเรี่ยไรเงิน

โดยทีมงานก้าวคนละก้าววิ้งจากใต้สุด ขึ้นไปยัง เหนือสุดแดนสยาม ทีมงานเริ่มสตาร์ทวันแรก 25 ธันวาคม 2560 ซึ่งตรงกับวันคริสมาสน์พอดิบพอดี รวมระยะเวลา 55 วัน ระยะทาง 2,191 กิโลเมตร จำนวนเงินบริจาคที่ "ตูน" โดยได้แรงศรัทธาจากประชาชนทุกจังหวัด ที่ร่วมกันบริจาคเงิน ซึ่งทางตูน บอดี้สแลมพร้อมทีมงาน ขอให้ประชาชนร่วมบริจาคเพียงคนละ 10 บาท เท่านั้น

แต่ว่าล่าสุด กลับมีดราม่าเกิดขึ้น เมื่อ ทีมงานตูน บอดี้สแลม หรือที่เรารู้จักกันดี ก็คือคุณเบล ที่จะคอยบรรยายการวิ่งตลอดเส้นทาง และยิงมุขตลกๆให้เกิดสีสันในการ live สดในเพจทุกครั้ง ได้ออกมาโพสต์ข้อความผ่านเฟสบุค "chaichan baimongkol"

ก้าวคนละก้าวเริ่มท้อ หลังโดนด่าวิ่งเรี่ยไรเงิน

ก้าวคนละก้าวเริ่มท้อ หลังโดนด่าวิ่งเรี่ยไรเงิน

 

"คนเขาก็ไม่ได้เห็นด้วยกับเรากันทุกคน" เป็นสิ่งหนึ่งที่ผมหนักใจมาตลอด

เราคิดว่าด้วยการทำงานตลอด 3 ปีที่ผ่านมา น่าจะแสดงจุดยืนที่ขัดเจนของ "ก้าว"

ได้เป็นอย่างดี แต่ก็ยังคงมีประโยค มีคำพูดที่ทิ่มแทงความรู้สึก

ให้ได้ยิน ได้อ่านอยู่เป็นระยะๆ

"พวกคุณมันไร้เดียงสา"

"นี่มันไม่ใช่ทางแก้ปัญหาที่ถูกต้อง"

"เป็นเครื่องมือของกลุ่มการเมือง"

"เมื่อก่อนโอเคนะ...ตอนนี้ไม่ชอบแล้ว"

"มาเอาเงินคนจนทำไม? ทำไมไม่ไปเอาจากคนรวยๆ"

 

เฮ่อ...

 

ที่ทำงานกันตัวเป็นเกลียวหัวเป็นน๊อตเนี่ย

ไม่ใช่เพื่อใครคนใดคนหนึ่งเลย

และคนที่ได้ประโยชน์ก็คือประชาชนทุกๆ คน

ที่มีความจำเป็นต้องใช้บริการของโรงพยาบาลรัฐ

ผมอยากชวนคิดว่า ถ้าเราใช้บริการ

รพ. รัฐ โดยจ่ายเงินให้ รพ. หลักสิบ

ทั้งๆ ที่ค่ารักษามัน หลักพันหลักหมื่น

รพ. เขาจะเอาเงินที่ไหน มาพัฒนาศักยภาพ?

มันไม่ใช่เรื่องว่า งบของรัฐไปไหน?

มันเป็นเรื่องว่า งบเหล่านั้นถูกจ่ายมาอยู่ในรูปแบบของ

ค่ารักษาพยาบาลให้พวกเราทุกคนต่างหาก...

มันก็เตี้ยอุ้มค่อมกันอย่างนี้ถ้าอยากจะหาเครื่องมือเพิ่ม โรงพยาบาลต้องทำยังไง?

1. ทำห้องพิเศษที่คนมีตังสามารถจ่ายได้แลกกับความสะดวกสบายที่มากขึ้น (ซึ่งก็ต้องมีเงินทุนก้อนใหญ่)

2. ไปกราบขอพระอาจารย์ตามวัดวาให้มาทำผ้าป่าให้ ซึ่งขึ้นอยู่กับพื้นที่ เพราะมันเป็นกิจกรรมท้องถิ่น...แถวไหนเงินเยอะก็ได้หลายล้าน ถ้าอยู่ไกลเมืองชาวบ้านไม่ค่อยมีเงินก็ได้หลักหมื่น แล้วถ้าขาดหลักสิบล้านจะต้องทำยังไง?

การมีอยู่ของ "ก้าว" นั้นเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการช่วย

"เสริม" และช่วยโรงพยาบาล "ย่นเวลา" ในการหาเงินมา เพื่อพัฒนาศักยภาพโรงพยาบาล และช่วยชีวิตคนในกรณีเร่งด่วน

 

โดยใช้เสียงเล็กๆ ที่เรามีในการบอกต่อ

ในการกระจายข่าว...ให้ทุกๆ คนได้เห็นปัญหา

ที่พวกเราสามารถช่วยกันได้

ด้วยเงินเล็กๆ น้อยๆ ของทุกคน

ไม่บริจาค ไม่มีปัญหา

แค่คุณออกไป เดิน ไปวิ่ง

ดูแลสุขภาพของตัวเองให้ดี

ลดโควต้าการไปใช้บริการโรงพยาบาล 1 คน

ก็เท่ากับลดคิวตรวจที่รอกันทุกเช้าได้อีก 1 คิว

ไม่เห็นด้วย...คิดว่ามันไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้อง

ไม่เป็นไรเลยผมเข้าใจว่าความคิดเห็นย่อมต้องมีความแตกต่าง

เข้าใจที่ไม่เห็นด้วย และผมเชื่อว่าทุกๆ คน

สามารถมองเห็นวิธีการแก้ปัญหาที่แตกต่างกันออกไป

ก้าวคนละก้าวเริ่มท้อ หลังโดนด่าวิ่งเรี่ยไรเงิน

ก้าวคนละก้าวเริ่มท้อ หลังโดนด่าวิ่งเรี่ยไรเงิน

ก้าวคนละก้าวเริ่มท้อ หลังโดนด่าวิ่งเรี่ยไรเงิน

 

ก้าวคนละก้าวเริ่มท้อ หลังโดนด่าวิ่งเรี่ยไรเงิน

พวกเราแค่เป็นกลุ่มหนึ่งที่อยาก "ลอง" ทำ

ในวิธีของตัวเอง วิธีที่เราคิดค้นมันขึ้นมา และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า

มันจะไม่ไปรบกวนอะไรใครมากมาย เงินบริจาคเพียงคนละ 10 บาท

แต่สามารถส่งผล ให้โรงพยาบาลแถวบ้านเรา ได้มีอุปกรณ์ดีๆ แพงๆที่คนทั่วไป

สามารถเข้าถึงและใช้บริการได้ รวมถึงส่งแรงดันเบาๆ ให้คนไทยหลายคน

ออกมาดูแลรักษาสุขภาพของตัวเองมากขึ้น

หรือแค่ช่วยชีวิตคนได้อีก 1 คนก็คุ้มมากแล้ว ถึงแม้ว่ายังมีเสียงต่อว่าโจมตี

โดยที่ไม่พยายามทำความเข้าใจหรือหาข้อมูลใดๆ

ก่อนด่าก่อน...และด่าแบบคอนทินิว

แทบทุกข่าวเป็นข่าวเต้า ข่าวกุ

ในแบบที่ทำลายพลังใจกันถึงที่สุด

แล้วดันมีคนที่เชื่อด้วย... บอกตรงๆ ว่าผมโคตรเสียใจเลย

ทำไมคนเหล่านั้นถึงคิดเป็นอื่น?

ผมจะเล่าให้ฟังว่า บางโรงพยาบาลที่เราไป มีเครื่องกระตุกหัวใจ (AED)

แค่เครื่องเดียว แต่ถ้าเกิดเหตุฉุกเฉินพร้อมกัน 2 ราย

จะให้หมอกระตุกใครก่อนดี?

แล้วถ้าคนที่จำเป็นต้องใช้เครื่องนี้ เป็น พ่อ แม่ พี่น้องเราล่ะ

เราจะยอมให้เขารักษาคนอื่นก่อนไหม? ถ้ามันมีเครื่องหรืออุปกรณ์ที่เพียงพอ

มันจะดีกว่าไหม? ถามว่าผมเคยเอาเรื่องหรือข้อความหนักใจนี้

ไปปรึกษาพี่ตูนไหม?

เคย...

แกถอนหายใจหนัก...นิ่งเงียบไปนาน แล้วหันมาบอกผมสั้นๆว่า

"ให้การทำงานของเราเป็นคำตอบก็แล้วกันครับ" ผมเชื่อว่าในคำตอบสั้นๆ นั้น

แบกรับความรู้สึกเอาไว้มากมาย แต่การปวรณาตนเข้ามาทำงานเพื่อสังคมนั้น

เมื่อเจอแรงต้าน...ก็ต้องอดทน และมุ่งมั่นทำในสิ่งที่ตนเชื่อต่อไป แม้ว่าหลายคนอาจยังไม่เห็นภาพ

ถามว่าคนอย่างเขาไร้เดียงสาหรือไม่?

คนที่วิ่งด้วยสองเท้า ผ่านเส้นทางเบตง-แม่สาย

ผ่านความยากลำบากมาหลากหลายรูปแบบ

ผ่านความทุกข์ทรมาน และการต้องใช้จิตใจเอาชนะร่างกาย ในทุกเช้าค่ำ

ถึงจะล้มกี่ครั้ง...ก็ลุกขึ้นมาได้ใหม่ จนกระทั่งเข้าเส้นชัยไปถึงจุดหมาย

ระดมทุนได้ก้อนใหญ่ให้รพ.หลายแห่ง

แต่ก็ยังไม่ยอมหยุดวิ่ง...

ทั้งๆ ที่คนรอบข้างหรือใครๆ หลายคนบอกว่า

พอก็ได้...คุณทำมามากพอแล้ว

แต่ในหูของเขาก็ยังได้ยินเสียงร้องขอความช่วยเหลือ

อยู่ตลอด...

เขาจึงออกมาวิ่งอีกครั้ง ผมไม่คิดว่ามันคือความไร้เดียงสา

แต่ผมคิดว่า เขารักพวกคุณมาก มากพอที่จะผลักดันให้เขาวิ่งต่อไปเรื่อยๆ

และจะไม่หยุดวิ่งจนกว่าจะหมดแรง ผมวิงวอนว่าถ้าพวกเราเห็นด้วย

ช่วยเป็นพลังใจให้เขากันหน่อยครับ จะไปร่วมวิ่งกับเขาที่ขอนแก่นก็ได้

สมัครวิ่งได้ที่ www.kaokonlakao.run

(ค่าสมัคร 200 บาททำบุญ รพ.ชุมชนอีสานทั้งหมด)

หรือจะบริจาคตรงตามช่องทางต่างๆ ที่เพจก้าวประชาสัมพันธ์ไว้ก็ได้

หรือจะช่วยแชร์ ข้อมูลต่างๆ ของโครงการก้าวก็ได้ ให้งานและการกระทำของพวกเรา

ได้เป็นคำตอบแก่ผู้ที่สงสัย หรือผู้ที่ยังไม่เข้าใจในสิ่งที่พวกเราทำจริงๆ

ถึงท้อก็ไม่เคยถอยครับ

#เบลล่าคนดี

โดยในเดือนมิถุนายน ตูน บอดี้สแลม พร้อมทีมงานก้าว จะเริ่มวิ่งในภาคอีสาน หนองคาย-ขอนแก่น ระยะทาง 176 กิโลเมตร

ขอบคุณภาพ : เพจก้าวคนละก้าว,chaichan baimongkol