ยูเอ็น จะกล้าสอบ สหรัฐฯ เป็นอาชญากรสงครามหรือไม่? เมื่อยอมรับว่าฆ่าพลเรือนนับร้อยกรณีอิรัก และ ซีเรีย

การที่สหรัฐฯ ออกมายอมรับว่าเกิดความผิดพลาด ทำให้มีการโจมตีผิดเป้าหมาย และทำให้พลเรือนเสียชีวิต จำนวนหนึ่งนั้น ก็เป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งว่า ทางด้าน สหประชาชาติ (ยูเอ็น) จะเข้ามาตรวจสอบด้วยหรือไม่

กองทัพสหรัฐฯ ได้ออกแถลงการณ์ ว่าปฏิบัติการโจมตีทางอากาศในอิรักและซีรียโดยสหรัฐฯและพันธมิตร ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2557 ส่งผลให้มีพลเรือนเสียชีวิตโดยไม่เจตนา รวมกันอย่างน้อย 188 คน กองทัพสหรัฐฯ และพันธมิตรขอแสดงความเสียใจอย่างยิ่งไปยังครอบครัวของผู้ที่ได้รับผลกระทบ

รายงานฉบับดังกล่าวยืนยันว่า การปฏิบัติการทุกครั้งมีการวางแผนล่วงหน้าเพื่อลดความเสี่ยงของการสร้างอันตรายให้แก่พลเรือนมากที่สุด แต่ในบางเวลาและบางโอกาส ความสูญเสียเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ นอกจากนี้ กองทัพสหรัฐฯ และพันธมิตรได้รับรายงานการโจมตี 16 รายการเฉพาะเมื่อเดือนพ.ย. ที่ผ่านมา ที่อาจทำให้เกิดการเสียชีวิตของพลเรือน

 

 

กองทัพสหรัฐฯยังเปิดเผยสถิติของปฏิบัติการโจมตีทางอากาศในอิรักและซีเรียเพื่อปราบปรามกลุ่มไอเอส ประจำเดือนธ.ค. ที่ผ่านมา ว่าอยู่ที่ 17,005 ครั้ง แบ่งเป็น 10,738 ครั้งในอิรัก และ 6,267 ครั้งในซีเรีย สำหรับงบประมาณทางทหารเพื่อการนี้ตั้งแต่ปี 2557 อยู่ที่ราว 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

 

ในขณะที่เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม การประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นจีเอ) โดยในที่ประชุมได้มีมติเสียงข้างมาก  เห็นชอบร่างมติที่เสนอโดยลิกเตนสไตน์ ให้มีการจัดตั้งทีมพิเศษสำหรับทำหน้าที่รวบรวมและวิเคราะห์หลักฐาน เตรียมพร้อมสำหรับการดำเนินการสืบสวนในคดีอาชญากรรมสงครามและละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในซีเรีย โดยจะทำงานร่วมกับคณะกรรมการสืบสวนกรณีซีเรียของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ซึ่งเป็นคณะทำงานที่แต่งตั้งโดยคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอชอาร์ซี)


การลงมติครั้งนี้ เสียงข้างมาก 105 เสียงเห็นด้วยกับเรื่องดังกล่าวและมีจำนวน  15 เสียง  นั้นไม่เห็นด้วย และงดออกเสียง 52 เสียง โดยมติดังกล่าวมีผลบังคับให้ทุกประเทศสมาชิกและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในความขัดแย้ง รวมถึงกลุ่มภาคประชาสังคมอื่นๆ มอบข้อมูล หลักฐาน หรือเอกสารใดๆ ที่เกี่ยวข้องแก่คณะทำงาน ในการนี้ นายบาชาร์ จาอาฟารี เอกอัครราชทูตซีเรียประจำยูเอ็น กล่าวว่ากลไกดังกล่าวที่ยูเอ็นจีเอเห็นชอบจัดตั้งขึ้น นับเป็นการแทรกแซงต่อกิจการภายในของประเทศสมาชิกอย่างยิ่ง โดยรัสเซียและประเทศพันธมิตรอื่นๆ ของซีเรียได้ออกเสียงคัดค้านต่อร่างมตินี้

 

ทางด้านนายบัน คี มูน เลขาธิการของสหประชาชาติ ได้เปิดเผยรายงานของคณะกรรมการสืบสวนกรณีซีเรีย ระบุว่า เหตุโจมตีขบวนรถขนสิ่งของบรรเทาทุกข์ของยูเอ็นและกลุ่มเสี้ยววงเดือนแดงซีเรีย ที่เขตอูเร็ม อัล-คูบรา ใกล้เมืองอเลปโป เมื่อวันที่ 19 กันยายน ที่ผ่านมา เป็นผลมาจากการถูกโจมตีทางอากาศ เหตุดังกล่าวทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 10 ราย บาดเจ็บราว 22 ราย รถบรรทุกถูกทำลาย 17 คัน และสิ่งของบรรเทาทุกข์เสียหายจำนวนมาก 

 

 

 

 

 

ผลการสืบสวนบ่งชี้ว่า การโจมตีมาจากอากาศยานจำนวนมาก หลากหลายประเภท และใช้อาวุธหลายชนิด อย่างไรก็ตาม รายงานไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นการโจมตีโดยเจตนาหรือไม่ และเป็นการโจมตีของฝ่ายใด กล่าวได้เพียงว่า ไม่น่าจะเป็นฝีมือของกลุ่มกบฏ และมีเพียงเครื่องบินรบของกองทัพซีเรีย รัสเซีย หรือกองกำลังร่วมสหรัฐฯ เท่านั้น ที่มีศักยภาพเพียงพอ รายงานยังกล่าวต่อว่า มีความเป็นไปได้สูงว่าไม่น่าจะเป็นฝีมือของกองกำลังร่วมสหรัฐฯ

 

ทั้งนี้ คณะกรรมการสืบสวนกรณีซีเรีย ถูกจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2554 เพื่อสอบสวนความการก่ออาชญากรรมสงครามที่อาจขึ้นในสงบครามกลางเมืองซีเรีย โดยคณะกรรมการฯ อ้างว่า มีรายชื่อผู้ต้องสงสัยจากทุกฝ่ายที่เชื่อว่าได้กระทำการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ โดยยังเรียกร้องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอสซี) นำกรณีสงครามซีเรียเข้าสู่การพิจารณาในศาลอาญาระหว่างประเทศ (ไอซีซี)

 

ส่วนการประชุมของ 15 ประเทศสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ( ยูเอ็นเอสซี ) มีมติเป็นเอกฉันท์ในการประชุมให้การรับรองข้อตกลงหยุดยิงในซีเรียตามการผลักดันของรัสเซียและตุรกี เพื่อไปสู่การเจรจาสันติภาพระหว่างฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายกบฏ ในเดือนม.ค.นี้ ที่กรุงอัสตานา เมืองหลวงของคาซัคสถาน โดยมีรัสเซีย ตุรกี และอิหร่าน ทำหน้าที่ผู้ไกล่เกลี่ย

 

 

 

 


นายวิทาลี เชอร์กิน เอกอัครราชทูตรัสเซียประจำสหประชาชาติ ( ยูเอ็น ) กล่าวภายหลังเสร็จสิ้นหารลงมติ ว่าข้อตกลงหยุดยิงฉบับนี้เป็น เอกสารเพิ่มเติม ไม่ไช่เอกสารแทนที่ความพยายามทั้งหมดของยูเอ็นในการสร้างสันติภาพในซีเรีย ที่รวมถึงการเจรจาครั้งต่อไปในวันที่ 8 ก.พ.นี้ ที่นครเจนีวาด้วย ขณะที่สหรัฐฯ ซึ่งตั้งข้อสงสัยต่อท่าทีของรัสเซียมาตลอด ยอมรับว่าการหยุดยิงครั้งนี้ มีสัญญาณเชิงบวก

 

ทางด้านกระทรวงการต่างประเทศของฝรั่งเศสแสดงความหวังว่าคู่กรณีทุกฝ่ายจะเคารพข้อตกลงหยุดยิงอย่างเรียบร้อยเช่นนี้ต่อไป อย่างไรก็ตาม หลายฝ่ายขอให้รัสเซียและตุรกีชี้แจงเพิ่มเติมเกี่ยวกับขั้นตอนการส่งมอบความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และข้อตกลงส่งผลต่อกลุ่มกบฏที่อยู่นอกจังหวัดอเลปโป



ส่วนข้อตกลงหยุดยิงที่มีรัสเซียและตุรกีเป็นคนกลาง เข้าสู่วันที่ 2 ชองการบังคับใช้ ซึ่่งส่วนใหญ่ยังได้รับการยึดถือ ขณะที่มอสโกและอังการา ประสานงานกันใกล้ชิดขึ้นในประเด็นซีเรีย
       
       กลุ่มสังเกตการณ์เพื่อสิทธิมนุษยชนในซีเรีย ซึ่งมีสำนักงานในอังกฤษ ระบุว่าสถานการณ์ในซีเรียในวันเสาร์ ยังคงสงบ แม้มีการปะทะบ้างกันประปราย
       
       ข้อตกลงดังกล่าวไม่นับรวมกลุ่มนักรบญิฮาดอย่างกลุ่มไอเอส และอดีตกลุ่มฟาเตห์ อัล-ชาม ฟรอนต์ เครือข่ายของอัลกออิดะห์
       
       ตุรกีและรัสเซีย บอกว่าการเจรจาที่อัสตานา จะเป็นส่วนเสริม ไม่ใช่การแทนที่ความพยายามสันติภาพที่สนับสนุนโดยสหประชาชาติ ในนั้นรวมถึงการเจรจาที่เจนีวา ซึ่งกำหนดไว้ในเดือนกุมภาพันธ์

 

 


       
       สหรัฐฯไม่มีส่วนร่วมในกระบวนการใหม่นี้ แต่เรียกข้อตกลงดังกล่าวว่าเป็นสัญญาณเชิงบวก ส่วนรัฐบาลซีเรียในดามันกัส บอกว่าข้อตกลงหยุดยิงคือโอกาสที่แท้จริงในการหาทางออกทางการเมืองแก่สงครามที่คร่าชีวิตผู้คนไปแล้วกว่า 310,000 ศพ

ก่อนหน้านี้ทางด้านประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย ได้แถลงข้อตกลงหยุดยิงทั่วประเทศระหว่างรัฐบาลซีเรียและพวกกลุ่มกบฎ ซึ่งจะเริ่มมีผลบังคับใช้นับตั้งแต่เที่ยงคืนวันพฤหัสบดี ที่ 29ธ.ค. เป็นต้นไป
       
       คำแถลงของรัสเซียมีขึ้นหลังจากรัสเซีย อิหร่านและตุรกี บอกว่าพวกเขาพร้อมเป็นคนกลางของข้อตกลงสันติภาพในสงครามกลางเมืองซีเรียที่ยืดเยื้อมาเกือบ 6 ปีแล้ว กองทัพซีเรียแถลงหยุดการสู้รบทั่วประเทศ แต่บอกว่าพวกไอเอส และกลุ่มก่อการร้ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสองกลุ่มนี้ จะไม่ถูกนับรวมในข้อตกลงดังกล่าว แต่ไม่ได้ยืนยันว่ามีกลุ่มใดบ้างที่ถูกกีดกันจากข้อตกลงหยุดยิงทางด้านฝั่งกลุ่มกบฎ ก็เห็นด้วยกับแผนหยุดยิง 



 

       
       ทางด้านผู้นำรัสเซีย ได้เปิดเผยว่ากลุ่มกบฏและรัฐบาลซีเรีย ลงนามในเอกสารจำนวนมาก ในนั้นรวมถึงการหยุดยิง ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในช่วงค่ำคืนวันที่ 29-30 ธันวาคม  นอกจากนั้น ก็บอกบอกต่อว่า ทางด้านรัสเซีย ก็จะทำการลดการประจำการของทหารในซีเรีย อีกด้วย

 

 

 

 

 

 

 

ส่วนทางด้านสหรัฐฯไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเจรจานี้ และไม่มีคิวเข้าร่วมการเจรจาสันติภาพรอบต่อไปในกรุงอัสตานา เมืองหลวงของคาซัคสถาน พันธมิตรหลักของรัสเซีย       การไม่มีส่วนร่วมของสหรัฐฯ ตอกย้ำให้เห็นถึงความรู้สึกผิดหวังมากขึ้นเรื่อยๆของตุรกี และรัสเซีย ต่อนโยบายซีเรียของสหรัฐฯ อย่างไรก็ตามนายเซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย บอกว่าอเมริกาควรเข้ารวมกระบวนการสันติภาพ เมื่อว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เข้ารับตำแหน่ง  โดยข้อตกลงนี้ซึ่งมีตุรกีและรัสเซียรับหน้าที่เป็นผู้ค้ำประกัน เกิดขึ้นแม้ว่าตุรกี และรัสเซีย จะให้การสนับสนุนคนละฟากฝั่งของสงคราม โดยตุรกียืนกรานว่าประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด ต้องลงจากอำนาจ แต่รัสเซียให้การสนับสนุนผู้นำรายนี้
       
       นอกจากนั้นความต้องการของกองทหารจากฮิซบอลเลาะห์  ก็ไม่ตรงกับอิหร่าน ผู้สนับสนุนคนสำคัญของผู้นำซีเรีย แม้ว่านักรบฮิซบอลเลาะห์จะสู้รบเคียงข้างกองกำลังรัฐบาลซีเรียเช่นกัน โดยกองกำลังนักรบต่างชาติเหล่านี้ก็ต้องเดินทางออกจากซีเรียเช่นกัน
       
       ภายใต้กรอบข้อตกลงระหว่าง 3 ชาติ ซีเรียอาจถูกแบ่งเป็นโซนของมหาอำนาจในภูมิภาคอย่างไม่เป็นทางการ และ ประธานาธิบดี บาซาร์ อัล-อัสซาด จะยังคงเป็นผู้นำซีเรียต่อไป

 

 

การที่สหรัฐฯ ออกมายอมรับว่าเกิดความผิดพลาด ทำให้มีการโจมตีผิดเป้าหมาย และทำให้พลเรือนเสียชีวิต จำนวนหนึ่งนั้น ก็เป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งว่า ทางด้าน สหประชาชาติ (ยูเอ็น) จะเข้ามาตรวจสอบด้วยหรือไม่ เพราะก่อนหน้านี้ เคยตั้งคณะกรรมการตรวจสอบซีเรีย และ รัสเซียกันมาแล้ว ถ้าให้ดูสง่า งานนี้ ยูเอ็น ต้องไม่เพิกเฉยเรื่องดังกล่าว และ มีคำถามต่อไปว่า การกระทำแบบนี้ “สหรัฐฯ” เป็นอาชญากรสงครามด้วยหรือไม่

 

เรียบเรียงโดย สถาพร สำนักข่าวทีนิวส์