เมฆ วินัย ไกรบุตร ไลฟ์สดพูดถึงอาการป่วยของตนเอง ที่ใกล้จะหายดี

  กรณี เมฆ วินัย ไกรบุตร  นักเเสดงคนดังเมืองไทย ได้มีอาการป่วยเป็นโรคตุ่มน้ำพอง  เป็นโรคผิวหนังเรื้อรังที่พบได้ไม่บ่อย แต่ก็ไม่ใช่โรคหายาก สาเหตุเกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันที่มาทำลายโครงสร้างที่ทำหน้าที่ยึดเซลล์ผิวหนัง ทำให้ผิวหนังหลุดออกจากกันกลายเป็นตุ่มน้ำและแผลถลอก รอยโรคสามารถพบได้ทั้งผิวหนังและเยื่อบุ ซึ่งเจ้าตัวได้นอนพัก ทำการรักษาอยู่ที่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เเละอาการก็ดีขึ้นเป็นลำดับ (คลิป)


   วินัย ไกรบุตร  ไลฟ์สดเปิดใจ ผมจะกลับบ้าน (คลิป)

 

   ความคืบหน้าอาการของ ของเมฆ วินัย ไกรบุตร นักแสดงชื่อดังป่วยเป็นโรคตุ่มน้ำพอง ต้องนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล เมื่อวันที่ 8 ก.ค.เมฆ-วินัย ไกรบุตร ได้โพสต์ข้อความความคืบหน้าเกี่ยวกับอาการว่า....

.

ทีมหมอ อาจารย์ประวิตร อัสวรนนท์ พร้อมที่จะปรับยากิน แทนยาฉีด เนื่องจาก ทุกอย่างเริ่มดีขึ้น แผลเริ่มแห้ง ตุ่มลด ลดลงเกือบร้อยละ 90  ทุกอย่างดีขึ้นตามลำดับ ขอบคุณครับ ขอบคุณทุกพลังใจ พลังศรัทธา ของทุกคนที่มีเสมอมาครับ ภายหลังจากที่ได้มีการโพสต์ข้อความดังกล่าวออกไป ได้มีแฟนคลับเข้ามาแสดงความยินดีเป็นจำนวนมาก พร้อมอวยพรให้หายเร็วๆจะได้วิ่งออกกำลังกายอีกครั้ง

วินัย ไกรบุตร  ไลฟ์สดเปิดใจ ผมจะกลับบ้าน (คลิป)

 

 เเละล่าสุดในวันนี้  9ก.ค62 นั้น ทางเฟซบุ๊คของ วินัย ไกรบุตร ก็ได้มีความเคลื่อนไหว ซึ่งเจ้าตัวได้ไลฟ์สด เผยถึงเรื่องของ อาการที่ดีขึ้นมากเเล้ว ใกล้จะได้กลับบ้าน....

 

วินัย ไกรบุตร  ไลฟ์สดเปิดใจ ผมจะกลับบ้าน (คลิป)

 

 

ใกล้ถึงเวลากลับบ้าน คิดถึงบ้าน คิดถึงลูกและภรรยา

ผมคิดว่า อาการดีขึ้นมากตามลำดับ จะได้กลับบ้านเสียที

ขอบคุณครับทุกคน ทุกกำลังใจ อีกไปนาน ผมจะกลับบ้าน

สิ่งแรกที่หายดี จะไปกราบขอโทษแม่ ลูกหลอกแม่มานาน

กลัวแม่จะรับไม่ไหว รักแม่ครับ

 

วินัย ไกรบุตร  ไลฟ์สดเปิดใจ ผมจะกลับบ้าน (คลิป)

.

วินัย ไกรบุตร  ไลฟ์สดเปิดใจ ผมจะกลับบ้าน (คลิป)

 

 

 

 

วินัย ไกรบุตร  ไลฟ์สดเปิดใจ ผมจะกลับบ้าน (คลิป)

 

 


 ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2562 ที่ห้องประชุม 1210 อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ศ.นพ.สุเทพ กลชาญวิทย์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ฝ่ายการแพทย์และวิจัย พร้อมด้วย ศ.ดร.นพ.ประวิตร อัศวานนท์ หัวหน้าสาขาวิชาตจวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และฝ่ายอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย นางสาวเฉลาศรี เสงี่ยม หัวหน้าพยาบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์  และนายหัฒศนัย (วินัย) ไกรบุตร ผู้ป่วย ร่วมแถลงการรักษาอาการป่วยอย่างเป็นทางการ

 

วินัย ไกรบุตร  ไลฟ์สดเปิดใจ ผมจะกลับบ้าน (คลิป)

 

 

  ศ.ดร.นพ.ประวิตร อัศวานนท์ กล่าวว่า โรคผิวหนังมีจำนวนหลายพันโรค เพราะผิวหนังเป็นอวัยวะที่อยู่ภายนอก เมื่อเกิดผื่น ตุ่ม ฝี หรือมีร่องรอยต่างๆ มักจะเห็นได้ง่าย จึงทำให้มีการตั้งชื่อโรคผิวหนังต่างๆ มากมาย บางชื่ออาจไม่เป็นที่คุ้นหูมากนักสำหรับคนไทย อาทิ เพมฟิกอยด์ ทำให้เข้าใจว่าเป็นโรคใหม่ ทั้งๆ ที่จริงมีมานานแล้ว ร่างกายของแต่ละคนมักมีโอกาสทำงานผิดปกติ โดยที่ตนเองไม่รู้ตัว อาจเนื่องมาจากสาเหตุที่ระบบอื่นๆ ในร่างกายเข้ามาจัดการควบคุมดูแลกันเอง ทำให้ไม่มีอาการแสดงออกมา ภูมิต้านทานของคนเรานั้นมีหน้าที่คอยต่อสู้กับเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม และมะเร็ง แต่บางครั้งภูมิต้านทานเหล่านี้ก็จำผิด เลยกลับมาทำอันตรายอวัยวะของตนเอง ทำให้เกิดโรคแพ้ภูมิตัวเองขึ้น

 

 

วินัย ไกรบุตร  ไลฟ์สดเปิดใจ ผมจะกลับบ้าน (คลิป)

 

ในส่วนของโรคตุ่มน้ำพอง เป็นโรคผิวหนังเรื้อรังที่พบได้ไม่บ่อย แต่ก็ไม่ใช่โรคหายาก สาเหตุเกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันที่มาทำลายโครงสร้างที่ทำหน้าที่ยึดเซลล์ผิวหนัง ทำให้ผิวหนังหลุดออกจากกันกลายเป็นตุ่มน้ำและแผลถลอก รอยโรคสามารถพบได้ทั้งผิวหนังและเยื่อบุ โรคที่พบบ่อยมี 2 กลุ่ม ได้แก่ โรคเพมฟิกัส และโรคเพมฟิกอยด์

.

โรคเพมฟิกัส มักพบในช่วงอายุ 50-60 ปี มีความผิดปกติที่ชั้นผิวหนังกำพร้า จะเกิดในผิวหนังชั้นตื้นกว่า แต่อาจกินบริเวณกว้าง ผู้ป่วยจึงมีแผลเสมือนถูกน้ำร้อนลวกเป็นบริเวณกว้าง และผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีแผลถลอกในช่องปากร่วมด้วย มีอาการเจ็บ และอาจพบแผลถลอกที่เยื่อบุบริเวณอื่นได้ เช่น ทางเดินหายใจ เยื่อบุช่องคลอดและอวัยวะเพศ ที่ผิวหนังมีลักษณะเป็นตุ่มน้ำ แตกได้ง่าย กลายเป็นแผลถลอก มีอาการปวดแสบมาก เมื่อแผลหายมักทิ้งรอยดำโดยไม่เป็นแผลเป็น

 

วินัย ไกรบุตร  ไลฟ์สดเปิดใจ ผมจะกลับบ้าน (คลิป)

 

 

 

สำหรับโรคตุ่มน้ำพอง มักต้องอาศัยการตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยาร่วมกับการตรวจทางอิมมูนเรืองแสงในการวินิจฉัยโรคด้วย ยาที่ใช้รักษาเป็นหลักคือ ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์และยากดภูมิคุ้มกัน ในโรคเพมฟิกอยด์ที่มีอาการไม่รุนแรง อาจใช้ยาทาคอร์ติโคสเตียรอยด์หรือยากลุ่มที่ไม่ใช่ยากดภูมิคุ้มกัน ในรายที่ตุ่มน้ำหรือแผลถลอกมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน อาจจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วย 

 

 

วินัย ไกรบุตร  ไลฟ์สดเปิดใจ ผมจะกลับบ้าน (คลิป)

 

 

 

โรคตุ่มน้ำพอง มีการดำเนินโรคค่อนข้างเรื้อรังเป็นเวลาหลายเดือนหรือหลายปี หลังจากโรคสงบแล้วอาจเป็นซ้ำได้ ในกรณีที่สงสัยว่าจะเป็นโรคตุ่มน้ำพอง แนะนำให้รีบไปพบแพทย์เพื่อจะได้รับการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้อง ซึ่งจะช่วยลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรค

 

 

ขอบคุณ

วินัย ไกรบุตร