พัฒนาไปอีกขั้น!!  "เยอรมัน" ลงนาม "ไทย" ร่วมพัฒนาระบบราง เพื่อเป็นศูนย์กลางขนส่งอาเซียน

การพัฒนาความร่วมมือด้านรถไฟ ระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทย และกระทรวงคมนาคมและโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีว่า การพัฒนาความร่วมมือด้านรถไฟ ระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจ

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการลงนามร่วมกับนายเพเทอร์ พรือเกล เอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประจำประเทศไทย เกี่ยวกับการพัฒนาความร่วมมือด้านรถไฟ ระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทย และกระทรวงคมนาคมและโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีว่า ได้ร่วมมือกัน 3 ด้านประกอบด้วย

1.พัฒนาให้เกิดอุตสาหกรรมระบบรางและชิ้นส่วนในประเทศไทย

2.พัฒนามาตรฐานและเทคโนโลยีของผู้ให้บริการระบบราง และ

3. พัฒนาและผลิตบุคคลากรร่วมกับกระทรวงคมนาคมและสถาบันการศึกษาต่างๆ

 

 

 

 

โดยทั้ง 2 ประเทศจะจัดสัมมนาแลกเปลี่ยนเทคนิคและความรู้ การศึกษาดูงานในประเทศเยอรมนี รวมถึงมีผู้เชี่ยวชาญจากประเทศเยอรมนีเข้ามาช่วยวางแผนการทำงานร่วมกัน

 

 

พัฒนาไปอีกขั้น!!  "เยอรมัน" ลงนาม "ไทย" ร่วมพัฒนาระบบราง เพื่อเป็นศูนย์กลางขนส่งอาเซียน

นายอาคม กล่าวว่า การผลักดันอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนระบบรางเป็นนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาลที่มีเป้าหมายให้เศรษฐกิจเติบโตแบบก้าวกระโดด การที่ประเทศไทยลงทุนระบบรางถึง 85% ของมูลค่าโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมด จึงส่งผลให้ผู้ประกอบการไทยมีความต้องการผลิตชิ้นส่วนระบบรางและน่าจะดึงดูดให้การลงทุนในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนมีความคุ้มค่ามากขึ้น โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ก็พร้อมให้สิทธิประโยชน์สูงสุดอยู่แล้ว

นายพรือเกล กล่าวว่า ไทยมีศักยภาพเพียงพอจะเป็นศูนย์กลางการขนส่งอาเซียนเพื่อรองรับการขยายตัวของขนาดเศรษฐกิจในอนาคต โดยเฉพาะการขนส่งประชากรและสินค้าข้ามแดน ซึ่งระบบรางเป็นการขนส่งที่คุ้มค่าที่สุดในยุคนี้ เพื่อเชื่อมโยงกับเพื่อนบ้านอาเซียนและกระตุ้นเศรษฐกิจการค้าและการท่องเที่ยวร่วมกันผ่านเส้นทางสายไหมของเอเชียเพื่อเชื่อมต่อประเทศจีน-สิงคโปร์ตามนโยบายสายไหมใหม่ศตวรรษที่21 หรือ one belt one road เปิดประตูสู่โอกาสครั้งใหม่ของประเทศ โดยเฉพาะมาตรฐานด้านความปลอดภัยสากลเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อให้บริการผู้โดยสารและการถ่ายทอดเทคโนโลยีตลอดจนองค์ความรู้ให้กับภาครัฐและภาคเอกชนของไทยเพื่อสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมรางในอนาคต

 

พัฒนาไปอีกขั้น!!  "เยอรมัน" ลงนาม "ไทย" ร่วมพัฒนาระบบราง เพื่อเป็นศูนย์กลางขนส่งอาเซียน

“เยอรมันมีหลายบริษัทที่สนใจและมีความพร้อมเข้ามาตั้งโรงประกอบรถไฟเพื่อให้สอดรับกับแผนการพัฒนาระบบรางระยะยาวของไทย เช่น กลุ่มซีเมนต์ และ บริษัท บ๊อชเข้ามาลงทุน ซึ่งขึ้นอยู่กับรัฐบาลไทยเพื่อดูความคุ้มค่าด้านต้นทุนระหว่างการตั้งโรงงานประกอบในไทยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีเป็นของตัวเองกับการนำเข้ารถไฟฟ้ามาทั้งขบวน และปัจจุบันเยอรมันมีประสบการณ์ด้านผลิตรถไฟฟ้ามายาวนาน ขณะที่ประเทศไทยมีพัฒนาการที่ดีในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้วยการขับเคลื่อนอย่างจริงจังของภาครัฐ ส่งผลให้นักพัฒนาเทคโนโลยีระบบรางทั่วโลกให้ความสำคัญกับประเทศไทยในฐานะหนึ่งในผู้นำระบบรางของอาเซียนที่สามารถสร้างความเชื่อมโยงการขนส่งทางรางได้อย่างรวดเร็วตั้งแต่ในเมืองหลวงไปจนถึงการเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน”นายพรือเกล กล่าว

นายพรือเกล กล่าวว่า ที่ผ่านมาทั้งสองประเทศ ได้ประสานความร่วมมือกันสร้างระบบขนส่งมวลชนให้กับกรุงเทพฯ นอกจากสนับสนุนด้านเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานให้กับประเทศไทยแล้ว บริษัทสัญชาติเยอรมันได้ฝึกอบรมวิศวกรไทยมากกว่า 600 คน ให้เป็นผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมระบบราง เพื่อรองรับความต้องการบุคลากรในอุตสาหกรรมระบบราง ทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

พัฒนาไปอีกขั้น!!  "เยอรมัน" ลงนาม "ไทย" ร่วมพัฒนาระบบราง เพื่อเป็นศูนย์กลางขนส่งอาเซียน

 

เรียบเรียงโดย สถาพร สำนักข่าวทีนิวส์