ผู้นำทำผิดกฎหมาย!! ทนายความสหรัฐฯ ชี้ “โดนัลด์ ทรัมป์” สั่งยิงขีปนาวุธใส่ “ซีเรีย” ไม่ผ่านสภาคองเกรส ผิดรัฐธรรมนูญ และ กฎบัตรสหประชาชาติ

นายโดนัลด์ ทรัมป์ สั่งยิงขีปนาวุธผิดกฎหมายหรือไม่

เว็บไซต์ไทยทริบูน ได้นำเสนอข่าว กรณีนายแดนนี่ เซวาลลอส ทนายความอเมริกัน ได้เขียนบทความลงในสำนักข่าวซีเอ็นเอ็นด้วยการตั้งคำถามว่า นายโดนัลด์ ทรัมป์ สั่งยิงขีปนาวุธผิดกฎหมายหรือไม่ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
 

ประธานาธิบดีโดนัล์ ทรัมป์ สั่งยิงขีปนาวุธโทมาฮอว์ก 59 ลูกโจมตีสนามบินเซย์รัต ของซีเรียได้รับทั้งคำชมและการวิพากษ์วิจารณ์ โดยคำสั่งดังกล่าวอาจกล่าวได้ว่าผิดกฎหมาย
 

หากจะพูดถึงเรื่องความเป็นธรรมแล้ว อำนาจของประธานาธิบดีในการสั่งยิงขีปนาวุธเข้าใส่ประเทศอื่นโดยไม่ได้ผ่านการลงมติจากสภาคองเกรส กลายเป็นเรื่องคลุมเครือต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญในยุคปัจจุบัน เพราะความเป็นจริงแล้วตามกฎหมายรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ มาตรา 1 อนุมาตรา 8 ระบุไว้ว่าสภาคองเกรสมีอำนาจในการประกาศสงคราม,อำนาจจัดเก็บภาษี,ภาษีศุลกากร,ภาษีนำเข้าและภาษีสรรพสามิต เพื่อที่จะนำไปจ่ายหนี้,นำไปจ่ายงบประมาณป้องกันประเทศและสวัสดิการทั่วไปของสหรัฐฯ

รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่าประธานาธิบดีคือผู้บัญชาการสูงสุด ของกองทัพบกและกองทัพเรือสหรัฐฯ จะต้องทำเต็มความสามารถของตนในการ “รักษา,คุ้มครองและปกป้องรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา”

นอกเหนือไปจากรัฐธรรมนูญแล้ว การออกกฎหมายของรัฐบาลกลางรวมทั้งกฎหมายระหว่างประเทศก็ยังมีข้อถกเถียงเรื่องอำนาจของฝ่ายบริหาร ตัวอย่างเช่นกฎหมายว่าด้วยการแก้ปัญหาสงคราม 1973 จำกัดอำนาจของประธานาธิบดี ในการที่จะนำกองทัพเข้าไปสู่ความขัดแย้งได้ ประธานาธิบดีจะต้อง

(1) ประกาศสงคราม

(2) ได้รับอนุญาตตามกฎหมายที่กำหนดไว้ หรือ

(3) เกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นโดยเหตุนั้นจะทำร้ายประเทศสหรัฐอเมริกาหรือทำร้ายทหารอเมริกัน

ขณะที่การใช้เหตุผลทาง“มนุษยธรรม”เป็นข้ออ้างในการโจมตีดูเหมือนจะเป็นจุดมุ่งหมายทางศีลธรรมอันน่ายกย่อง, แต่อาจไม่ใช่เหตุผลที่ถูกต้องในการโจมตีภายใต้กฎหมายภายในประเทศสหรัฐฯ ส่วนเรื่องนานาชาติว่าด้วยกฎบัตรของสหประชาชาติปรากฏว่าห้ามแทรกแซงทางทหารในต่างประเทศโดยสิ้นเชิง เว้นแต่จะได้รับการอนุมัติจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติแล้ว อีกทั้งการใช้กำลังทหารนั้นเพื่อป้องกันประเทศของตัวเอง

ประธานาธิบดีมีวิธีการง่ายๆในข้อจำกัดทางกฎหมายเหล่านี้

อย่างไรก็ตาม เขาลงมือทำในสิ่งที่เขาต้องการ หากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ คงยืนยันว่ามีอำนาจหน้าที่ เขาจะต้องได้รับการหนุนหลังจากสภาคองเกรสหรืออย่างน้อยสภาคองเกรสก็ทำเป็นเพิกเฉยไม่โต้แย้งใดๆ และศาลรัฐบาลกลางก็คงไม่ยุ่งเกี่ยวกับกรณีนี้

 

คำถามมีว่า ประธานาธิบดีสั่งโจมตีทางอากาศได้อย่างไร ในเมื่อละเมิดรัฐธรรมนูญ,กฎหมายรัฐบาลกลางและกฎหมายระหว่างประเทศ? คำตอบง่ายๆก็คือประธานาธิบดีคนอื่นๆก็ทำ คำถามนี้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ จะต้องตอบ ที่ผ่านมานั้นประธานาธิบดีคนอื่นที่รณรงค์โจมตีประเทศอื่น ด้วยเหตุผลทางด้านมนุษยธรรม อาทิเช่น บิล คลินตัน สั่งลงมือในโคโซโวรวมทั้งเข้าไปแทรกแซงในเฮติและบอสเนีย ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ส่งทหารเข้าปฏิบัติการในลิเบียรวมทั้งขู่ว่าจะดำเนินการในซีเรียด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ตามทั้งคลินตันและโอบามาลงมือเพราะได้รับอนุญาตจากสภาคองเกรส แต่ก็มีเงื่อนไขว่าการปฏิบัติการทางทหารจะต้องไม่ยกระดับไปสู่ “สงคราม”

 

ฝ่ายบริหารของรัฐบาลคลินตันกำหนดให้ประธานาธิบดีปฏิบัติการทางทหารในต่างประเทศ โดยไม่ได้รับการอนุมัติจากสภาคองเกรสตราบใดที่มี “ผลประโยชน์ของชาติ”เข้ามาเกี่ยวข้อง- เพียงเท่านี้ , แต่กลายเป็นเรื่องบังเอิญในคืนวันพฤหัสบดี (6 เมษายน)เจ้าหน้าที่ของสหรัฐฯยืนยันว่าประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ มีอำนาจภายใต้รัฐธรรมนูญในการใช้กำลังกับต่างประเทศเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของสหรัฐฯ

เป็นเรื่องน่าประหลาดใจมาก หากคุณจะคิดตาม : การยิงจรวดโทมาฮอว์ก 59 ลูกใส่ฐานทหารต่อประเทศที่มีอธิปไตยแห่งดินแดนของตน อาจไม่ใช่ “การทำสงคราม”ตามรัฐธรรมนูญ ในช่วงนั้นผู้ร่างรัฐธรรมนูญไม่ได้มีขีปนาวุธ จึงไม่ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญว่าการใช้ขีปนาวุธโจมตีเป้าหมายในประเทศอื่นๆห่างออกไปนับพันไมล์นั้นเป็น “สงคราม”

แต่ผู้ร่างรัฐธรรมนูญ (สหรัฐ)ในศตวรรษที่ 18 มีความคุ้นเคยเฉพาะแนวคิดเรื่อง “สงครามอันจำกัด” โดยการทำสงครามของทหารจะต้องมีระยะเวลาอันจำกัด ไม่ได้ทำมากกว่าครั้งเดียว ดังนั้นจึงเป็นเรื่องนอกเหนือจินตนาการว่าการยิงขีปนาวุธโทมาฮอว์กและการยิงกระสุนปืนใหญ่ อาจไม่ใช่เรื่องของสงครามที่ต้องขออนุมัติจากสภาคองเกรส

สมาชิกสภาคองเกรสบางคนให้ความเห็นชัดเจนว่าการยิงโทมาฮอว์กครั้งนี้ถือว่าผิดกฎหมาย สมาชิกพรรคเดโมแครตกล่าว ก่อนลงมือยิงประธานาธิบดีโดนัล์ ทรัมป์ จะต้องขออนุมัติจากสภาคองเกรสเสียก่อน

แต่ในท้ายที่สุดการแสดงความคิดเห็นเหล่านั้นอาจเป็นรูปแบบมากกว่าเนื้อหา อีกทั้งมีนักวิชาการคนหนึ่งโต้แย้งว่า “ระบบการเมืองปัจจุบันเปิดแรงจูงใจให้ประธานาธิบดีสั่งการได้เกินเหตุ,สภาคองเกรสมีแรงจูงใจที่จะยอมรับ(การสั่งการ),ศาลมีแรงจูงใจในการสั่งเลื่อน(ปฏิบัติการออกไป)” ในกรณีที่จะมีการปฏิบัติการทางทหารในต่างประเทศ

ประวัติศาสตร์เองก็บอกเราไว้เช่นนี้ แม้ว่าจะมีเสียงวิจารณ์อย่างหนัก สภาคองเกรสอาจจะให้การสนับสนุนหลังจากข้อเท็จจริงปรากฎแล้ว หรือไม่ทำอะไรเลย ส่วนศาลก็ไม่ต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมใดๆ ในอดีตเคยมีสมาชิกสภาคองเกรสนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมว่าประธานาธิบดีใช้กำลังทหารในต่างประเทศถือเป็นการละเมิดกฎหมายรัฐบาลกลางและรัฐธรรมนูญ แต่สภาคองเกรสกลับไม่เห็นด้วย

บางครั้งการประเมินผลการดำเนินการผ่านมุมมองของกฎหมายดูเหมือนจะเป็นเรื่องเล็กน้อย เมื่อเราได้เห็นภาพของเด็กๆที่ถูกแก๊ส (พิษ)โดยรัฐบาลของตน แต่การกระทำอันน่ากลัวเหล่านี้ไม่ใช่การโจมตีสหรัฐหรือกองกำลังทหารสหรัฐแน่นอน

กระนั้นก็ตามเราไม่อาจคาดหวังได้ว่าประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ จะปฏิบัติตามข้อกำหนดทางกฎหมายที่ผู้บริหารก่อนหน้าได้ละเลยหรือตีความใหม่อย่างสะดวกเช่นกัน แม้รัฐธรรมนูญกำหนดให้สภาคองเกรสมีอำนาจพิเศษในการประกาศสงคราม แต่กลับดูเหมือนว่าในยุคปัจจุบันประธานาธิบดีมีอำนาจที่จะเป็นผู้กำหนดว่า"ผลประโยชน์ของชาติ"คืออะไร อีกทั้งเมื่อต้องใช้ขีปนาวุธเป็นครั้งคราวโจมตีสนามบินทหารของประเทศอธิปไตยอื่น (ก็กำหนดว่าคือผลประโยชน์ของชาติ)

แดนนี เซวาลลอส สรุปว่าปัจจุบันเราอาจเข้าสู่ยุควิกฤติด้านมนุษยธรรมในต่างประเทศ พร้อมด้วยการมีประวัติความเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน เพื่ออนุญาตให้ใช้กฎหมายรัฐบาลกลางและรัฐธรรมนูญ แม้ว่าตราบใดที่ตีความว่าไม่ใช่ “สงคราม”