ย้อนรอยหาคำตอบ ใครอยู่เบื้องหลัง รัฐประหารตุรกี  (บทความ)

การรัฐประหารของตุรกี ครั้งนี้ ถึงขณะนี้เริ่มที่จะมีลับ ลวง พลาง ว่า ท้ายที่สุดแล้ว เกิดการรัฐประหารจริงหรือไม่ หรือว่ารัฐบาลตุรกี ตั้งใจทำเรื่องนี้ขึ้นมา เพื่อจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วป้ายความผ

กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐออกประกาศเตือนภัยชาวอเมริกันให้พิจารณาทบทวนการเดินทางเยือนตุรกีในระยะนี้ อันเนื่องมาจากสถานการณ์รุนแรงที่ยังคงมีแนวโน้มเกิดขึ้น แม้รัฐบาลตุรกี สามารถขัดขวางความพยายามก่อการรัฐประหารของทหารกลุ่มหนึ่งเอาไว้ได้ เมื่อวันที่ 15 ก.ค. ที่ผ่านมา

 

รัฐบาลสหรัฐยังออกคำสั่งจำกัดการเดินทางของเจ้าหน้าที่ซึ่งกำลังปฏิบัติหน้าที่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงใต้ของตุรกี โดยเฉพาะที่ฐานทัพอากาศอินเซอร์ลิคซึ่งกำลังถูกปิดล้อมจากการตัดระบบสาธารณูปโภคและการปิดน่านฟ้าเหนือฐานทัพ ด้านสายการบินสัญชาติอเมริกันทุกแห่งระงับให้บริการในเส้นทางเข้าออกระหว่างตุรกีเป็นการชั่วคราวเช่นเดียวกับสายการบินชั้นนำของโลกอีกหลายแห่ง

 

ความเคลื่อนไหวดังกล่าวของรัฐบาลสหรัฐมีขึ้นหลังประธานาธิบดีเรเซป เทย์ยิป เออร์โดกัน ประกาศชัยชนะเหนือกลุ่มทหารที่พยายามก่อการรัฐประหารเมื่อคืนวันศุกร์ ซึ่งเป็นสถานการณ์นองเลือดที่มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 265 ศพ ภายในเวลายังไม่ถึง 24 ชั่วโมง โดยในจำนวนนี้ 104 ศพเป็นทหารที่ร่วมก่อเหตุ และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกราว 1,440 คน ขณะเดียวกันยังมีทหารถูจับกุมอีกเกือบ 3,000 นาย และผู้พิพากษาอีกราว 2,700 คนถูกปลดออกจากตำแหน่ง

 

ทั้งนี้ เออร์โดกันประณาม คนแดนไกล และคู่ปรับตลอดกาลคือนายเฟตฮุลเลาะห์ กูเลน นักการศาสนาและนักวิจารณ์การเมืองซึ่งกำลังลี้ภัยอยู่ในสหรัฐว่าอยู่เบื้องหลังความพยายามยึดอำนาจในครั้งนี้ โดยได้รับความสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐ และเรียกร้องให้มีการส่งตัวกูเลนกลับมาดำเนินคดีตามกฎหมายในตุรกี ขณะที่นายจอห์น แคร์รี รมว.กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ ปฏิเสธคำกล่าวของเออร์โดกันว่าไม่มีมูลความจริง พร้อมทั้งเตือนเรื่องความสัมพันธ์ที่อาจได้รับผลกระทบ โดยสำหรับประเด็นของกูเลนแคร์รียืนยันรัฐบาลสหรัฐ จะเนรเทศในฐานะผู้ร้ายข้ามแดนให้อย่างแน่นอน แต่เออร์โดกันต้องแสดงหลักฐานก่อนว่า กูเลนมีส่วนเกี่ยวข้องกับความพยายามยึดอำนาจในครั้งนี้จริง

ย้อนรอยหาคำตอบ ใครอยู่เบื้องหลัง รัฐประหารตุรกี  (บทความ)

ด้านทางสำนักข่าวเอเอฟพีรายงานจากนครอิสตันบูล ประเทศตุรกี เมื่อวันที่ 17 ก.ค. โดยอ้างรายงานจากสื่อท้องถิ่นหลายแห่งนำโดยหนังสือพิมพ์ชื่อดัง คุมฮูร์ริเยต์ ว่าเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงของตุรกีปฏิบัติการจู่โจมเข้าจับกุมพล.อ.จ. เบเคียร์ เออร์แคน แวน พร้อมทหารยศต่ำลงมาอีกหลายสิบนาย เมื่อวันเสาร์ โดยทหารทั้งหมดหลบซ่อนตัวอยู่ภายในฐานทัพอากาศอินเซอร์ลิคของสหรัฐ ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดอาดานา ริมชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตอนใต้ของตุรกี 

คุมฮูร์ริเยต์รายงานว่า พล.อ.จ.แวนและพรรคพวกต้องสงสัยเข้าร่วมวางแผนก่อการรัฐประหารเพื่อล้มอำนาจประธานาธิบดีเรเซป เทย์ยิป เออร์โดกัน โดยลงมือก่อการเมื่อคืนวันศุกร์แต่ปฏิบัติการล้มเหลวบนสถานการณ์ที่บานปลายเป็นเหตุนองเลือด มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 265 ศพภายในระยะเวลาไม่ถึง 24 ชั่วโมง ในจำนวนนี้รวมถึงทหารกบฏ 104 ศพ อีกทั้งยังมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกราว 1,440 คน

 

ทั้งนี้ เออร์โดกันเชื่อว่านายเฟตฮุลเลาะห์ กูเลน นักการศาสนาและนักวิจารณ์การเมืองซึ่งเป็นศัตรูตลอดกาล อยู่เบื้องหลังความพยายามยึดอำนาจครั้งนี้ และเรียกร้องให้สหรัฐเนรเทศกูเลนที่ลี้ภัยอยู่ในประเทศมาตั้งแต่ปี 2542 กลับมารับโทษที่ตุรกี นอกจากนี้ ผู้นำตุรกียังสงสัยว่าฐานทัพอากาศอินเซอร์ลิคเป็นสถานที่วางแผนและรวบรวมขุมกำลังในการก่อเหตุครั้งนี้ จึงมีคำสั่งตัดระบบสาธารณูปโภคทั้งหมดภายในฐานทัพ และปิดเส้นทางการจราจรทางบกและทางอากาศรอบบริเวณ

 

ขณะเดียวกัน สำนักข่าวอนาโดลูของทางการตุรกี รายงานว่าศาลอนุมัติการออกหมายควบคุมตัวผู้พิพากษาเพิ่มอีก 53 คน และทหารอีก 52 นาย ฐานมีส่วนพัวพันกับความพยายามก่อการรัฐประหารในครั้งนี้ จากเดิมที่มีการควบคุมตัวทหารไปแล้วเกือบ 3,000 นาย และผู้พิพากษาอีกราว 2,700 คน

 

ทางการตุรกีจับกุม พล.อ.เออร์ดาล ออซเติร์ก ผู้บัญชาการกองทัพภาคที่ 3 กองทัพบกตุรกี เมื่อวันเสาร์ ตามข้อกล่าวหามีส่วนเกี่ยวพันกับความพยายามก่อรัฐประหาร ยึดอำนาจจากรัฐบาลของประธานาธิบดีเรเซป เทย์ยิป เออร์โดกัน เมื่อคืนวันศุกร์ แต่ล้มเหลว

    เจ้าหน้าที่ตุรกี กล่าวว่า พล.อ.ออซเติร์ก ผบ.กองทัพภาคที่ 3 ซึ่งมีกองบัญชาการอยู่ในเมืองอิสตันบูล มีส่วนเกี่ยวพันกับการวางแผน และจะถูกนำตัวฟ้องศาลดำเนินคดีในข้อหากบฏ

    ทางด้าน นายจอห์น แคร์รี รมว.ต่างประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวในระหว่างการเยือนประเทศลักเซมเบิร์ก เมื่อวันเสาร์ ว่า รัฐบาลสหรัฐมีความยินดี หากทางการตุรกีมีคำร้องขอให้เนรเทศ นายเฟตฮุลเลาะห์ กูเลน นักการศาสนาชื่อดังชาวตุรกี ที่ลี้ภัยอยู่ในสหรัฐ และถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวพันกับความพยายามก่อรัฐประหารในตุรกี แต่รัฐบาลตุรกีต้องพิสูจน์ให้เห็นชัดว่า นายกูเลนมีส่วนเกี่ยวข้องจริง

กูเลนวัย 75 ปี เป็นนักการศาสนา นักเขียนและนักวิจารณ์การเมืองชื่อดัง ลี้ภัยอยู่ที่รัฐเพนซิลเวเนียของสหรัฐตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 และถูกรัฐบาลตุรกีกล่าวหาว่าเป็น "คนแดนไกล" ที่อยู่เบื้องหลังความพยายามก่อรัฐประหารยึดอำนาจประธานาธิบดีเรเซป เทย์ยิป เออร์โดกัน ของตุรกีในครั้งนี้

    นายแคร์รี กล่าวต่อผู้สื่อข่าวอีกว่า สหรัฐยังไม่ได้รับคำร้องขอจากทางการตุรกี เกี่ยวกับการให้ส่งตัวนายกูเลนกลับประเทศ และกรณีนี้ตุรกีจะต้องแสดงพยานหลักฐานถูกต้องตามกฎหมาย ที่พิสูจน์ว่านายกูเลนกระทำผิดจริง และทางการสหรัฐจะรับไว้พิจารณา ก่อนทำการตัดสินใจที่เหมาะสมต่อไป

ย้อนรอยหาคำตอบ ใครอยู่เบื้องหลัง รัฐประหารตุรกี  (บทความ)

กลับมาที่ประเทศไทยกันบ้าง เมื่อ  ทางด้าน พล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์ ได้ วิเคราะห์การรัฐประหาร ของตุรกี เอาไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้

เหตุการณ์ความรุนแรงในตุรกีครั้งนี้สร้างความโกลาหลในประเทศไม่น้อย !!

หากเราพูดถึงการรัฐประหารในตุรกี ครั้งนี้ แตกต่างกว่า การรัฐประหารของไทย  อย่างไร
 

(1) ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ ระงับการโกงชาติ และ การยังยั้งไม่ให้คนในชาติออกมาฆ่ากันเองแต่อย่างได
(2) เมื่อประชาชนไม่เดือดร้อน ก็ไม่มีประชาชนออกมาสนับสนุน
(3) การรัฐประหารของไทยไม่มีสาเหตุเชื่อมโยงถึงประเทศมหาอำนาจ และ และ ยังมีเหตุผลในการรัฐประหารชัดเจน แบบต่างชาติ ต้องยอมรับครับ และ
(4 ) ทหารไทยมีความเป็นเอกภาพในการรัฐประหาร เพราะมีเหตุ มีผล รองรับอย่างมากมาย

          เกิดการรัฐประหารที่แปลกที่สุดในโลกขึ้นที่ตุรกี

          (1) ไม่มีผู้นำการรัฐประหารอย่างเป็นทางการภายในประเทศ แต่มีการกล่าวอ้าง ถึง นาย กูเลน อิหม่ามเจ้าลัทธิ"กูเลน"  ที่ลี้ภัยอยู่ที่สหรัฐ ว่าอยู่เบื้องหลัง

          (2) ผู้ก่อการเป็นทหารส่วนน้อย เพราะ กำลังส่วนใหญ่ไปอยู่ ตามแนวชายแดน ทภ.1, หน่วยรบพิเศษ, ทอ. และ ทร.ไม่ได้เข้าร่วม ถ้าจะยกตัวอย่าง ง่ายๆ การ รัฐประหารโดยกลุ่มยังเตริก ของไทย ยังมีคนมากกว่าเลย

          (3) ไม่ได้ไปจับตัวบุคคลสำคัญ ไว้ก่อน ทั้งที่ประธานาธิบดีไปพักผ่อน อยู่ที่ชายทะเล ก็ไม่ไปจับ แปลกมากๆ จับตัวเสนาธิการทหารไว้ แต่ก็ได้รับการช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว

          (4) ที่สำคัญ คือ ไม่ได้ยึดสถานีโทรทัศน์ ทุกแห่ง ปล่อยให้รัฐบาล นำไปใช้ประโยชน์ ได้อีก

          (5) ประชาชนฝ่ายที่หนุน รัฐบาล ( กลุ่มตรงข้ามกับกลุ่มกูเลน) สามารถร่วมตัวได้รวดเร็วผิดปกติ คือ พอเริ่มประกาศรัฐประหาร ก็เริ่มมีคนออกมาชุมนุมต่อต้านเลย ยังกะเตรียมไว้ล่วงหน้า

           (6) ทหารที่ยกกำลังออกมา น่าจะรู้แค่เป้าหมายพื้นที่ ตามคำสั่งเท่านั้น   ดูได้จาก การปฏิบัติแบบงงๆเมื่อประชาชนออกมาต่อต้าน และ ยังยอมทำตามที่ตำรวจสั่งอีก

           (7) รัฐประหาร มี เฮลิคอปเตอร์ของฝ่ายรัฐประหาร 2-3ลำ ไปยิงรัฐสภาในช่วงเวลา ที่ไม่มีคนอยู่ในสภาฯ ทำงาน ตลกอะไร ขนาดนี้ มี ฮ. บินไปบินมาจน  ถูกเครื่องบินขับไล่ยิงตก

      เรื่องนี้ยังไม่สามารถยุติลงได้ง่ายๆแน่นอน ประชาชนอีกฝ่ายหนึ่ง (ฝ่ายกูเลน) ซึ่งมีจำนวนพอๆกันอาจออกมาเคลื่อนไหวค้านรัฐบาล ในการใช้อำนาจกวาดล้างฝ่ายตรงข้ามแบบมั่วขนาดนี้ จึงเป็นผลทำให้รัฐบาลต้องขอให้ประชนฝ่ายสนับสนุนตัวเอง ออกมาเคลื่อนไหวคุมพื้นที่ไว้ต่อไปอีก1อาทิตย์  ถ้าประเทศมหาอำนาจไม่ออกมาไกล่เกลี่ยให้ดี ตุรกี จะกลายเป็นจุดอ่อน ประตูปิดกัน IS ไม่ให้เข้ายุโรป ก็จะเปิดออกได้ง่ายๆครับ

 

         การรัฐประหารของตุรกี ครั้งนี้ ถึงขณะนี้เริ่มที่จะมีลับ ลวง พลาง ว่า ท้ายที่สุดแล้ว เกิดการรัฐประหารจริงหรือไม่ หรือว่ารัฐบาลตุรกี ตั้งใจทำเรื่องนี้ขึ้นมา เพื่อจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วป้ายความผิดไปให้ นายเฟตฮุลเลาะห์ กูเลน  ซ้ำยังบอกว่า สหรัฐอยู่เบื้องหลังดังกล่าว เรื่องนี้คงอีกไม่นาน ความจริงคงปรากฏว่า ท้ายที่สุดแล้ว รัฐประหาร จริง หรือ ปลอม

   

 

เรียบเรียงโดย สถาพร  สำนักข่าวทีนิวส์