ไม่สอบได้หรือ!! "อินโดนีเซีย" เปิดชื่อผู้รับเงินสินบนจาก "โรลส์-รอยซ์ "  ทันที ส่วน "ไทย"  สื่อนอกเล่นข่าวยังต้องตัดสินใจว่าจะสอบสวนหรือไม่?

คณะกรรมการต่อต้านการทุจริตของอินโดนีเซีย ออกมาระบุผู้กระทำผิดทันทีหลัง บริษัทโรลส์-รอยซ์ ยอมรับติดสินบนเจ้าหน้าที่อินโดนีเซีย

เดอะจาการ์ตาโพส ได้นำเสนอข่าว คณะกรรมการต่อต้านการทุจริตของอินโดนีเซีย ได้ออกมาระบุว่า  เอมีร์ชาห์ ซาตาร์ อดีตประธานผู้อำนวยการการูดา สายการบินแห่งชาติ ในฐานะผู้ต้องสงสัยของคดีรับสินบนอันเกี่ยวข้องกับการจัดซื้อเครื่องยนต์จากโรลส์-รอยซ์  โดยทางด้าน อากุส ราฮาร์โด ประธานคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตของอินโดนีเซีย นั้น ปฏิเสธให้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว
       



คณะกรรมการต่อต้านการทุจริตของอินโดนีเซีย เข้าตรวจค้นสถานที่ 4 แห่งในกรุงจาการ์ตา หลังจากที่   ผู้พิพากษาศาลฎีกาของอังกฤษ อนุมัติข้อตกลงยุติการดำเนินคดีบริษัทโรลส์-รอยซ์ ต่อกรณีผู้ผลิตเครื่องยนต์สำหรับเครื่องบิน สัญชาติอังกฤษแห่งนี้จ่ายสินบนเพื่อให้ได้ขายเครื่องยนต์อากาศยานในอังกฤษ สหรัฐฯ และบราซิล
       
       

บริษัทโรลส์-รอยซ์ แห่งสหราชอาณาจักร ตกลงที่จะจ่ายเงินค่าปรับจำนวน 671 ล้านปอนด์ เพื่อยอมความในคดีสินบนและทุจริต ที่ยื่นฟ้องศาลโดยเจ้าหน้าที่ทางการอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และบราซิล โดยผู้พิพากษาไบรอัน เลวีสัน แห่งศาลสูงสหราชอาณาจักร อนุมัติความตกลงระหว่างการพิจารณาคดี ในศาลกรุงลอนดอน โดยข้อตกลงมีขึ้นหลังการพิจารณาคดีในศาลนาน 4 ปี 


    แถลงการณ์ของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐ และสำนักงานปราบปรามการทุจริตของประเทศอังกฤษ ระบุว่า บริษัทโรลส์-รอยซ์ ตกลงจ่ายค่าปรับให้รัฐบาลสหรัฐ อังกฤษ และบราซิล จำนวน 170 ล้านดอลลาร์สหรัฐ, 497 ล้านปอนด์ และ 25.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ

       
       
ส่วนในอินโดนีเซีย ทางบริษัทได้จ่ายเงินแก่ใครบางคน 2.25 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯและรถยนต์โรลส์-รอยซ์ 1 คัน ตอบรางวัลสำหรับสนับสนุนให้สายการบินแห่งชาติการูดา ใช้เครื่องยนต์เทรนต์ 700 ของทางบริษัท
       
 เอมีร์ชาห์ ซาตาร์ ดำรงตำแหน่งประธานผู้อำนวยการสายการบินการูดา  ถึงปี 2014 คอยดูแลการปรับโครงสร้างหนี้และเสนอขายหุ้นใหม่แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก(ไอพีโอ) เปิดทางให้สายการบินขยายฝูงบินเป็น 134 ลำ และปัจจุบันเขานั่งก้าอี้ประธานมาตาฮารีมอลล์ดอทคอมของลิพโพกรุ๊ป หรือ พีที โกลบอล อีคอมเมอร์ซ อินโดนีเซีย
       
       
       
       

สำนักข่าวเอพี ก็ได้รายงานว่า สำหรับประเทศไทย การบินไทย เปิดเผยในวันพฤหัสบดี ว่าได้ลงมือตรวจสอบกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ที่ถูกเปิดโปงว่าโรลส์-รอยซ์ จ่ายเงินสินบนเพื่อให้ได้มาซึ่งสัญญา ในนั้นรวมถึงบคลากรของสายการบินและเจ้าหน้าที่รัฐ
       
       

สำหรับกรณีของไทยเกิดขึ้นระหว่างปี 2534-2548  ไม่มีการยื่นเรื่องร้องเรียนในเรื่องดังกล่าวและไม่มีรายละเอียดในเรื่องดังกล่าวออกมา

 

 โดยในประเทศไทย นายหน้าได้จ่ายเงินราว 36 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อให้โรลส์-รอยซ์ ได้สัญญา 3 ฉบับสำหรับจัดมอบเครื่องยนต์แก่การบินไทย ทางโรลส์-รอยซ์ ตกลงจ่ายเงิน ให้แก่ตัวแทนระดับภูมิภาค ซึ่งหมายถึงบริษัทท้องถิ่นที่ดูแลในเรื่องการขาย กระจายสินค้าและการบำรุงรักษาในหลายประเทศ ที่ทางโรลส์-รอยซ์เองไม่มีบุคลากรเพียงพอในการดูแล เงินสินบนบางส่วนได้จ่ายให้เป็นรายบุคคล มีทั้งตัวแทนของรัฐและพนักงานของรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง เพื่อให้คนเหล่านี้ดำเนินการในทางที่เป็นประโยชน์ต่อโรลส์-รอยซ์ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อเครื่องยนต์ T 800 ของบริษัทแห่งหนึ่ง


       
       ถ้อยแถลงของการบินไทยระบุว่าทางบริษัทจะรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆเพื่อสืบสวนเรื่องนี้อย่างละเอียด และ ทางสายการบินจะดำเนินการอย่างเหมาะสมกรณีพบการคอรัปชันใดๆ"
       
       สรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เผยกับเอเอฟพีว่าเจ้าหน้าที่ของสำนักงานกำลังหาข้อมูลเพิ่มเติมจากเจ้าหน้าที่อังกฤษและสหรัฐฯ เพื่อตัดสินใจว่าจะดำเนินการสืบสวนด้วยตนเองหรือไม่
       
       พร้อมกันนั้นเขายอมรับว่าคำกล่าวหาบางอย่างที่เปิดโปงโดยคณะสืบสวนอังกฤษอาจเกิดขึ้นนานเกินกว่าที่จะดำเนินคดีทางอาญา แต่ก็ยังพอจะเรียกความเสียหายทางแพ่งได้
       

 บริษัทโรลส์-รอยซ์ ยอมรับว่า ได้จ่ายเงินให้เจ้าหน้าที่บริษัทพลังงานของรัฐบาล 6 ประเทศ ประกอบด้วย คาซัคสถาน ไทย บราซิล อาเซอร์ไบจาน อังโกลา และอิรัก รวมจำนวนกว่า 35 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  เพื่อให้ได้สัญญาทางธุรกิจ โดยกรณีของไทยเกิดขึ้นระหว่างปี 2534-2548


นายวอร์เรน อีสต์ ซีอีโอบริษัทโรลส์-รอยซ์ ได้กล่าวขอโทษ สำหรับแผนการทุจริตติดสินบน และว่า นับตั้งแต่เกิดเรื่องอื้อฉาวบริษัทได้ปรับปรุงแบบยกเครื่อง กฎระเบียบการควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของพนักงาน และตัดลดการใช้คนกลางในการติดต่อธุรกิจ
 

บริษัทโรลส์-รอยส์จ่ายเงินแก่เจ้าหน้าที่ทางการบราซิลรายหนึ่ง จำนวน 1.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยผ่านคนกลาง เพื่อให้ได้สัญญาจัดซื้ออุปกรณ์น้ำมันจากบริษัทปิโตรบาส์

ส่วนกรณีที่อิรักคนกลางของโรลส์-รอยซ์ติดสินบนเจ้าหน้าที่ทางการอิรักหลายคน หลังจากเจ้าหน้าที่เหล่านี้แสดงความวิตกเกี่ยวกับเครื่องยนต์ใบพัดที่บริษัทได้ขายให้ การจ่ายสินบนเพื่อชักจูงใจให้เจ้าหน้าที่อิรักยอมรับมอบเครื่องยนต์ และป้องกันไม่ให้อิรักขึ้นบัญชีดำบริษัทโรยส์-รอยซ์ จากการทำธุรกิจในอิรักในอนาคต

 

เรียบเรียงโดย สถาพร สำนักข่าวทีนิวส์