ปัญหาระดับชาติแล้ว!! ทางการเมียนมา ร้องไทยช่วยตรวจสอบ หลังแรงงานเมียนมาโดนเจ้าหน้าที่ด่านชายแดนรีดเงิน

นายทูล วิน ผู้ว่าราชการจังหวัดเมียวดี ได้ทำหนังสือผ่านชุดประสานงานไทย–เมียนมาถึงนายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์ ผู้ว่าฯตาก

นายทูล วิน ผู้ว่าราชการจังหวัดเมียวดี ได้ทำหนังสือผ่านชุดประสานงานไทย–เมียนมาถึงนายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์ ผู้ว่าฯตาก ระบุว่า ขอให้ทางการไทยตรวจสอบ แก้ไขปัญหาการเรียกรับเงินจากแรงงานต่างด้าว สัญชาติเมียนมา ที่เดินทางกลับเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม

วันนี้ (3 ก.ค. 60) – ผู้ว่าราชการจังหวัดเมียวดี ประเทศเมียนมา ทำหนังสือถึงไทย ผ่านผู้ว่าฯตาก ให้ตรวจสอบเจ้าหน้าที่ประจำด่านของไทย เรียกรับเงินจากแรงงานเมียนมา

แรงงานต่างด้าว สัญชาติเมียนมา ยังคงเดินทางกลับไปฝั่งประเทศเมียนมา อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าทางตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดตาก ได้จัดระเบียบให้ข้ามผ่านสะพานมิตรภาพไทย–เมียนมา ด่านพรมแดนไทย–เมียนมา (แม่สอด – เมียวดี) แต่แรงงานชาวเมียนมาจำนวนมาก เดินทางกลับไปผ่านท่าขนส่งสินค้า ที่บ้านท่าอาจ ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด ผ่านเขตอิทธิพลของชนกลุ่มน้อยกะเหรี่ยง ล่าสุด ตั้งแต่วันที่ 29 มิถุนายน 2560 จนถึงขณะนี้ มีแรงงานเมียนมากลับไปกว่า 15,000 คนแล้ว เนื่องจากส่วนมากเป็นแรงงานที่ผิดกฎหมาย ที่ถูกนายจ้างลอยเเพ

ขณะที่นายทูล วิน ผู้ว่าราชการจังหวัดเมียวดี ได้ทำหนังสือผ่านชุดประสานงานไทย–เมียนมาถึงนายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์ ผู้ว่าฯตาก ระบุว่า ขอให้ทางการไทยตรวจสอบ แก้ไขปัญหาการเรียกรับเงินจากแรงงานต่างด้าว สัญชาติเมียนมา ที่เดินทางกลับเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม และถูกเจ้าหน้าที่ไทย ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ เส้นทางสายตาก–แม่สอด เรียกรับเงิน จึงขอให้ฝ่ายไทยตรวจสอบ และแก้ไขปัญหา ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้กระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หลังจากเจ้าหน้าที่ไทยได้รับหนังสือแล้ว จะให้หน่วยงานต่างๆ ตรวจสอบ ถึงพฤติกรรมเจ้าหน้าที่ แต่ยังไม่ทราบว่า เป็นเจ้าหน้าที่ประจำจุดตรวจใด

ส่วนที่จังหวัดเชียงใหม่ บรรยากาศบริเวณถนนอัษฎาธร ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง ซึ่งถูกเรียกว่าเป็นตลาดนัดแรงงานของจังหวัดเชียงใหม่ ไม่คึกคักเหมือนเคย จากที่ก่อนหน้านี้ทุกๆ เช้า จะมีแรงงานต่างด้าวทั้งถูกและผิดกฎหมายที่แฝงตัวมายืนรอการจ้างงาน แต่นับตั้งแต่มีการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าว ด้วยการบังคับใช้พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 ทำให้แรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่เก็บตัว รอดูท่าที ขณะที่บางส่วนก็ทยอยเดินทางกลับภูมิลำเนา เพราะกลัวบทลงโทษที่รุนแรง ที่ผ่านมา กอ.รมน.เชียงใหม่ และเทศบาลนครเชียงใหม่ได้เข้าจัดระเบียบหลายครั้ง แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากแรงงานส่วนใหญ่เป็นแรงงานนอกระบบ

ขณะที่อัตรากลับประเทศ ของแรงงานชาวกัมพูชา ที่ด่านอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้วตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน พบมีแรงงานเดินทางออกนอกประเทศรวม 144 คน และเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งมีจำนวนมากที่สุดในวันที่ 1 กรกฎาคม มีแรงงานชาวกัมพูชาเดินทางกลับประเทศมากถึง 780 คน รวมจำนวน ทั้งสิ้น 3,914 คน


ปัญหาระดับชาติแล้ว!! ทางการเมียนมา ร้องไทยช่วยตรวจสอบ หลังแรงงานเมียนมาโดนเจ้าหน้าที่ด่านชายแดนรีดเงิน


ผู้สื่อข่าวรายงานความเคลื่อนไหวที่ทำเนียบรัฐบาลว่า ช่วงเช้าวันนี้มีการประชุมคณะกรรมการประสานงานสนช. (วิป) เพื่อหารือถึงขั้นตอนการเสนอพ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวให้ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติรับรองหลัง หลังรัฐบาลเตรียมออกคำสั่งตามมาตรา
44 เพื่อชะลอการบังคับใช้ 3 มาตราใน พ.ร.ก.ที่เกี่ยวกับบทลงโทษออกไป 120 วัน

นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ โฆษกคณะกรรมการวิสามัญกิจการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เปิดเผยว่า ในการประชุมวิปรัฐบาล ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ในฐานะเจ้าของเรื่อง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา มาชี้แจงทำความเข้าใจ ถึงสาเหตุทำไมถึงออกพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว รวมทั้งการใช้มาตรา 44 ชะลอการประกาศใช้พ.ร.ก.บริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวออกไป 120 วันให้ที่ประชุมรับทราบ และทางรัฐบาลจะดำเนินการอย่างไรต่อไปหลังครบ 120 วัน

ส่วนสถานการณ์แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานอย่างถูกกฎหมายในประเทศไทยมีอยู่ 1.4 ล้านคน โดยกรุงเทพมหานคร มีแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานมากสุดกว่า 2.4 แสนคน

กรมจัดหางาน กระทรวงแรงงาน รายงานว่า สถานการณ์แรงงานต่างด้าว ณ เดือนพฤษภาคม 2560 คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานอย่างถูกกฎหมายมีจำนวนทั้งสิ้น 1,481,535 คนแบ่งเป็นแรงงานต่างด้าวที่ได้รับใบอนุญาตประเภททั่วไป 102,000 คน เข้ามาทำงานโดยผ่านวิธีพิสูจน์สัญชาติ จำนวน 855,000 คน และนำเข้าตาม MOU จำนวน 4 แสนคน

3 จังหวัดที่มีแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานมากสุด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร 243,000 คน ปทุมธานี 175,000 คน สมุทรสาคร 151,000 คน