บราซิลเดือด!!  ผู้ประท้วงบุกยึดรัฐสภา เรียกร้องให้ ทหารรัฐประหารยึดอำนาจ รัฐบาล

มีนักเคลื่อนไหวขวาจัดราว 40 คนได้ฝ่าด่านรักษาความปลอดภัย และทุบประตูกระจกเข้าไปในห้องประชุมสภาผู้แทนราษฎร ของประเทศบราซิล จนทำให้การประชุมที่เพิ่งจะเริ่มต้องหยุดชะงักลง

สำนักข่าวเอเอฟพี ได้รายงานว่า มีนักเคลื่อนไหวขวาจัดราว 40 คนได้ฝ่าด่านรักษาความปลอดภัย และทุบประตูกระจกเข้าไปในห้องประชุมสภาผู้แทนราษฎร ของประเทศบราซิล จนทำให้การประชุมที่เพิ่งจะเริ่มต้องหยุดชะงักลง
       
       ผู้ประท้วงกลุ่มนี้ได้ขึ้นไปยึดโพเดียมและตะโกนว่า “จะเอานายพล จะเอานายพล” ซึ่งสื่อความถึงการสนับสนุนให้ทหารทำการรัฐประหาร ยึดอำนาจ
       

 

บราซิลเดือด!!  ผู้ประท้วงบุกยึดรัฐสภา เรียกร้องให้ ทหารรัฐประหารยึดอำนาจ รัฐบาล
      
       
      

 เวลานั้นห้องประชุมสภาผู้แทนฯ แทบไม่มี ส.ส.หลงเหลืออยู่แล้ว ทว่าภาพกิจกรรมของผู้ประท้วงหลายสิบชีวิตได้ถูกเผยแพร่ทางสื่อโทรทัศน์ ก่อนที่พวกเขาจะถูกตำรวจควบคุมตัวไปสอบสวน
          
       ต่อมาในช่วงบ่าย อเล็กซานเดร ปาโรลา โฆษกของประธานาธิบดี มิเชล ทีเมอร์ ได้ออกมาติเตียนการกระทำของนักเคลื่อนไหวกลุ่มนี้ว่าเป็นการ “ดูหมิ่น” รัฐบาล และยังละเมิดหลักการอยู่ร่วมกันในระบอบประชาธิปไตย
       
       ในวันเดียวกัน ตำรวจปราบจลาจลได้ยิงแก๊สน้ำตา กระสุนยาง และระเบิดเสียงเข้าสลายกลุ่มผู้ประท้วงในเมืองรีโอเดจาเนโร ซึ่งไม่พอใจที่ภาครัฐจะบังคับใช้มาตรการรัดเข็มขัดเข้มงวดภายในรัฐรีโอ
       
       ผู้ประท้วงกว่า 2,000 คนซึ่งมีทั้งครูและตำรวจซึ่งไม่ได้อยู่ระหว่างปฏิบัติหน้าที่ ได้เผชิญหน้ากับหน่วยปราบจลาจลที่ด้านนอกอาคารรัฐสภาท้องถิ่นของรัฐรีโอ
       
       

 ลูอิซ เฟอร์นันโด เปเซา ผู้ว่าการรัฐรีโอซึ่งเป็นสมาชิกพรรคแนวร่วมประชาธิปไตยบราซิล (PMDB) ของประธานาธิบดี มิเชล ทีเมอร์ พยายามผลักดันให้มีการตัดลดงบประมาณรายจ่ายของรัฐลง เนื่องจากเงินคงคลังลดลงทุกที
       
       รัฐรีโอเผชิญวิกฤตขาดแคลนงบประมาณอย่างรุนแรงตลอดช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ถึงขั้นต้องประกาศภัยพิบัติสาธารณะ (state of public calamity) และขอรับความช่วยเหลือจากรัฐบาลกลาง ก่อนที่จะเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกส์ฤดูร้อนเมื่อเดือน สิงหาคม ที่ผ่านมา

 

      บราซิลเคยถูกปกครองโดยรัฐบาลทหารระหว่างปี 1964-1985 แต่ถึงกระนั้นก็มีชาวบราซิลเพียงส่วนน้อยที่คิดว่าควรจะปล่อยให้กองทัพกลับเข้ากุมบังเหียนประเทศอีกครั้ง เพื่อตอบโต้พฤติกรรมทุจริตคอร์รัปชันของนักการเมือง และรับมือเศรษฐกิจที่กำลังมีปัญหาอย่างหนักนั่นเอง

 

 

 

เรียบเรียงโดย สถาพร สำนักข่าวทีนิวส์
ขอขอบคุณ AFP