ใครจะแน่กว่ากัน!!  เวที "เอเปค"  วัดศักยภาพ "จีน - สหรัฐฯ" ใครน่าเชื่อถือกว่ากัน

ผู้นำชาติต่างๆ ทยอยเดินทางถึงกรุงลิมา เมืองหลวงเปรู เพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก หรือ เอเปค ที่จะมีขึ้นในวันอาทิตย์ โดยในวันเสาร์ ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ผู้นำจ

สำนักข่าวรอยเตอร์ ได้รายงานจาก กรุงลิมา ประเทศเปรู ว่าผู้นำชาติต่างๆ ทยอยเดินทางถึงกรุงลิมา เมืองหลวงเปรู เพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก หรือ เอเปค ที่จะมีขึ้นในวันอาทิตย์ โดยในวันเสาร์ ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ผู้นำจีน ซึ่งเข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำธุรกิจ "ซีอีโอ เปรู 2016" ได้เรียกร้องต่อผู้นำชาติเอเชียและแปซิฟิก ให้เข้าร่วมข้อตกลงการค้าหลายรายการ ที่จีน เป็นแกนหลักสนับสนุน หลังจากชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา 2016 ของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ตัวแทนพรรครีพับลิกัน มีแนวโน้มจะทำให้ ความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก หรือ ทีพีพี ที่สหรัฐเป็นหัวเรือใหญ่ นั้นพังคลืนลงทันที

ชัยชนะของ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ทำให้เกิดความไม่แน่นอนต่ออนาคตของทีพีพี แผนข้อตกลงการค้าสำคัญของสหรัฐฯ  ระหว่าง 12 ประเทศรอบริมขอบมหาสมุทรแปซิฟิก ที่กำลังอยู่ในระหว่างการเจรจาต่อรองอย่างยากลำบาก โดยนักการเมืองมหาเศรษฐีประกาศในระหว่างการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งว่าไม่เห็นด้วยกับทีพีพี ที่ยังไม่ได้รับการอนุมัติจากสภาคองเกรสสหรัฐฯ โดย นายโดนัลด์ ทรัมป์ กล่าวว่า ทีพีพีเป็น "ข้อตกลงที่น่ากลัว" และจะ "ข่มขืน" สหรัฐอเมริกา ด้วยการส่งงานทำของชาวอเมริกัน ไปยังประเทศต่างๆ ที่ค่าแรงถูกกว่า

 

 

ใครจะแน่กว่ากัน!!  เวที "เอเปค"  วัดศักยภาพ "จีน - สหรัฐฯ" ใครน่าเชื่อถือกว่ากัน


    จีน เองซึ่งไม่ได้เข้าร่วมทีพีพีด้วย กำลังผลักดัน 2 ทางเลือกคือ เขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก (เอฟทีเอเอพี) สมาชิก 21 ประเทศ และความตกลงพันธมิตรทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (อาร์ซีอีพี) สมาชิก 16 ประเทศ ซึ่งรวมถึง 2 ประเทศยักษ์ใหญ่อย่างอินเดียและสหรัฐฯ โดยทางด้านนายสี จิ้นผิง เรียกร้องต่อผู้นำในภูมิภาค ให้เดินหน้าข้อตกลงทั้ง 2 รายการ "การสร้างเอฟทีเอเอพี เป็นแผนริเริ่มทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญยิ่ง สำหรับความเจริญรุ่งเรืองในระยะยาวของเอเชียและแปซิฟิก" พร้อมกับประกาศ จีนจะไม่ปิดประตูต่อโลกภายนอก แต่จะเปิดกว้างมากกว่าเดิม

ใครจะแน่กว่ากัน!!  เวที "เอเปค"  วัดศักยภาพ "จีน - สหรัฐฯ" ใครน่าเชื่อถือกว่ากัน

 

ทางด้านประธานาธิบดีบารัค โอบามา ผู้นำสหรัฐฯ ที่พบหารือกับกลุ่มผู้นำ 12 ชาติ ที่เข้าร่วมการเจรจา ทีพีพี ได้กล่าวย้ำถึงโอกาสในการสร้างงาน และความเจริญ ที่จะเกิดจากทีพีพี และว่า ทีพีพีคือแนวทางที่สามารถต่อต้านอิทธิพลที่พุ่งขึ้นของจีนได้ โอบามายังได้บอกกับผู้นำของอีก 11 ประเทศ ขอเวลาให้ประธานาธิบดีคนใหม่ได้ศึกษานโยบายของเขาเสียก่อน
    อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวสหรัฐฯ ยอมรับว่า แม้โอกาสที่จะผ่านข้อตกลงทีพีพีมีน้อย แต่การเลือกตั้งจะไม่เปลี่ยนแปลง "ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและทางยุทธศาสตร์" ของสหรัฐฯ และทางด้านนายโดนัลด์ ทรัมป์ อาจจะทบทวนมุมมองของเขาก็ได้

 

 

เรียบเรียงโดย สถาพร สำนักข่าวทีนิวส์
ภาพโดย Reuter