เยือนร่องรอยประวัติศาสตร์!! "ชินโซ อาเบะ" ยืนยัน ไม่ขอโทษ กับการถล่ม "เพิร์ล ฮาร์เบอร์" สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ของญี่ปุ่นเดินทางมาถึงฐานทัพร่วมเพิร์ล ฮาร์เบอร์-ฮิคแคม รัฐฮาวาย เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ในภารกิจการเดินทางเยือนเพิร์ล ฮาร์เบอร์

สำนักข่าวรอยเตอร์ ได้รายงานข่าว นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ของญี่ปุ่นเดินทางมาถึงฐานทัพร่วมเพิร์ล ฮาร์เบอร์-ฮิคแคม รัฐฮาวาย เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ในภารกิจการเดินทางเยือนเพิร์ล ฮาร์เบอร์ ครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เพราะถือว่าเขาจะเป็นนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นคนแรกที่ไปเยือนอนุสรณ์สถานแห่งนี้เพื่อเป็นเกียรติแด่ทหารเรือและนาวิกโยธินของสหรัฐฯ ผู้เสียชีวิตจากการโจมตีของกองทัพญี่ปุ่นเมื่อปี 2484 สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

 


ก่อนหน้านี้ นายชิเงรุ โยชิดะ อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นเคยเดินทางมาเยือนเพิร์ล ฮาร์เบอร์ 6 ปีหลังญี่ปุ่นยอมแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 แต่นั่นก็เป็นช่วงเวลาก่อนที่จะมีการสร้างอนุสรณ์สถานเรือยูเอสเอส แอริโซนา ขณะนั้นนายกรัฐมนตรีโยชิดะมาเยือนเพิร์ล ฮาร์เบอร์ในปี 2494 แล้วยังได้เข้าเยี่ยมสำนักงานกองเรือแปซิฟิกของพล.ร.อ.อาร์เธอร์ ดับเบิลยู.อาร์. แรดฟอร์ด ซึ่งสามารถมองเห็นเพิร์ล ฮาร์เบอร์

 

เยือนร่องรอยประวัติศาสตร์!! "ชินโซ อาเบะ" ยืนยัน ไม่ขอโทษ กับการถล่ม "เพิร์ล ฮาร์เบอร์" สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2


 

อนุสรณ์สถานเพิร์ล ฮาร์เบอร์ จะปิดไม่ให้ประชาชนทั่วไปเข้าเยี่ยมชมในวันอังคารที่ 27 ธ.ค. เพราะผู้นำญี่ปุ่นนั้นจะไปเยี่ยมชมครั้งประวัติศาสตร์ พร้อมกับประธานาธิบดีบารัค โอบามา แห่งสหรัฐฯ ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการพักผ่อนพร้อมครอบครัวที่รัฐฮาวายในขณะนี้


ความสำคัญของการไปเยือนสถานที่สำคัญซึ่งเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของสองประเทศ นับเป็นการแลกเปลี่ยนครั้งสำคัญ และยังสะท้อนถึงความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้น แม้จะเคยขัดแย้งกันแต่ก็ถือเป็นการเยือนครั้งสำคัญซึ่งต้องใช้เวลากว่า 70 ปีกว่าจะก้าวมาถึงจุดนี้ของความสัมพันธ์สหรัฐฯ กับญี่ปุ่น

 

ทางด้านโฆษกนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น แถลงยืนยันเมื่อช่วงต้นเดือนธ.ค.ที่ผ่านมาว่า นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นจะไม่กล่าวขอโทษต่อการโจมตีของกองทัพญี่ปุ่นในการเดินทางมาเยือนเพิร์ล ฮาร์เบอร์

 

เยือนร่องรอยประวัติศาสตร์!! "ชินโซ อาเบะ" ยืนยัน ไม่ขอโทษ กับการถล่ม "เพิร์ล ฮาร์เบอร์" สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

 

 

ประวัติศาสตร์ การโจมตีเพิร์ล ฮาร์เบอร์

 

การโจมตีท่าเพิร์ลเป็นการโจมตีทางทหารอย่างจู่โจมของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นต่อฐานทัพเรือสหรัฐที่ท่าเพิร์ล ดินแดนฮาวาย ในเช้าวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 (หรือวันที่ 8 ธันวาคมตามเวลาในประเทศญี่ปุ่น) การโจมตีนี้นำให้สหรัฐเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สอง

การโจมตีนี้เจตนาเป็นการปฏิบัติป้องกันเพื่อไม่ให้กองเรือแปซิฟิกของสหรัฐเข้าแทรกแซงการปฏิบัติทางทหารซึ่งจักรวรรดิญี่ปุ่นกำลังวางแผนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์และสหรัฐ มีการโจมตีของญี่ปุ่นพร้อมกันที่ฟิลิปปินส์ซึ่งสหรัฐถือครองอยู่ และต่อจักรวรรดิบริติชในมาลายา สิงคโปร์และฮ่องกง

จากในแง่ผู้ป้องกัน การโจมตีเริ่มเมื่อ 7.48 น. ตามเวลาฮาวาย ฐานถูกเครื่องบินขับไล่ เครื่องบินทิ้งระเบิดและเครื่องบินตอร์ปิโดญี่ปุ่น 353 ลำโจมตี แบ่งเป็นสองระลอก บินขึ้นจากเรือบรรทุกเครื่องบิน 6 ลำ เรือรบแห่งกองทัพเรือสหรัฐทั้งแปดลำเสียหาย โดยสี่ลำจม ทั้งหมดถูกซ่อมแซมขึ้นใหม่ (ยกเว้น แอริโซนา) เรือรบหกจากแปดลำกลับเข้ารับราชการและออกสู้รบในสงคราม ฝ่ายญี่ปุ่นยังจมหรือสร้างความเสียหายแก่เรือลาดตระเวนสามลำ เรือพิฆาตสามลำ เรือฝึกต่อสู้อากาศยานหนึ่งลำและเรือวางทุ่นระเบิดหนึ่งลำ อากาศยานสหรัฐ 188 ลำถูกทำลาย ฝ่ายอเมริกันเสียชีวิต 2,403 นาย บาดเจ็บ 1,178 นาย สถานที่ตั้งฐานทัพสำคัญอย่างโรงไฟฟ้า อู่เรือ โรงซ่อมบำรุง เชื้อเพลิงและเก็บตอร์ปิโด ตลอดจนสะพานเทียบเรือดำน้ำและอาคารกองบัญชาการ (ซึ่งเป็นที่ตั้งของฝ่ายข่าวกรอง) ไม่ถูกโจมตี ฝ่ายญี่ปุ่นสูญเสียเล็กน้อย คือ อากาศยาน 29 ลำและเรือดำน้ำขนาดเล็กมากห้าลำ และทหารเสียชีวิตหรือบาดเจ็บ 65 นาย กะลาสีชาวญี่ปุ่นถูกจับได้หนึ่งคน คือ คะซุโอะ ซะกะมะกิ

การโจมตีนี้เป็นความตะลึงล้ำลึกแก่อเมริกันชนและนำให้สหรัฐเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สองโดยตรงทั้งในเขตสงครามแปซิฟิกและยุโรป วันรุ่งขึ้น คือ วันที่ 8 ธันวาคม สหรัฐประกาศสงครามต่อญี่ปุ่น การสนับสนุนลัทธิไม่แทรกแซงในประเทศซึ่งเคยมีมากหายไป การสนับสนุนบริเตนในทางลับกลายเป็นพันธมิตรอย่างแข็งขัน ปฏิบัติการต่อมาโดยสหรัฐนำให้เยอรมนีและอิตาลีประกาศสงครามต่อสหรัฐเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ซึ่งสหรัฐประกาศสงครามตอบในวันเดียวกัน

หลายปีให้หลัง นักเขียนหลายคนอ้างว่ามีบุคคลระดับสูงในรัฐบาลสหรัฐและบริเตนทราบการโจมตีนี้ล่วงหน้าและอาจปล่อยให้เกิดขึ้น (หรือกระทั่งส่งเสริม) โดยมุ่งหมายให้นำอเมริกาเข้าสู่สงคราม ทว่า ทฤษฎีคบคิดทราบล่วงหน้านี้ถูกนักประวัติศาสตร์กระแสหลักปฏิเสธ

มีบรรทัดฐานประวัติศาสตร์จำนวนมากของการปฏิบัติทางทหารของญี่ปุ่นซึ่งไม่ประกาศ ทว่า การขาดคำเตือนอย่างเป็นทางการใด ๆ โดยเฉพาะระหว่างการเจรจายังดำเนินอยู่ ทำให้ประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ประกาศว่าวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 เป็น "วันซึ่งจะอยู่ในความอดสู" เพราะการโจมตีนี้เกิดขึ้นโดยไม่มีการประกาศสงครามและไม่มีคำเตือนชัดเจน การโจมตีท่าเพิร์ลจึงถูกศาลทหารพิเศษสำหรับตะวันออกไกลตัดสินให้เป็นอาชญากรรมสงคราม

 

เยือนร่องรอยประวัติศาสตร์!! "ชินโซ อาเบะ" ยืนยัน ไม่ขอโทษ กับการถล่ม "เพิร์ล ฮาร์เบอร์" สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

 

เรียบเรียงโดย สถาพร สำนักข่าวทีนิวส์