ต้องแชร์ให้โลกรู้ !!! "ฝนหลวง ในหลวงรัชกาลที่ ๙" พลิกฟื้นชาวจอร์แดน ให้มีน้ำดื่มน้ำใช้อย่างเพียงพอ

วันพระบิดาแห่งฝนหลวง ตรงกับวันที่ 14 พฤศจิกายน ของทุกปี เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระราชดำริโครงการฝนหลวงขึ้นเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 ทรงศึกษาค้นคว้าและวิจัยทางเอกส

วันพระบิดาแห่งฝนหลวง ตรงกับวันที่ 14 พฤศจิกายน ของทุกปี เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระราชดำริโครงการฝนหลวงขึ้นเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498  ทรงศึกษาค้นคว้าและวิจัยทางเอกสาร ทั้งด้านวิชาการ อุตุนิยมวิทยา และการดัดแปรสภาพอากาศ

ใน พ.ศ. 2499 จึงได้พระราชทาน โครงการพระราชดำริ "ฝนหลวง" ให้ ม.ล.เดช สนิทวงศ์ การรับสนองพระราชดำริได้ร่วมมือกันระหว่าง ม.ล.เดช สนิทวงศ์ม.จ.จักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ และม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยประดิษฐ์ทางด้านเกษตรวิศวกรรมของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขณะนั้น รับไปดำเนินการศึกษา วิจัย และพัฒนากรรมวิธีการทำฝนให้บังเกิดผลโดยเร็ว ในปีถัดมา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หาลู่ทางที่จะทำให้เกิดการทดลองปฏิบัติการในท้องฟ้าให้เป็นไปได้

เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 เป็นวันปฐมฤกษ์ในการปฏิบัติการทดลองทำฝนเทียมกับเมฆในท้องฟ้าเหนือภาคพื้นดิน บริเวณวนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โดยการใช้น้ำแข็งแห้ง (Dry-Ice) โดยที่ยอดของกลุ่มก้อนเมฆ ปรากฏว่าหลังการปฏิบัติการประมาณ 15 นาที ก้อนเมฆในบริเวณนั้นเกิดมีการรวมตัวกันอย่างหนาแน่นจนเห็นได้ชัด สังเกตได้จากสีของฐานเมฆได้เปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีเทาเข้ม ซึ่งผลการทดลองเป็นที่น่าพอใจ เพียงแต่ยังไม่อาจควบคุมให้ฝนตกในบริเวณที่ต้องการได้ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานคำแนะนำเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง โดยให้เปลี่ยนพื้นที่ทดลองไปยังจุดแห้งแล้งอื่นๆ เช่น ที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เป็นต้น  ด้วยความสำเร็จของโครงการฝนหลวง จึงได้ตราพระราชกฤษฎีกาก่อตั้งสำนักงานปฏิบัติการฝนหลวงขึ้นใน พ.ศ. 2518 ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

คณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2545 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ทรงเป็น "พระบิดาแห่งฝนหลวง" พร้อมกันนี้ได้กำหนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันพระบิดาแห่งฝนหลวง

โครงการฝนหลวงไม่เพียงยังประโยชน์ให้ประชาชนคนไทย แต่ยังเผื่อแผ่ไปยังต่างแดนอีกด้วย Mohammad Samawi อธิบดีกระทรวงเกษตรของจอร์แดน กล่าวว่า เพราะประเทศจอร์แดนถือเป็นประเทศหนึ่งที่เกิดฝนตกไม่มากนัก และเป็นประเทศยากจนของโลกในแง่ของปริมาณน้ำที่มีเพื่อใช้อุปโภคบริโภค เมื่อเกิดปัญหาขาดแคลนน้ำ จึงส่งผลให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพตามมา รวมถึงสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง อุณหภูมิสูงขึ้น ทำให้รูปแบบการตกของฝนเปลี่ยนไป ผลค้างเคียงจึงเกิดกับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดข้อจำกัด จึงต้องนำเทคโนโลยีฝนหลวงของไทยไปใช้ เพื่อกระตุ้นให้เกิดฝนตกมากขึ้น

โดยเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2559 พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้หารือกับ ดร. อากิฟ อัล ซูบี (Dr. Akef Al-Zoubi) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรจอร์แดน ซึ่งทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องต้องกันที่จะดำเนินโครงการทำฝนหลวงในจอร์แดนให้เกิดผลใช้ได้จริง โดยมีบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการ ภายใต้โครงการการดัดแปรสภาพอากาศโดย “เทคโนโลยีฝนหลวง” และแผนงานดำเนินโครงการระยะ ๓ ปี นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายจะสานต่อเพื่อให้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการเกษตรต่อไปด้วย ฝ่ายจอร์แดนแสดงความประสงค์ที่จะมีความร่วมมือกับไทยทั้งด้านการเลี้ยงสัตว์ , การสร้างมาตรฐานด้านสุขอนามัยสัตว์และพืช ทั้งเพื่อการบริโภคภายในและเพื่อการส่งออก และ การเพิ่มปริมาณการนำเข้า – ส่งออกสินค้าอาหารระหว่างกัน ซึ่ง รมว. กษ. ได้แสดงความยินดีที่จะทำงานร่วมกันเพื่อให้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการเกษตรดังกล่าว ซึ่งจะช่วยขยายความร่วมมือด้านการเกษตรในประเด็นที่ทั้งสองฝ่ายสามารถแลกเปลี่ยนกันได้  และ พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ ได้กล่าวถึงการปรับใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ที่เป็นแนวทางการพัฒนาของไทยมาอย่างต่อเนื่องจนเกิดผลสำเร็จในการพัฒนาที่ยั่งยืน  ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นทางเลือกในการพัฒนาเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SustainableDevelopment Goals – SDGs) ตามแนวทางของสหประชาชาติได้

โครงการฝนเทียม (เทคโนโลยีฝนเทียม) นั้นเกิดขึ้นจากพระราชดำริส่วนพระองค์ใน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกร เมื่อปี พ.ศ. 2498 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ทรงรับทราบถึงความเดือดร้อนทุกข์ยากของราษฎรและเกษตรกรที่ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคและการเกษตร จึงได้มีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานโครงการพระราชดำริ “ฝนหลวง”(Artificial rain) ให้กับ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ไปดำเนินการ ซึ่งต่อมาได้เกิดเป็นโครงการค้นคว้าทดลองปฏิบัติการฝนเทียมหรือฝนหลวงขึ้น ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อปี พ.ศ. 2512 ด้วยความสำเร็จของ โครงการ จึงได้ตราพระราชกฤษฎีการก่อตั้งสำนักงานปฏิบัติการฝนหลวงขึ้นในปี พ.ศ. 2518 ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเป็นหน่วยงานรองรับโครงการพระราชดำริฝนหลวงต่อไปและพระราชทานให้แก่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อใช้ช่วยเหลือประชาชนชาวไทย และเพื่อให้การทำฝนหลวงมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น ประเทศไทยก็ยังคงต้องพัฒนาองค์ความรู้และปรับปรุงเทคโนโลยีในการทำฝนหลวงอยู่เสมอ

นอกจากประเทศจอร์แดนแล้ว พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ยังทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ใช้สิทธิบัตรฝนหลวงถ่ายทอดวิทยาการทำฝนหลวงให้ 3 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย, แทนซาเนีย, และโอมาน แต่หลายประเทศไม่ค่อยมีความคืบหน้าเท่ากับประเทศจอร์แดน และทรงมีพระบรมราชานุญาตและโปรดเกล้าฯ ให้ขอรับสิทธิบัตรในต่างประเทศควบคู่ไปด้วย โดยปัจจุบันเทคโนโลยีฝนหลวงได้รับการจดสิทธิบัตรในหลายประเทศทั้ง เยอรมนี , ฮ่องกง , สหรัฐอเมริกา และกลุ่มประเทศในยุโรป

ปัจจุบันมีแหล่งน้ำให้ใช้ในจอร์แดน 800 – 900 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ซึ่งเพียงพอต่อคน 3 ล้านคนเท่านั้น แต่ปัจจุบันมีประชากรมากกว่า 10 ล้านคน ทำให้น้ำไม่เพียงพอต่อการใช้ ทางรัฐบาลของจอร์แดนเล็งเห็นความสำคัญ จึงได้ขอพระราชทานอนุญาตนำ เทคโนโลยีฝนเทียม ของไทยไปใช้ ซึ่งพระองค์ก็ยินดีให้นำไปใช้เพื่อให้นำความรู้และความเชี่ยวชาญด้านการทำฝนเทียมไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับเอเชียตะวันออก ซึ่งโครงการฝนเทียมในจอร์แดนได้รับการสนับสนุนโดย Royal Jordanian Air Force, the Ministry of Water และ Ministry of Agriculture ของจอร์แดน

ทางประเทศจอร์แดนเองเคยคิดที่จะทำฝนเทียมด้วยตัวเองในช่วงปี 1989 – 1995 แต่ก็พบกับข้อจำกัดและปัญหาหลายอย่างจนทำให้ไม่สามารถทำการคิดค้นได้ ซึ่งการทำฝนเทียมนั้นจะต้องใช้สารเคมีโปรยไปยังก้อนเมฆเพื่อเพิ่มความชื้นจนตกลงมากลายเป็นฝน

 

ต้องแชร์ให้โลกรู้ !!! "ฝนหลวง ในหลวงรัชกาลที่ ๙" พลิกฟื้นชาวจอร์แดน ให้มีน้ำดื่มน้ำใช้อย่างเพียงพอ

 

เรียบเรียงโดย สถาพร สำนักข่าวทีนิวส์
ขอขอบคุณข้อมูลจาก Wikipedia, แบไต๋