กฎหมายระหว่างประเทศไม่ควรถูกละเมิด และพรมแดนไม่ควรที่จะละเมิดเช่นกัน

กฎหมายระหว่างประเทศไม่ควรถูกละเมิด และพรมแดนไม่ควรที่จะละเมิดเช่นกัน ขณะที่ข้อเรียกร้องให้กาตาร์ปิดฐานทัพอากาศตุรกีนั้นไม่สามารถเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน และยังยืนยันต่อว่า ทางกาตาร์จะไม่สั่งปิดสื่อเคเบิลดาวเทียม อัลจาซีราห์ ตามข้อเรียกร้อง โดยรัฐมนตรีต่างประเทศกาตาร์

บอกแล้วไม่ก้มหัวให้ใคร!! กาตาร์ แถลง ไม่ปฏิบัติตาม 13 ข้อ กลุ่มประเทศอาหรับอันธพาล โดยเด็ดขาด ย้ำ ไม่เคยกลัวหากจะใช้กำลังทหารกดดัน

 

สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานข่าว กรณี ชีค โมฮัมเหม็ด บิน อับดุลราห์มาน อัล-ทานี รัฐมนตรีต่างประเทศกาตาร์ แถลงปฏิเสธข้อเรียกร้องจากซาอุดีอาระเบียที่กำหนดให้กาตาร์ต้องปฏิบัติตามจำนวน 13 ข้อ อันเป็นเงื่อนไขทีจะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างกาตาร์และซาอุฯและชาติพันธมิตรกลับมาเริ่มต้นอีกครั้ง โดยเขาได้ยืนยันว่าวิธีเดียวที่จะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อนบ้านและกาตาร์กลับมาอีกครั้ง ต้องผ่านการเจรจาเท่านั้น ซึ่งคำตอบดังกล่าวนั้น ได้ตอบไปยังกลุ่มประเทศอาหรับที่ได้ยื่นข้อเสนอ 13 ข้อให้กับกาตาร์ และให้เวลา 10 วันในการที่จะตอบว่าจะทำตามหรือไม่ ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 3 กรกฎาคม นี้ ซึ่งการตอบครั้งนี้เป็นการตอบก่อนกำหนดเส้นตายเสียด้วยซ้ำ


“ข้อเรียกร้องทั้งหมดนั้นถูกออกแบบมาเพื่อให้ได้รับการปฏิเสธ ไม่สามารถปฏิบัติตามได้ ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อสำหรับการตอบรับ...หรือการเจรจาต่อรอง”

ซึ่งก่อนหน้านี้ ซาอุฯ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ บาห์เรน และ อียิปต์ ได้ออกมาประกาศก่อนหน้าว่า ข้อเรียกร้องทั้งหมดไม่มีการต่อรอง ซึ่งข้อเรียกร้องทั้ง 13 ข้อนั้น ยังรวมไปถึงตัดความสัมพันธ์กับบรรดากลุ่มก่อการร้าย ปิดสื่ออัลจาซีราห์ ลดระดับความสัมพันธ์กับอิหร่าน และปิดฐานทัพอากาศตุรกีในกรุงโดฮา โดยชีค โมฮัมเหม็ด บิน อับดุลราห์มาน อัล-ทานี ย้ำว่า พิจารณาข้อเรียกร้องและจุดยืนของทางกาตาร์ จึงได้ประกาศถึงเรื่องนี้อย่างชัดเจนตั้งแต่เริ่มแล้วจะไม่ยอมรับสิ่งใดที่จะล้ำอธิปไตยของกาตาร์ หรือสิ่งใดที่ต้องบังคับกาตาร์

บอกแล้วไม่ก้มหัวให้ใคร!! กาตาร์ แถลง ไม่ปฏิบัติตาม 13 ข้อ กลุ่มประเทศอาหรับอันธพาล โดยเด็ดขาด ย้ำ ไม่เคยกลัวหากจะใช้กำลังทหารกดดัน

 

รัฐมนตรีต่างประเทศกาตาร์ ยังย้ำอีกว่า กาตาร์ ไม่มีความหวาดกลัวหากซาอุฯและอีก 3 ชาติเลือกจะใช้เงื่อนไขทางการทหารเข้ารุกราน แต่อย่างไรก็ตาม ชีค โมฮัมเหม็ด บิน อับดุลราห์มาน อัล-ทานี เชื่อว่า ชาติเหล่านี้น่าจะเลือกใช้ช่องทางสันติมากกว่า

โดยเขาย้ำอย่างหนักแน่นว่ากฎหมายระหว่างประเทศไม่ควรถูกละเมิด และพรมแดนไม่ควรที่จะละเมิดเช่นกัน ขณะที่ข้อเรียกร้องให้กาตาร์ปิดฐานทัพอากาศตุรกีนั้นไม่สามารถเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน และยังยืนยันต่อว่า ทางกาตาร์จะไม่สั่งปิดสื่อเคเบิลดาวเทียม อัลจาซีราห์ ตามข้อเรียกร้อง โดยรัฐมนตรีต่างประเทศกาตาร์ กล่าวทิ้งท้ายว่า ประเทศอาหรับอื่นๆ สามารถตั้งสำนักข่าวเพื่อแข่งกับอัลจาซีราห์ ได้


ขณะที่ทางด้านอันวาร์ การ์กาช รัฐมนตรีต่างประเทศยูเออี ยืนยันว่า ทางเลือกของชาติอาหรับไม่ใช่การใช้ความรุนแรง แต่อาจเป็นการบีบให้กาตาร์ออกจากกลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวอาหรับ (จีซีซี)

จีซีซีที่ได้รับการสนับสนุนจากตะวันตก ก่อตั้งขึ้นในปี 1981 ในช่วงการปฏิวัติอิสลามของอิหร่านและช่วงเริ่มต้นสงครามอิหร่าน-อิรัก โดยมีสมาชิก 6 ชาติประกอบด้วยซาอุดีฯ ยูเออี คูเวต กาตาร์ โอมาน และ บาห์เรน

วิกฤตนี้ส่งผลกระทบต่อการเดินทาง การนำเข้าอาหาร และทำให้สถานการณ์ในอ่าวเปอร์เซียตึงเครียดอย่างยิ่ง นอกจากนั้น ยังสร้างความสับสนในภาคธุรกิจ และผลักไสกาตาร์ให้หันไปสนิทชิดเชื้อกับอิหร่านและตุรกีมากขึ้น ขณะที่การส่งออกพลังงานของกาตาร์ไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด กาตาร์นั้นเป็นผู้ส่งออกก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) รายใหญ่ที่สุดของโลก และยังเป็นที่ตั้งฐานทัพใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ ในตะวันออกกลาง