จริงใจหรือเปล่า? "เกาหลีเหนือ" ชี้ ใครเป็นผู้นำสหรัฐฯ ก็ไม่แตกต่าง หากไม่ "จริงใจ"

นายคิม ยอง-โฮ ผู้อำนวยการสำนักงานสิทธิมนุษยชนและมุนษยธรรมของกระทรวงการต่างประเทศเกาหลีเหนือ แถลง หลังเข้าร่วมการประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ( ยูเอ็นจีเอ ) ว่าด้วยสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในเกาหลีเหนือ

สำนักข่าวเอเอฟพี รายงาน เรื่องที่ นายคิม ยอง-โฮ ผู้อำนวยการสำนักงานสิทธิมนุษยชนและมุนษยธรรมของกระทรวงการต่างประเทศเกาหลีเหนือ แถลง หลังเข้าร่วมการประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ( ยูเอ็นจีเอ ) ว่าด้วยสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในเกาหลีเหนือ  ว่า "ไม่ว่าใครก็ตาม" ขึ้นมาเป็นผู้นำสหรัฐฯ ต่อจากประธานาธิบดีบารัค โอบามา ไม่ใช่เรื่องที่รัฐบาลเกาหลีเหนือ ต้องให้ความสำคัญ เนื่องจากประเด็นพื้นฐานเพียงประเด็นเดียวที่เกาหลีเหนือให้ความสำคัญ คือการที่สหรัฐฯ "มีความจริงใจ" หรือไม่ ในการยกเลิกนโยบายทางการเมืองที่คุกคามต่อรัฐบาลเกาหลีเหนือ
 

ทั้งนี้ หากรัฐบาลสหรัฐฯ ในอนาคตมีความจริงใจและความกระตือรือร้นในเรื่องดังกล่าวและปฏิบัติได้จริง การฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศอาจมีแนวโน้ม "เป็นไปได้" ซึ่ง นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนต่อไป เคยกล่าวในช่วงแคมเปญหาเสียงเมื่อเดือนพ.ค. ที่ผ่านมา ว่าพร้อมหารือกับนายคิม จอง-อึน ผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือ เพื่อปูทางสู่การยุติสถานการณ์ตึงเครียดบนคาบสมุทรเกาหลี ที่รวมถึงการผลักดันการเจรจายุติโครงการนิวเคลียร์ของรัฐบาลเกาหลีเหนืออีกครั้ง

 

ซึ่งก่อนหน้านี้ ทางด้านผู้นำอิหร่าน อย่าง อยาตอลเลาะห์ อาลี คาเมนี  ผู้นำสูงสุดของอิหร่าน ได้พูดถึงผลของศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯที่ออกมา ไม่ก่อความแตกต่างต่อประเทศของเขา แม้ว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ มีจุดยืนที่้ก้าวร้าวก็ตาม
       
       "เราไม่ได้ตัดสินจากผลเลือกตั้งครั้งนี้ เพราะยังไง อเมริกาก็ยังเป็นอเมริกาเดิมๆ ในช่วง 37 ปีหลัง ไม่ว่าพรรคไหนอยู่ในตำแหน่งก็ไม่เคยทำดีกับเรา และซาตานตัวนี้ก็ยังเล่นงานพวกเราเสมอ"
       
       

นับเป็นปฏิกริยาแรกของผู้นำสูงสุดของอิหร่านต่อนายโดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งระหว่างการหาเสียงได้ตราหน้าข้อตกลงนิวเคลียร์ระหว่างอิหร่าน กับชาติมหาอำนาจเมื่อปีที่แล้วว่า หายนะ และขู่จะฉีกมันทิ้ง
       
       "เราไม่ได้โศกเศร้าหรือเฉลิมฉลอง เพราะสำหรับเราแล้ว มันก็ไม่ได้ต่างกัน เราไม่รู้สึกกังวล ขอบคุณพระเจ้า เราต้องพร้อมเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ต่างๆที่อาจเกิดขึ้น"
       
       คาเมเนอี ยกตัวอย่างเหตุเผชิญหน้าอันเผ็ดร้อนกับรัฐบาลต่างๆของสหรัฐฯ ในนั้นรวมถึงกรณีเรือยูเอสเอส วินเซนส์ ยิงเครื่องบินโดยสารของสายการบินอิหร่านแอร์ตกในปี 1988 คร่าชีวิตผู้คน 290 ศพ
       
       อิหร่าน และ สหรัฐฯ ไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการนับตั้งแต่ปี 1980 เมื่อนักศึกษาอิสลามิสต์บุกเข้าไปในสถานทูตสหรัฐฯและจับเจ้าหน้าที่เป็นตัวประกันนานกว่า 444 วัน
       
       การต่อต้านสหรัฐฯ ยังเป็นแก่นกลางนโยบายต่างประเทศของอิหร่าน แม้บรรลุข้อตกลงนิวเคลียร์กันเมื่อปีที่แล้ว

 

 

เรียบเรียงโดย สถาพร สำนักข่าวทีนิวส์
ขอบคุณข้อมูล AFP