เรือหลวงจักรีนฤเบศร ตลอดช่วงอายุประจำการ 19 ปี ได้ออกช่วยเหลือประชาชน ทั้งการกู้ภัยทางทะเล การเป็นฐานทัพและสนามบินเฮลิคอปเตอร์กลางทะเล

เรือหลวงจักรีนฤเบศร ตลอดช่วงอายุประจำการ 19 ปี ได้ออกช่วยเหลือประชาชน ทั้งการกู้ภัยทางทะเล การเป็นฐานทัพและสนามบินเฮลิคอปเตอร์กลางทะเล เป็นฐานปฏิบัติการของชุดเคลื่อนที่และอากาศยานในการนำสิ่งของแจกจ่ายให้กับประชาชนตามหมู่เกาะและพื้นที่ที่ไม่สามารถเข้าถึงทางบกได้ รวมทั้งสิ้น 6 ครั้ง ช่วยเหลือและบรรเทาสาธารณะภัยให้กับประชาชนมากมายนับไม่ถ้วน

 

คุณค่าที่ควรภาคภูมิใจ!! 20 ปี เรือหลวงจักรีนฤเบศร กับภารกิจที่คนไทยควรภาคภูมิใจ ไม่ได้มีไว้ถ่ายรูปแบบที่ใครต่อใครกล่าวหา

 

20 ปี ของเรือหลวงจักรีนฤเบศร ไม่ใช่แค่ ใช้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว ถ่ายรูป ขายของที่ระลึก โกดังเก็บของ ยังไม่เคยบรรทุกเครื่องบินไปรบที่ไหน แบบที่ใครต่อใครกล่าวหา ภารกิจของเรือหลวงลำนี้มีมากมาย แต่หลายคนนั้นไม่เคยทราบ ซึ่งจากสืบค้นข้อมูล สำนักข่าวทีนิวส์ ได้พบข้อมูลอันน่าสนใจ ที่มีการนำเสนอโดยคุณจักรกฤษณ์ จิตรกุล ที่เขียนเอาไว้ในวันที่ 10 กรกฎาคม 2559 เอาไว้ได้อย่างครบถ้วน สมบูรณ์ จึงได้ขอนำมาให้ท่านผู้อ่านได้ภาคภูมิใจกับภาระกิจของเรือหลวงลำนี้

เรือลำนี้สั่งซื้อในปี 2535 ราคา 7,100,000,000 บาท (เจ็ดพันหนึ่งร้อยล้านบาท) ประจำการในปี 2540 เรือหลวง จักรีนฤเบศร/HTMS Chakri Naruebet (CVH-911) เป็น เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์และเครื่องบินขึ้นลงทางดิ่ง ที่ใช้แบบจากเรือบรรทุกเครื่องบินเบาชั้น Principe de Asturias ของกองทัพเรือสเปน โดยสั่งต่อเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2535 ที่ อู่ต่อเรือบาซาน เมืองเฟร์รอล ประเทศสเปน ด้วยงบประมาณ 7,100 ล้านบาท เริ่มวางกระดูกงูเรือในปี 2537 ประกอบเสร็จสิ้นและปล่อยลงน้ำในปี 2539 ก่อนเดินทางมาเข้าประจำการในกองทัพเรือไทย เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2540 ขึ้นระวางเป็นเรือธงและเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกและลำเดียวของกองทัพเรือไทย และยังเป็นเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ขนาดใหญ่ลำแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีระวางขับน้ำ 11,544 ตัน สามารถทนต่อคลื่นลมรุนแรงได้ในระดับ 9 ซึ่งคลื่นมีความสูง 13.8 เมตร สิริรวมอายุประจำการทั้งสิ้น 19 ปี (ถึงปี 2559)

 

คุณค่าที่ควรภาคภูมิใจ!! 20 ปี เรือหลวงจักรีนฤเบศร กับภารกิจที่คนไทยควรภาคภูมิใจ ไม่ได้มีไว้ถ่ายรูปแบบที่ใครต่อใครกล่าวหา

เรือหลวงจักรีนฤเบศร ตลอดช่วงอายุประจำการ 19 ปี ได้ออกช่วยเหลือประชาชน ทั้งการกู้ภัยทางทะเล การเป็นฐานทัพและสนามบินเฮลิคอปเตอร์กลางทะเล เป็นฐานปฏิบัติการของชุดเคลื่อนที่และอากาศยานในการนำสิ่งของแจกจ่ายให้กับประชาชนตามหมู่เกาะและพื้นที่ที่ไม่สามารถเข้าถึงทางบกได้ รวมทั้งสิ้น 6 ครั้ง ช่วยเหลือและบรรเทาสาธารณะภัยให้กับประชาชนมากมายนับไม่ถ้วน
รวมไปถึงเคยเกือบได้ส่งกำลังออกรบในต่างประเทศถึง 1 ครั้ง แต่ก็ไม่มีการใช้กำลังใดๆจน เครื่องบินขับไล่โจมตีแบบ AV-8S ถูกปลดประจำการไปเนื่องจากเก่าและขาดอะไหล่

หากจะกล่าวว่า เรือกู้ภัยจริงๆมีราคาถูกกว่านี้ ทำไมไม่ซื้อเรือกู้ภัยมา... เราต้องปรับมุมมองกันใหม่เรือจักรีนฤเบศร มิใช่เพียงเป็นเรือกู้ภัย และ เป็นมากกว่าแค่ Carrier ที่มีหน้าที่บรรทุกเครื่องบินไปบอมท์ประเทศอื่น

ทุกวันนี้ มันคือ ฐานบัญชาการลอยน้ำ สนามบินเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำและกู้ภัยทางทะเล เป็นเรือพยาบาล(มีห้องผ่าตัดและสามารถรองรับผู้ประสบภัยได้ถึง 26 คน) เป็นศูนย์ช่วยเหลือภัยพิบัติทางทะเลและหมู่เกาะ เป็นฐานเรดาห์ลอยน้ำ ภายใน Platform เดียวกัน ที่สามารถฝ่า คลื่นสูง 13 เมตรที่ Sea State 9 ได้ ทุกวันนี้ เรือในกองทัพเรือน้อยแบบมากที่จะฝ่าคลื่นสูงได้ขนาดนั้นแม้แต่เรือหลวงอ่างทองที่จัดซื้อจากสิงคโปร์ เป็นเรือยกพลขึ้นบกชั้น Endurance Class สามารถรองรับเฮลิคอปเตอร์หนักได้ถึง 2 ลำ อนุมัติจัดซื้อเมื่อปี 2551 ราคา 4,944 ล้านบาท ก็ยังไม่สามารถฝ่าคลื่นสูงดังเช่นที่ จักรีนฤเบศรทำได้

หากถามว่า เหตุใด กองทัพเรือจึงจำเป็นต้องมีเรือที่ฝ่าคลื่นลมแรงขนาดนั้นได้? ต้องย้อนกลับไปดูที่มาที่ไปของโครงการจัดหาเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ลำนี้กัน


คุณค่าที่ควรภาคภูมิใจ!! 20 ปี เรือหลวงจักรีนฤเบศร กับภารกิจที่คนไทยควรภาคภูมิใจ ไม่ได้มีไว้ถ่ายรูปแบบที่ใครต่อใครกล่าวหา
 

ย้อนกลับไปในปี พ.ศ. 2532 ได้เกิดพายุไต้ฝุ่นเกย์ในอ่าวไทยบริเวณจังหวัดชุมพร กองทัพเรือประสบปัญหา คือเรือขนาดใหญ่ที่สุดที่กองทัพเรือมีอยู่ขณะนั้นคือ ร.ล.สุรินทร์ ซึ่งมีระวางขับน้ำประมาณ 4500 ตัน โดยสามารถจอด ฮ.Bell 212 บนดาดฟ้าได้1ลำ ไม่มีโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ และมีความทนทะเลต่ำไม่สามารถทนสภาพทะเลที่มีคลื่นสูงได้ ทำให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยกระทำได้ด้วยความยากลำบาก

กองทัพเรือจึงมีแนวคิดในการมีเรือขนาดใหญ่พร้อมอุปกรณ์ทันสมัยจะสามารถใช้ในการค้นหาและให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเลได้อย่างรวดเร็วและทันการ และหากว่ามีเฮลิคอปเตอร์ประจำการบนเรือจะช่วยขยายพื้นที่ในการลาดตระเวนและระยะเวลาในการปฏิบัติการในทะเลได้เป็นเวลานานและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ประกอบกับในช่วงนั้น เศรษฐกิจของประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น สภาพการเงินดี มีงบประมาณมาก ทางกองทัพเรือจึงมีแนวคิดที่จะพัฒนากำลังทางเรือให้ทันสมัย และมีขีดความสามารถในการออกปฏิบัติการในทะเลเปิดเป็น Blue Navy พอดิบพอดี
ระหว่างนั้นจึงมีการจัดซื้อ เรือฟริเกตใหม่จำนวนมาก โดยภายหลังได้เข้าประจำการในกองทัพเรือ ได้แก่เรือชุดเจ้าพระยา 4 ลำ (2ลำหลังมีลานจอดเฮลิคอปเตอร์) เรือชุดนเรศวร 2ลำ (มีลานจอดและโรงเก็บ เดิมทีสนใจจัดหาฮ.SH-2G Super Sea sprite มือสอง แต่หลายปีต่อมาจัดหาฮ.Super Lynx 300 ซึ่งสมรรถนะสูงกว่ามาใช้งานแทน) และสุดท้ายเรือชุดพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก 2 ลำ (เรือฟริเกตชั้นKnoxมือสองจากสหรัฐ)
แต่นั่นก็ยังไม่เพียงพอ เพราะ กองทัพเรือจะมีเรือที่สามารถเก็บฮ.ขนาด 7 ตันได้เพียง2ลำ (คือเรือชุดนเรศวร ในขณะนั้นยังไม่มีโครงการจัดหาเรือพุทธฯ) และไม่มีเรือที่สามารถรองรับฮ.ขนาด 10 ตันได้เลย....

 

คุณค่าที่ควรภาคภูมิใจ!! 20 ปี เรือหลวงจักรีนฤเบศร กับภารกิจที่คนไทยควรภาคภูมิใจ ไม่ได้มีไว้ถ่ายรูปแบบที่ใครต่อใครกล่าวหา


กองทัพเรือ จึงได้พิจารณาแบบเรือจัดหาเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ 2 แบบจาก 2 บริษัท ได้แก่ Bremer Vulkan และ Fincantieri โดยแบบเรือที่ได้รับการคัดเลือกในครั้งแรกนั้นคือ เรือบัญชาการสนับสนุนการยกพลขึ้นบก ขนาดระวาง 7,800 ตันแบบ HC600PT ของบริษัท Bremer Vulkan เยอรมนี สัญญามีมูลค่า 325 ล้านดอยช์มาร์กในขณะนั้น แต่ได้ทำการยกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 เนื่องจากการอนุมัติส่งออกอาวุธของรัฐบาลเยอรมันนั้นล่าช้าไป 6 เดือนแล้ว และยังไม่มีทีท่าว่าจะอนุมัติเมื่อไหร่...
ในขณะเดียวกับ แบบเรือยกพลขึ้นบกอู่ลอย(LPD)ชั้น San Giorgio จากอิตาลีที่เป็นแบบเรือสำรองนั้น...ไม่ได้รับการจัดหา เนื่องจากทางบริษัทถอนตัวไป เพราะรัฐบาลไม่สามารถให้เงินกู้กับ Fincantieri ไปพร้อมๆกับ Alenia Aeronautica ซึ่งขณะนั้นเสนอเครื่องบินโจมตี AMX ให้กับกองทัพอากาศไทยได้

กองทัพเรือจึงหันไปหาอู่ Bazan ของสเปน โดยได้จัดหาเรือบรรทุกเครื่องบินเบา ระวางขับน้ำ11500ตัน ซึ่งใช้พื้นฐานมาจากเรือบรรทุกเครื่องบินเบา Principe de Asturias เรือธงของกองทัพเรือสเปนในขณะนั้น คณะรัฐมนตรีของไทยได้มีมติเมื่อ 17 มีนาคม พ.ศ. 2535 อนุมัติให้กองทัพเรือว่าจ้างสร้างเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ในลักษณะรัฐบาลต่อรัฐบาล ลงนามโดยรัฐบาลไทยและรัฐบาลสเปนในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2535 เป็นเงิน 7,100 ล้านบาท

เรือหลวงจักรีนฤเบศรเป็นเรือบรรทุกอากาศยานขนาดเล็กที่สุดในโลก เล็กกว่า Principe de Asturias ต้นแบบของเธอเล็กน้อย ซึ่งเดิมที พัฒนามาจากแบบแผนเรือคุมทะเล (Sea Control Ship - SCS) ของกองทัพเรือสหรัฐ โดยลดระวางขับน้ำลง มีระวางขับน้ำเต็มที่ 11,544 ตัน จาก 16,700 ตัน ของเรือพี่ของเธอ เรือหลวงจักรีนฤเบศรมีความเร็วสูงสุด 27 นอต แม้ว่าเรือจะทำความเร็วได้ที่ 17.2 นอตเมื่อใช้เครื่องยนต์ดีเซลเพียงอย่างเดียวเรือมีระยะทำการ 10,000 ไมล์ทะเลที่ความเร็ว 12 นอต

 

โดยกองทัพเรือไทยได้รับเครื่องบินขึ้นลงทางดิ่งแบบ Hawker Siddeley Matador Harrier แบบ AV-8S (ที่นั่งเดี่ยว) และ TAV-8S (สองที่นั่ง) มือสองจากกองทัพเรือสเปนเข้าประจำการจำนวน 9 เครื่อง ภายในวงเงินงบประมาณ ซึ่งนับได้ว่าเป็นการจัดซื้อเรือที่คุ้มค่าที่สุดในของกองทัพเรือในขณะนั้น ด้วยเรือที่แลกมาด้วยคุณภาพในราคาค่อนข้างถูก แม้มีค่าใช้จ่ายสูงเนื่องจากเป็นเรือใหญ่ และประสบปัญหาเกี่ยวกับอากาศยานปีกตรึงแบบ Harrier ที่ต้องปลดประจำการลงหลังประจำการได้เพียง 10 ปี เนื่องจากประสบปัญหาในการจัดซื้ออะไหล่ที่มีราคาแพง และไม่คุ้มค่า รวมไปถึงช่วง 10 ปี หลังวิกฤติการณ์ต้มยำกุ้งปี 2540 ยังทำให้กองทัพเรือไม่มีงบประมาณมากเพียงพอที่จะจัดหา เครื่องบินขึ้นลงทางดิ่งแบบ AV-8B Harrier II มาประจำการทดแทนได้ จึงเป็นอันยุติบทบาทอากาศยานปีกตรึงบนเรือหลวงจักรีนฤเบศรไปนับแต่นั้น
นอกจากอากาศยานปีกตรึงแล้ว กำลังหลักของจักรีนฤเบศรคือ เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำแบบ S-70B Seahawk จำนวน 6 ลำ และเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปแบบ MH-60S Knighthawk ที่จัดซื้อมาภายหลังอีกจำนวน 2 เครื่อง
โดยจักรีนฤเบศรสามารถรองรับเฮลิคอปเตอร์ขนาด 10 ตัน ได้สูงสุดถึง 14 เครื่อง
นอกจากนี้ ระบบอาวุธป้องกันตัวของจักรีนฤเบศรคือ ปืนกล 20 มม. จำนวน 4 แท่น พร้อมแท่นยิงจรวด SADRAL สำหรับยิงจรวดต่อสู้อากาศยานระยะใกล้แบบ Mistral ระยะยิง 6 กม. จำนวน 3 แท่น

นอกจากนี้ ในปี 2555 เรือหลวงจักรีนฤเบศร ยังได้รับการอัพเกรดระบบควบคุมและบังคับบัญชา (Command and Control System) ด้วยการติดตั้งระบบควบคุมและบังคับบัญชารุ่น 9LV Mk.4 รวมถึงระบบเครือข่ายการส่งข้อมูลทางยุทธวิธีหรือ Datalink เพื่อเชื่อมต่อเรือหลวงจักรีนฤเบศรเข้ากับเครื่องบินขับไล่แบบ Gripen และเครื่องบินแจ้งเตือนล่วงหน้าแบบ Saab 340 AEW Erieye ของกองทัพอากาศ และการติดตั้งเรดาร์ตรวจการณ์รุ่น Sea Giraffe AMB บนเรือหลวงจักรีนฤเบศร ซึ่งแล้วเสร็จในปี 2558 ทำให้จักรีนฤเบศร กลายเป็นเรือธงที่มีความพร้อมรบในการสื่อสาร การเป็นศูนย์บัญชาการ และการประสานงานระหว่างกองทัพเรือและกองทัพอากาศอย่างเป็นรูปธรรม
นอกจากนี้ ในการฝึกใหญ่ การฝึกกองทัพเรือประจำปี 2559 กองทัพเรือ ยังได้ส่งเรือหลวงจักรีนฤเบศร พร้อมเรือฟริเกตชุด หลวงนเรเศวร ทั้ง 2 ลำคือ นเรศวร(421) และ ตากสิน(422) ที่ได้รับการปรับปรุงระบบควบคุมและบังคับบัญชาแบบ 9LV และระบบควบคุมการยิงพร้อมอาวุธใหม่ ทั้ง 3 ลำ เข้าทำการฝึกปราบเรือดำน้ำกับกองทัพเรือสหรัฐในระหว่างการฝึก Guardian Sea 2016 บริเวณทะเลอันดามัน โดยจักรีนฤเบศร เป็นฐานบัญชาการให้กับเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำแบบ S-70B Seahawk เข้าทำการค้นหาเป้าเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ USS San Francisco ข้าศึกสมมุติ พร้อมใช้อาวุธทำลายเป้าหมาย ซึ่งผลรวมการฝึกออกมาดีมาก
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการฝึกปฏิบัติการระยะไกลนับจากออกจากท่า เดินทางสู่อันดามัน ก่อนเดินทางกลับมายังอ่าวไทย และทำการฝึกประลองยุทธร่วมกับทัพเรือภาคที่ 2 ในบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง
และทำการฝึกบูรณาการกับกองทัพอากาศในบริเวณอ่าวไทยตอนบน
โดยการฝึกหลัก คือการทดสอบการใช้ระบบ Datalink ประสานการปฏิบัติการซึ่งกันระหว่างเรือรบและอากาศยานของทั้ง 2 เหล่าทัพ โดยการฝึก ประกอบด้วย การลาดตระเวณรบหน้ากองเรือ, การสกัดกั้นทางอากาศ ของกองทัพอากาศ และการฝึก การควบคุมเครื่องบิน Gripen โจมตีเรือผิวน้ำฝ่ายตรงข้ามและการป้องกันภัยทางอากาศของกองเรือ ซึ่งผลรวมการฝึกออกมาได้ดีและมีประสิทธิภาพ

สุดท้ายนี้ เรือจักรีนฤเบศร มิใช่เพียงเรือบรรทุกเครื่องบินที่ล้มเหลวในการไม่มีเครื่องบินประจำการ หรือเรือกู้ภัยที่ราคาแพงเกินความจำเป็น
แต่เธอ คือสิ่งที่ผสมผสานระหว่างทั้ง 2 สิ่ง และเธอเป็นได้มากกว่านั้น แม้จะมีขีดจำกัดทางด้านค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการที่สูงอยู่บ้าง แต่ด้วยสมรรถนะและประสิทธิภาพ เมื่อถึงเวลาที่ต้องเจอกับสิ่งที่เธอถูกสร้างมาให้เป็น เชื่อเถอะ ว่าเธอทำได้ดีกว่า การเป็นแค่อย่างใดอย่างหนึ่ง
เธอคือ เรือหลวง จักรีนฤเบศร เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์/เรือกู้ภัย/เรือบัญชาการ/เรือพยาบาล และ เรือธง ลำแรก และลำเดียวของกองทัพเรือไทย

 

 


จักรกฤษณ์ จิตรกุล
10 ก.ค. 2559

 

คุณค่าที่ควรภาคภูมิใจ!! 20 ปี เรือหลวงจักรีนฤเบศร กับภารกิจที่คนไทยควรภาคภูมิใจ ไม่ได้มีไว้ถ่ายรูปแบบที่ใครต่อใครกล่าวหา