มอนเตเนโกรกลายเป็นสมาชิกลำดับที่ 29 ขององค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือ นาโต อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2560

มอนเตเนโกรกลายเป็นสมาชิกลำดับที่ 29 ขององค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือ นาโต อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2560 นายกรัฐมนตรีดุสโก มาร์โกวิช แห่งมอนเตเนโกรเดินทางไปร่วมพิธีประกาศความเป็นรัฐสมาชิกใหม่ขององค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือ นาโต ที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.

นายกรัฐมนตรีดุสโก มาร์โกวิช ยังได้เข้าพบรองประธานาธิบดี ไมค์ เพนซ์ ที่ทำเนียบขาว แต่ไม่มีโอกาสได้พบกับประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำของสหรัฐฯ เดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา นั้นนายโดนัลด์ ทรัมป์ ได้มีการพบกับทางด้าน ที่กรุงบรัสเซลส์ แต่วันนั้นกลายเป็นว่าสื่อมวลชนจับตากรณีที่ผู้นำสหรัฐฯ นายกรัฐมนตรีดุสโก มาร์โกวิช ของมอนเตเนโกร ได้ เบียดนายกฯ มอนเตเนโกร ออกจากวงสนทนาผู้นำนาโต

นายโดนัลด์ ทรัมป์ เรียกร้องให้รัฐสมาชิกนาโตใช้จ่ายงบกลาโหมเพิ่มขึ้นเพื่อลดภาระที่ตกอยู่กับสหรัฐฯ เป็นส่วนใหญ่ ซึ่ง นายกรัฐมนตรีดุสโก มาร์โกวิช ก็ยืนยันกับ ไมค์ เพนซ์ ว่า มอนเตเนโกรตั้งเป้าใช้จ่ายงบกลาโหมให้ได้ถึง 2% ของจีดีพีภายในปี 2024

 

 

 


ในขณะที่ทางด้านรัสเซีย ก็ได้แถลงขู่ว่าจะต้องดำเนินการ ตามมาตรการบางอย่างกับทางด้าน มอนเตเนโกร โทษฐานเข้าข้างศัตรู และยังประณามประเทศแห่งนี้ว่าคลั่งแนวคิดต่อต้านรัสเซีย ด้านกระทรวงการต่างประเทศรัสเซียระบุว่า มอนเตเนโกรจะต้องรับผิดชอบจากการร่วมมือกับสหภาพยุโรป (อียู) คว่ำบาตรรัสเซียเมื่อปี 2014


ขณะที่ เยนส์ สโตลเตนเบิร์ก เลขาธิการนาโต ระบุว่า การเข้าเป็นสมาชิกใหม่ของมอนเตเนโกรจะเป็นผลดีต่อสันติภาพและความมั่นคงของนานาชาติ เป็นการส่งสัญญาณบอกรัฐอื่นๆ ที่ต้องการเป็นสมาชิกนาโตว่า หากประเทศใดมีการปฏิรูปอย่างแท้จริง ส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย เสริมสร้างหลักนิติธรรมให้แข็งแกร่ง ปรับปรุงกองทัพให้ทันสมัย และพร้อมที่จะมีส่วนอุดหนุนการป้องกันร่วมของเรา ประเทศนั้นๆ ก็สามารถเป็นสมาชิกนาโตได้เช่นกัน

ระวังจะเจอดี!! “รัสเซีย” ขู่ จัดการ “มอนเตเนโกร” อย่างสาสม หลังเข้าเป็นสมาชิกนาโต ชี้ชัด คลั่งแนวคิดต่อต้านรัสเซีย

มอนเตเนโกรซึ่งเป็นอดีตรัฐในสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวียและหวังที่จะได้เป็นสมาชิกอียูในอนาคต กับรัสเซียซึ่งเคยเป็นทั้งพันธมิตรและผู้ลงทุนหลัก ความสัมพันธ์ระหว่างมอนเตเนโกร กับรัสเซีย เริ่มถดถอยลงนับตั้งแต่รัฐบาลมอนเตเนโกรแสดงเจตจำนงที่จะเข้าร่วมกับนาโต ซึ่งเป็นกลุ่มพันธมิตรทางทหารที่ก่อตั้งในปี 1949 เพื่อต่อต้านอิทธิพลของรัสเซีย รัฐบาลมอนเตเนโกร เคยกล่าวหาว่าหน่วยสายลับรัสเซียและพรรคการเมืองท้องถิ่นที่สนับสนุนรัสเซียได้พยายามขัดขวางการเข้าร่วมกลุ่มนาโต ทั้งยังเคยวางแผนลอบสังหารอดีตนายกรัฐมนตรี มิโล ดยูคาโนวิช โดยหวังให้ฝ่ายค้านขึ้นมามีอำนาจแทน ซึ่งแน่นอนว่ารัสเซียนั้นได้ออกมาปฏิเสธเรื่องดังกล่าวมาโดยตลอด และระบุว่ามันเป็นข่าวโคมลอย ไร้สาระ หาความจริงไม่ได้แม้แต่น้อย

 


สัปดาห์ที่ผ่านมาทางด้านกระทรวงการต่างประเทศมอนเตเนโกรได้เรียกทูตรัสเซียมาประท้วง หลัง ส.ส.คนหนึ่งของพรรคประชาธิปไตยแห่งสังคมนิยม ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลถูกกักตัวชั่วคราวที่สนามบินมอสโก ขณะที่นายกรัฐมนตรีดุสโก มาร์โกวิช ของมอนเตเนโกร ระบุด้วยว่า รัสเซียได้จัดทำรายชื่อเจ้าหน้าที่มอนเตเนโกรที่ถูกห้ามเดินทางเข้ารัสเซีย อีกด้วย

 

ระวังจะเจอดี!! “รัสเซีย” ขู่ จัดการ “มอนเตเนโกร” อย่างสาสม หลังเข้าเป็นสมาชิกนาโต ชี้ชัด คลั่งแนวคิดต่อต้านรัสเซีย

ก่อนหน้าที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ จะเข้ารับตำแหน่งผู้นำสหรัฐฯ เคยได้พูดถึงปัญหาของนาโต เอาไว้ 2 ข้อ คือ

ข้อแรกคือล้าสมัยเพราะสถาปนาตั้งแต่สมัยสงครามเย็น บริบทปัจจุบันแตกต่างไปมาก

ข้อ 2 นาโตยังให้ความสำคัญกับก่อการร้ายน้อยเกินไป ในขณะที่สหรัฐฯต้องเสียงบประมาณสนับสนุนมากเกินไป ไม่ยุติธรรมต่อสหรัฐฯ ไม่คุ้มกับประโยชน์ที่ได้ ดังนั้นหากชาติสมาชิกนาโตไม่ช่วยแบกรับภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม จะขอพิจารณาถอนตัวออกจากนาโต

องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organisation: NATO) หรือที่นิยมเรียกสั้นๆ ว่านาโตเกิดขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ต่อต้านสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ เมื่อสิ้นสงครามเย็น ไม่มีสหภาพโซเวียต สหรัฐฯ กับยุโรปตะวันตกต่างตั้งคำถามว่านาโตควรอยู่ต่อไปหรือไม่ ควรปรับตัวอย่างไร

 

 

 

ข้อสรุปคือนาโตควรอยู่ต่อไป เพราะวัตถุประสงค์นาโตไม่ใช่ต่อต้านสังคมนิยมเท่านั้น นับจากปี 1967 ก็ให้ความสำคัญกับการดูแลความมั่นคงของสมาชิกอย่างครอบคลุม

เมื่อสิ้นสงครามเย็น นาโต้เริ่มปรับบทบาทครั้งใหญ่ ปี 1992 ประกาศทำหน้าที่เป็นกองกำลังรักษาสันติภาพ (peacekeeping) มีแนวคิดจัดตั้งหน่วยรบเคลื่อนที่เร็วร่วม (Combined Joint Task Forces: CJTFs) พร้อมจะส่งกองทัพจำนวนหนึ่งไปยังจุดต่างๆ นอกภูมิภาค มีการเอ่ยถึงกลุ่มก่อการร้าย รัฐอันธพาล และเชื่อมโยงพวกเหล่านี้กับอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง (weapons of mass destruction: WMD)

ดังนั้น นาโตจึงปรับตัวเรื่อยมา พยายามปรับตัวให้กับเข้าบริบทใหม่ วัตถุประสงค์ใหม่ ไม่ได้ล้าสมัยดังที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กล่าวหาแต่อย่างใด จุดที่เป็นประเด็นขัดแย้งคือต้องร่วมกับสหรัฐฯ เข้าพัวพันในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลกอย่างเข้มข้นหรือไม่ อาทิเช่น กรณีทำสงครามกับกลุ่มก่อการร้าย ในซีเรียกับอิรักที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ พูดเรื่อยมาว่ายุโรปให้ความร่วมมือน้อยเกินไป ในขณะเดียวกัน ตั้งแต่ก่อตั้งนาโต รัฐบาลสหรัฐฯ พยายามเรียกร้องให้ฝั่งยุโรปแบกรับภาระเพิ่มเติม เป็นความจริงว่างบประมาณกลาโหมฝั่งยุโรปเมื่อเทียบต่อจีดีพีค่อยๆ ลดน้อยลง หลายประเทศไม่ยอมเพิ่มงบประมาณ เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำนาโต พูดย้ำตรงไปตรงมาว่าสัดส่วนที่ชาติยุโรปรับภาระนั้นน้อยเกินไปจนถึงระดับที่อยู่ต่อไม่ได้แล้ว (unsustainable level)

 

กลางเดือนมกราคมที่ผ่านมา Timo Soini รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศฟินแลนด์แสดงความเห็นว่า ที่สุดแล้วชาติสมาชิกนาโตจะเพิ่มงบกลาโหมให้ได้ถึงร้อยละ 2 ของจีดีพีตามที่ตกลงกันไว้ ทั้งยังกล่าวว่ารัฐบาล นายโดนัลด์ ทรัมป์ จะไม่แตกต่างจากรัฐบาลก่อนๆ เมื่อการเจรจาเข้มข้น นาโตจะไม่แตกออก (ฟินแลนด์ไม่ได้เป็นสมาชิกนาโต)