ใครเห็นเธอบ้าง!! "อองซาน ซุจี" หายไปไหน "ประชาชนกำลังถูกฆ่า" ทั่วโลกกำลังตามหา "นักสันติภาพ" จะไม่ทำอะไรเลยหรือ?

นางอองซาน ซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐและรัฐมนตรีต่างประเทศเมียนมา ถูกวิจารณ์จากหลายฝ่ายเมื่อยังคงปิดปากเงียบ ท่ามกลางข้อกล่าวหาและหลักฐานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆว่า กองทัพเมียนมากำลังใช้เหตุกลุ่มติดอาวุธกลุ่มหนึ่งโ

นางอองซาน ซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐและรัฐมนตรีต่างประเทศเมียนมา ถูกวิจารณ์จากหลายฝ่ายเมื่อยังคงปิดปากเงียบ ท่ามกลางข้อกล่าวหาและหลักฐานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆว่า กองทัพเมียนมากำลังใช้เหตุกลุ่มติดอาวุธกลุ่มหนึ่งโจมตีฐานรักษาการชายแดนที่เมืองหม่องดอ รัฐยะไข่ เมื่อเดือนที่แล้ว เป็นข้ออ้างกวาดล้างชาวมุสลิมโรฮิงญา

ล่าสุด เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหประชาชาติ ระบุว่าปฏิบัติการด้านความมั่นคงของเมียนมา เข้าข่ายเป็นความพยายามกำจัดชาติพันธุ์โรฮิงญา ด้วยการบีบบังคับให้พวกเขาต้องหลบหนีออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านบังกลาเทศ

แต่ตลอด 6 สัปดาห์ที่ผ่านมา นางซูจี เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ พูดแค่ว่าการสอบสวนกำลังดำเนินอยู่ในกรอบกฎหมาย

นายเดวิด แมทีสัน จากฮิวแมนไรทส์ วอทช์ กล่าวว่า การนิ่งเฉยของนางซูจี ผู้นำทางพฤตินัยของเมียนมา สร้างความงุนงนแก่นานาชาติ ที่มองว่าเธอเป็นนักสิทธิมนุษยชนคนหนึ่ง แต่อาจเป็นเพราะเธอไม่ได้มีอำนาจควบคุมกองทัพ

ขณะที่คณะนักวิจัยด้านอาชญากรรมโดยรัฐ ที่มหาวิทยาลัย ควีน แมรี ยูนิเวอร์ซิตี ลอนดอน ออกแถลงการณ์เมื่อวันพุธว่า การนิ่งเงียบของนางซูจี คือการให้ความชอบธรรมการฆ่าล้างชาติพันธุ์และปกป้องการประหัตประหารชนกลุ่มน้อยโรฮิงญา และจะถือเป็นบททดสอบสำคัญที่สุดในความเป็นผู้นำของนางซูจี

นายจอห์น แมคคิสสิก หัวหน้าสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอชซีอาร์) ในเมืองคอกซ์บาซาร์ ของบังกลาเทศ เปิดเผยกับสำนักข่าวบีบีซีว่า ทหารเมียนมายิง สังหารผู้ชายและเด็ก ข่มขืนผู้หญิง เผาและปล้นบ้านเรือน ทำให้ชาวโรฮิงญาต้องว่ายน้ำหนีตายไปยังฝั่งบังกลาเทศ

ขณะที่รัฐบาลบังกลาเทศยังไม่อาจตอบสนองข้อเรียกร้องเร่งด่วนจากนานาชาติ ให้เปิดพรมแดนเพื่อหลีกเลี่ยงวิกฤติด้านมนุษยธรรมได้ จึงใช้วิธีแจ้งให้รัฐบาลเมียนมาป้องกันไม่ให้ชนกลุ่มน้อยชาวโรฮิงญา ซึ่งเป็นบุคคลไร้รัฐเข้าบังกลาเทศ

เรื่องนี้นายแมคคิสสิกกล่าวว่า เป็นเรื่องยากที่จะให้รัฐบาลบังกลาเทศยอมเปิดพรมแดน เนื่องจากจะยิ่งเร่งเร้าให้รัฐบาลเมียนมากระทำการรุนแรงต่อไป เพื่อผลักดันชาวโรฮิงญาออกนอกประเทศ จนกว่าจะบรรลุเป้าหมายในการกวาดล้างกลุ่มชาติพันธุ์มุสลิมในเมียนมา

ขณะที่โฆษกประธานาธิบดีถิ่นจอ ประณามการแสดงความเห็นดังกล่าวว่า เจ้าหน้าที่ยูเอ็นทำงานแบบไม่ใช่มืออาชีพ ไม่มีจริยธรรม และไม่ให้เกียรติ กล่าวหาเมียนมาโดยปราศจากหลักฐานที่น่าเชื่อถือ

เมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่าน ซึ่งเป็นการลอบวางระเบิดขนาดที่ไม่รุนแรงนักครั้งที่ 3 แล้วในพื้นที่ของเมืองย่างกุ้งศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจของเมียนมาในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้จะไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตหรือบาดเจ็บ แต่ก็ไม่บ่อยนักที่จะเหตุความวุ่นวายในเมืองหลวงเก่าของเมียนมา
 

เหตุโจมตีด้วยระเบิดเกิดขึ้นในช่วงสถานการณ์ตึงเครียด เพราะช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมานี้ เกิดเหตุรุนแรงขึ้นในรัฐยะไข่ทางตะวันตกของประเทศ ซึ่งรัฐบาลกำลังปราบปรามชาวโรฮิงญาและยังมีการปะทะกันระหว่างทหารกองทัพเมียนมากับชนกลุ่มน้อยในรัฐชานทางตอนเหนือของประเทศ
ตำรวจจับกุมชายผู้ต้องสงสัยได้ 3 คนเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาในเขตพื้นที่ทิงหยางยุนของเมืองย่างกุ้ง หลังสืบสวนขยายผลจากการสอบปากคำหญิงคนหนึ่ง ซึ่งเรียกตัวมาสอบได้จากจุดที่เกิดเหตุระเบิด แต่ยังไม่มีการจับกุมหญิงคนดังกล่าว โดยตำรวจยังยึดหลักฐานสำคัญเป็นวัตถุประกอบระเบิด ผู้ต้องสงสัยยังสารภาพว่าเตรียมก่อเหตุวางระเบิดอีก

 

เรียบเรียงโดย สถาพร สำนักข่าวทีนิวส์