สายใต้ ได้เฮ ไฮสปีดเทรน มาแล้ว!!  "มาเลเซีย" จับมือ "ไทย" ร่วมพัฒนา รถไฟความเร็วสูง "กรุงเทพฯ - กรุงกัวลาลัมเปอร์"

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า มีแผนหารือกับรมว.คมนาคมมาเลเซียโครงการเชื่อมต่อรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ระหว่างกรุงเทพฯ ถึงกรุงกัวลาลัมเปอร์ โดยมอบหมายให้คณะทำงาน หารือกับระดับเจ้าห

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ  รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า  มีแผนหารือกับรมว.คมนาคมมาเลเซียโครงการเชื่อมต่อรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ระหว่างกรุงเทพฯ ถึงกรุงกัวลาลัมเปอร์ โดยมอบหมายให้คณะทำงาน หารือกับระดับเจ้าหน้าที่ของประเทศมาเลเซียก่อนจะหารือกันอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับกรอบทำงานและศึกษาความเหมาะสมร่วมกัน เนื่องจากเป็นโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางใหม่และมีระยะทางค่อนข้างยาว จึงต้องศึกษาว่า ประเทศใดประเทศหนึ่งจะศึกษาทั้งเส้นทางหรือแบ่งกันศึกษาคนละครึ่ง เป็นต้น

            “มีโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-หัวหิน ซึ่งจะลงภาคใต้อยู่แล้ว จึงต้องศึกษาให้รอบคอบว่าควรต่อยอดจากช่วงหัวหินหรือเป็นเส้นใหม่เลย แต่ถ้าจะให้ดีที่สุดคือต่อยอดจากรถไฟความเร็วสูงหัวหินไปถึงปาดังเบซาร์ จ.สงขลา”

นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม  กล่าวว่า ในการประชุมหัวหน้าหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมวันที่ 22 พ.ย. ที่ผ่านมา  นายอาคม มอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ทำหน้าที่เป็นผู้เจรจากับคณะทำงานของประเทศมาเลเซียถึงขอบเขตการทำงาน หลังจากนั้นจะศึกษาความเหมาะสมโครงการว่าจะเป็นรูปแบบใด ซึ่งขณะนี้ญี่ปุ่นและจีนแสดงความสนใจพร้อมช่วยศึกษารูปแบบการดำเนินโครงการเบื้องต้นแล้ว

 

สายใต้ ได้เฮ ไฮสปีดเทรน มาแล้ว!!  "มาเลเซีย" จับมือ "ไทย" ร่วมพัฒนา รถไฟความเร็วสูง "กรุงเทพฯ - กรุงกัวลาลัมเปอร์"

            

สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-กัวลาลัมเปอร์ จะมีระยะทางประมาณ 1,400 กิโลเมตร แบ่งเป็นระยะทางในประเทศมาเลเซียประมาณ 400-500 กิโลเมตร ความเร็วอย่างต่ำ 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่งผลให้สามารถเดินทางระหว่างเมืองหลวงของทั้ง 2 ประเทศได้ในระยะเวลาประมาณ 5-6 ชั่วโมง และประเทศไทยจะต้องวางรางขนาด 1.435 เมตรใหม่ เพราะปัจจุบันมีแต่โครงการรถไฟทางคู่ขนาดราง 1 เมตรเท่านั้น ซึ่งหากเดินหน้าโครงการจะช่วยต่อยอดโครงการถไฟความเร็วสูงเชื่อมระหว่างกัวลาลัมเปอร์-ประเทศสิงคโปร์ โดยรัฐบาลมาเลเซียกำลังผลักดัน เพราะหากมีการลงทุนรถไฟเชื่อมระหว่างกรุงเทพฯ-กัวลาลัมเปอร์จะเชื่อมต่อไปถึงประเทศลาวและจีนในอนาคต

 

เรียบเรียงโดย สถาพร สำนักข่าวทีนิวส์
ภาพโดย พันทิพย์ ดอทคอม