ยุ่งเรื่องเขาไปทั่ว ประเทศตัวเองจะไม่รอดอยู่นะ!! "โดนัลด์ ทรัมป์" เรียกร้อง "รัสเซีย"  ส่งมอบ "ไครเมีย" คืน "ยูเครน"

นายฌอน สไปเซอร์ โฆษกทำเนียบขาว ได้แถลงว่าประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ มีความคาดหวัง ที่จะให้รัสเซีย นั้นช่วยบรรเทาสถานการณ์รุนแรงในยูเครน

สำนักข่าวรอยเตอร์ ได้รายงานข่าว  นายฌอน  สไปเซอร์ โฆษกทำเนียบขาว ได้แถลงว่าประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ มีความคาดหวัง ที่จะให้รัสเซีย นั้นช่วยบรรเทาสถานการณ์รุนแรงในยูเครน และยอมส่งมอบ ไครเมีย คือให้กับทางยูเครน

ถึงแม้ว่าทางผู้นำสหรัฐฯ จะมีความคิดเห็นดังกล่าว แต่ทาง นาฌอน สไปเซอร์ ก็ได้ย้ำ ถึงผู้นำสหรัฐฯ เองก็มีความมุ่งมั่น ที่จะเสริมสร้างความร่วมมือกับรัสเซีย เช่นกัน เพื่อผลประโยชน์ทั้งในด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ
 

สำหรับการคาดหวังของทางด้านนายโดนัลด์ ทรัมป์ ที่ต้องการให้ทางด้านรัสเซีย นั้นส่งมอบ ไครเมีย คืนแก่ ยูเครน ก็เพื่อสนับสนุนถ้อยแถลงของนางนิกกี เฮลีย์ เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำสหประชาชาติ ( ยูเอ็น )  ซึ่งได้กล่าวในนามประธานาธิบดีสหรัฐฯ ว่ารัฐบาลสหรัฐฯ จะยังคงมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อรัสเซียต่อไป จนกว่าอีกฝ่ายจะส่งมอบไครเมียคืนให้แก่ยูเครน

รัสเซียผนวกรวมคาบสมุทรไครเมียที่อยู่ทางตอนใต้ของยูเครนเมื่อเดือนมีนาคม. 2557 ตามผลการลงประชามติของประชาชนในพื้นที่ หลังอยู่ภายใต้การดูแลของยูเครนซึ่งเป็นดินแดนที่เป็นอดีตสหภาพโซเวียตตั้งแต่ปี 2497

 

ยุ่งเรื่องเขาไปทั่ว ประเทศตัวเองจะไม่รอดอยู่นะ!! "โดนัลด์ ทรัมป์" เรียกร้อง "รัสเซีย"  ส่งมอบ "ไครเมีย" คืน "ยูเครน"

 

 

วิกฤตการณ์ไครเมีย พ.ศ. 2557 เป็นวิกฤตการณ์ทางการทูตในเขตปกครองตนเองไครเมีย ประเทศยูเครน อันเป็นผลสืบเนื่องจากการปฏิวัติยูเครน พ.ศ. 2557 ซึ่งโค่นรัฐบาลประธานาธิบดีวิคเตอร์ ยานูคอวิชในเคียฟ เมืองหลวงของประเทศ ตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ มีกลุ่มชาติพันธุ์รัสเซียบางกลุ่มจัดการประท้วงคัดค้านเหตุการณ์ในเคียฟ และต้องการความสัมพันธ์หรือบูรณาการกับประเทศรัสเซียใกล้ชิดยิ่งขึ้น นอกเหนือไปจากการเพิ่มอัตตาณัติหรือให้เอกราชแก่ไครเมียถ้าเป็นไปได้  การประท้วงบางจุดมิได้ทั้งเกิดขึ้นเองหรือจำกัดอยู่บริเวณใดบริเวณหนึ่งทั้งหมด  กลุ่มอื่น ซึ่งที่โดดเด่นประกอบด้วยชาวตาตาร์ไครเมียและชาติพันธุ์ยูเครน เดินขบวนสนับสนุนการปฏิวัติ[  ยานูคอวิชที่ถูกโค่นอำนาจลี้ภัยไปยังรัสเซีย และเรียกร้องให้กองทัพรัสเซียเข้าแทรกแซงและรักษา "กฎหมายและความสงบเรียบร้อย" ในยูเครน โดยเฉพาะอย่างยิ่งไครเมีย อย่างลับ ๆ

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ ทหารติดอาวุธและสวมหน้ากากโดยไม่มีเครื่องยศซึ่งมีพฤติการณ์นิยมรัสเซียยึดอาคารสำคัญจำนวนหนึ่งในไครเมีย รวมทั้งอาคารรัฐสภาและท่าอาากศยานสองแห่ง  กลุ่มชายดังกล่าวทำลายโทรคมนาคมและบริการอินเทอร์เน็ตแทบทั้งหมดระหว่างไครเมียกับยูเครนส่วนที่เหลือ ภายใต้การปิดล้อมและมีผู้ชุมนุมอยู่ภายใน สภาไครเมียสูงสุดปลดรัฐบาลของสาธารณรัฐปกครองตนเองและเปลี่ยนตัวประธานสภารัฐมนตรีไครเมีย อะนาโทลีย์ มอฮิลอว์ (Anatolii Mohyliov) เป็นเซร์ฮีย์ อัคซอนอว์ (Sergey Aksyonov)  กองกำลังรัสเซียซึ่งประจำอยู่ในไครเมียตามความตกลงทวิภาคีได้รับการเสริมกำลังและเรือรบสองลำจากกองเรือบอลติกของรัสเซียละเมิดน่านน้ำยูเครน รัฐบาลยูเครนกล่าวหารัสเซียว่าแทรกแซงกิจการภายในของรัสเซีย ขณะที่ฝ่ายรัสเซียปฏิเสธการกล่าวหาดังกล่าวอย่างเป็นทางการ

วันที่ 1 มีนาคม รัฐสภารัสเซียให้อำนาจประธานาธิบดีวลาดีมีร์ ปูตินใช้กำลังทหารในยูเครน หลังมีการร้องขอความช่วยเหลือจากผู้นำนิยมรัสเซียอย่างไม่เป็นทางการที่เพิ่งได้รับแต่งตั้ง เซร์ฮีย์ อัคซอนอว์  รักษาการประธานาธิบดียูเครน โอเล็กซันดร์ ทูร์ชินอฟ (Oleksandr Turchynov) มีคำสั่งว่าการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีไครเมียไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ  แหล่งข่าวฝ่ายนิยมรัฐบาลอ้างว่าอาจมีการปลอมแปลงระหว่างการลงมติจัดการลงประชามติเอกราชปี 2557 และการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลในไครเมีย  สำนักงานอัยการสูงสุดแถลงว่า ผลใด ๆ จากการลงประชามติแย้งกับรัฐธรรมนูญแห่งยูเครนและไครเมีย ซึ่งต้องมีการลงประชามติทั่วประเทศ  ผู้นำชาวตาตาร์ไครเมียกล่าวว่าพวกตนจะไม่เข้าร่วมหรือยอมรับการลงประชามติแยกประเทศใด ๆ

วันที่ 2 มีนาคม ยูเครนประกาศพร้อมรบเต็มกำลังและระดมพลทั่วประเทศ  รองนายกรัฐมนตรีไครเมีย Rustam Temirgaliev รายงานว่ากองกำลังติดอาวุธทั้งหมดในดินแดนไครเมียล้วนถูกปลดอาวุธหรือเปลี่ยนฝ่ายแล้ว  กระทรวงกลาโหมยูเครนอ้างว่ารายงานเหล่านี้ไม่เป็นความจริง  ไม่นานจากนั้น หัวหน้ากองทัพเรือยูเครน Denis Berezovsky ประกาศในแถลงการณ์ทางโทรทัศน์ว่าเขาปฏิเสธไม่ปฏิบัติตามคำสั่งจากรัฐบาลที่ประกาศตนเองในเคียฟและประกาศความภักดีต่อทางการและประชาชนไครเมีย นายกรัฐมนตรีรัสเซีย ดมิทรี เมดเวเดฟ ประณามรัฐบาล Yatsenyuk ว่าไม่ชอบธรรม กองทัพเรือรัสเซียเริ่มการฝึกซ้อมทางทหารในมณฑลคาลินินกราด ใกล้กับพรมแดนลิทัวเนียและโปแลนด์ ประธานาธิบดีลิทัวเนียและโปแลนด์เรียกร้องการหารือตามสนธิสัญญานาโต ข้อ 4 วันเดียวกัน ช่องโทรทัศน์ที่รัฐบาลรัสเซียเป็นเจ้าของบางส่วน แชแนลวันรัสเซีย ออกรายงานเน้นว่า ชาวยูเครน 140,000 คนได้หลบหนีมายังรัสเซียผ่านพรมแดน ซึ่งได้เกิดการโต้เถียงเพราะรายงานดังกล่าวรวมภาพการจราจรติดขัดบนถนนไปยังโปแลนด์ มิใช่รัสเซีย

สภาแอตแลนติกเหนือและสหภาพยุโรปจะจัดการประชุมสุดยอดผู้นำฉุกเฉินในประเด็นดังกล่าว สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนีและสหภาพยุโรปประณามรัสเซีย โดยกล่าวหาว่ารัสเซียละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศและละเมิดอธิปไตยของยูเครน

วันที่ 4 มีนาคม ปูตินหยุดการฝึกซ้อมทางทหารและถอนกำลังกลับจากพรมแดนยูเครน[  ปูตินแถลงในการจัดประชุมผู้สื่อข่าวว่าทหารที่ยึดครองฐานทัพมิใช่ทหารรัสเซีย หากแต่เป็นกำลังป้องกันตนเองท้องถิ่น เขากล่าวว่าขณะนี้ยังไม่มีความจำเป็นที่จะส่งกองกำลังเข้าไปในยูเครน แต่รัสเซียสงวนสิทธิที่จะใช้ทุกวิถีทางเป็นทางเลือกสุดท้ายต่อความเสี่ยงเกิดอนาธิปไตย ปูตินแถลงสนับสนุนการกำหนดการปกครองด้วยตนเองของชาวไครเมียเพื่อตัดสินสถานภาพของตนเกี่ยวกับยูเครน แต่อ้างว่ารัสเซียจะไม่ผนวกไครเมียด้วยกำลัง

สภาไครเมียสูงสุดลงมติเมื่อสมัยประชุมวันที่ 6 มีนาคมว่าด้วยการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐรัสเซียอย่างเต็มตัวหลังเป็นส่วนหนึ่งของประเทศยูเครนมานานกว่า 6 ทศวรรษการวินิจฉัยของสภาสูสุดจะถูกเสนอต่อชาวไครเมียผ่านการลงประชามติหากรัสเซียรับคำร้องดังกล่าว การลงประชามติเดิมประกาศกำหนดไว้เมื่อวันที่ 30 มีนาคม จะเลื่อนขึ้นมาเป็นวันที่ 16 มีนาคม 2557 และคำถามจะถูกเปลี่ยนเพื่อสะท้อนการลงมติเมื่อวันที่ 6 มีนาคมของสภาสูงสุดว่าจะสนองรับการรวมชาติกับรัสเซียหรือไม่

ในวันที่ 9 มีนาคม ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีมีร์ ปูติน โทรศัพท์ถึงนายกรัฐมนตรีเยอรมนี อังเกลา แมร์เคิล และนายกรัฐมนตรีอังกฤษ เดวิด แคเมอรอน โดยปกป้องการเคลื่อนไหวเพื่อแยกตัวออกของผู้นำไครเมียนิยมรัสเซีย โดยกล่าวว่า พฤติการณ์ของพวกเขามุ่งเพื่อปดป้องผลประโยชน์อันชอบธรรมของประชากรในพื้นที่ อย่างไรก็ดี แมร์เกิลบอกปูตินว่า การลงประชามติดังกล่าวละเมิดรัฐธรรมนูญยูเครนและขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ

วันที่ 11 มีนาคม รัฐสภาไครเมียลงมติและอนุมัติคำประกาศอิสรภาพสาธารณรัฐปกครองตนเองไครเมียและนครเซวัสโตปอลจากยูเครน ตั้งเป็นสาธารณรัฐไครเมีย โดยมีมติเห็นชอบ 78 เสียง จากทั้งหมด 100 เสียง

วันที่ 15 มีนาคม รัสเซียยับยั้งข้อมติสหประชาชาติที่ประกาศให้การลงประชามติในวันรุ่งขึ้นว่าด้วยสถานภาพในอนาคตของสาธารณรัฐปกครองตนเองไครเมียไม่สมบูรณ์ มีประเทศสมาชิก 13 ประเศเห็นชอบ ได้แก่ สหรัฐ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก ชิลี อาร์เจนตินา ลิทัวเนีย จอร์แดน ไนจีเรีย ชาด รวันดา ออสเตรเลียและเกาหลีใต้ ส่วนจีนงดออกเสียง วันที่ 16 มีนาคม ชาวไครเมียออกเสียงในการลงประชามติว่าจะเข้าร่วมกับรัสเซียอีกครั้งหรือคืนสู่สถานภาพก่อนรัฐธรรมนูญปี 2535 รัฐมนตรีกลาโหมยูเครนและรัสเซียตกลงพักรบในไครเมียกระทั่งวันที่ 21 มีนาคม

วันที่ 17 มีนาคม รัฐสภาไครเมียประกาศอิสรภาพจากยูเครนอย่างเป็นทางการ และขอเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐรัสเซียอย่างเต็มตัว รัสเซียรับรองเอกราชของไครเมียในวันเดียวกัน

วันที่ 27 มีนาคม สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติผ่านข้อมติไม่มีผลผูกมัดประกาศให้การลงประชามติไครเมียที่รัสเซียหนุนหลังเป็นโมฆะ โดยมี 100 ประเทศลงมติรับ 11 ประเทศลงมติไม่รับ และ 58 ประเทศงดออกเสียง

วันที่ 15 เมษายน รัฐสภายูเครนประกาศว่าไครเมียเป็นดินแดนที่ถูกรัสเซียยึดครองชั่วคราว

 

 

ยุ่งเรื่องเขาไปทั่ว ประเทศตัวเองจะไม่รอดอยู่นะ!! "โดนัลด์ ทรัมป์" เรียกร้อง "รัสเซีย"  ส่งมอบ "ไครเมีย" คืน "ยูเครน"

 

สาธารณรัฐไครเมีย (อังกฤษ: Republic of Crimea; รัสเซีย: Респýблика Крым, ยูเครน: Республіка Крим) (ตาตาร์ไครเมีย Къырым Джумхуриети) เป็นสาธารณรัฐที่ประกาศตนเป็นส่วนหนึ่งของประเทศรัสเซีย ถือครองดินแดนส่วนใหญ่ของคาบสมุทรไครเมียในทะเลดำ ทางใต้ของประเทศยูเครน อธิปไตยเหนือดินแดนดังกล่าวยังพิพาทกันระหว่างประเทศยูเครนกับรัสเซีย

สาธารณรัฐไครเมียก่อตั้งขึ้นจากผลแห่งการลงประชามติไครเมีย พ.ศ. 2557 เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2557 โดยรัสเซียรับรองเอกราชของสาธารณรัฐไครเมียในวันเดียวกับที่ก่อตั้ง ในวันรุ่งขึ้น ประเทศดังกล่าวขอเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของประเทศรัสเซีย และมีการลงนามร่างกฎหมายเพื่อเปิดทางให้ดำเนินการได้ ซึ่งการรวมไครเมียเข้ากับรัสเซียดังกล่าวไม่ได้รับการรับรองจากนานาชาติโดยทั่วไป การขอเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียได้รับสิทธิแยกกัน โดยสิทธิหนึ่งแก่อดีตสาธารณรัฐปกครองตนเองไครเมีย และอีกสิทธิหนึ่งแก่เซวัสโตปอล

วันที่ 18 มีนาคม 2557 รัสเซียและไครเมียได้ลงนามสนธิสัญญาการเข้าร่วมของสาธารณรัฐไครเมียและเซวัสโตปอลในสหพันธรัฐรัสเซียหลังการปราศรัยต่อรัฐสภาของประธานาธิบดีปูติน ในช่วงเปลี่ยนผ่านซึ่งจะมีถึงวันที่ 1 มกราคม 2558 ทั้งสองฝ่ายจะระงับประเด็นการรวมเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของไครเมียและเซวัสโตปอล "ในระบบเศรษฐกิจ การเงิน สินเชื่อ และกฎหมายของสหพันธรัฐรัสเซีย"

จนถึงวันที่ 18 มีนาคม 2557 มีเพียงสี่ประเทศเท่านั้นที่รับรองเอกราชของสาธารณรัฐไครเมีย โดยมีหนึ่งประเทศที่เป็นรัฐสมาชิกสหประชาชาติ คือ รัสเซีย อับฮาเซีย นากอร์โน-คาราบัค และเซาท์ออสซีเชีย


ยุ่งเรื่องเขาไปทั่ว ประเทศตัวเองจะไม่รอดอยู่นะ!! "โดนัลด์ ทรัมป์" เรียกร้อง "รัสเซีย"  ส่งมอบ "ไครเมีย" คืน "ยูเครน"

Sathaporn Tnews