จากพบวงจรสกัดซ้ำเชื้อเพลิงใช้แล้ว โดยมันน่าจะถูกใช้ผลิตพลูโตเนียมไม่ทราบจำนวน ซึ่งจะทำให้ปริมาณอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือเพิ่มขึ้น

เนื่องจากพบวงจรสกัดซ้ำเชื้อเพลิงใช้แล้ว โดยมันน่าจะถูกใช้ผลิตพลูโตเนียมไม่ทราบจำนวน ซึ่งจะทำให้ปริมาณอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือเพิ่มขึ้น ที่ผ่านมานั้นทางด้านเกาหลีเหนือใช้ยูเรเนียมและพลูโตเนียมเป็นวัตถุดิบในการผลิตระเบิดนิวเคลียร์ และเคยนำระเบิดเหล่านั้นมาทดสอบแล้วถึง 5 ครั้ง ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าอาจจะมีครั้งที่ 6 เกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้

“คิม จองอึน”  อาจจะมีนิวเคลียร์มากกว่าที่คิด “สหรัฐฯ” ต้องคิดให้หนักหากจะเปิดฉากถล่ม “เกาหลีเหนือ”

38 North กลุ่มสังเกตการณ์เกาหลีเหนือในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้นำเอาภาพถ่ายดาวเทียมบริเวณห้องปฏิบัติการเคมีรังสีในโรงงานนิวเคลียร์ยองบยอน ระหว่างเดือน กันยาย ปี 2016 - มิถุนายน 2017 โดยนักวิจัยพบว่าการทำงานของเครื่องหมุนเหวี่ยงวัสดุนิวเคลียร์ ซึ่งเกาหลีเหนืออาจใช้เพิ่มความบริสุทธิ์ให้กับแร่ยูเรเนียม อีกหนึ่งวัตถุดิบที่สามารถใช้ทำระเบิดนิวเคลียร์ได้ และได้มีสัญญาณบ่งบอกถึงกิจกรรมระยะสั้นของเตาปฏิกรณ์น้ำมวลเบาซึ่งเป็นอีกหนึ่งความเคลื่อนไหวที่น่ากังวล

เนื่องจากพบวงจรสกัดซ้ำเชื้อเพลิงใช้แล้ว โดยมันน่าจะถูกใช้ผลิตพลูโตเนียมไม่ทราบจำนวน ซึ่งจะทำให้ปริมาณอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือเพิ่มขึ้น ที่ผ่านมานั้นทางด้านเกาหลีเหนือใช้ยูเรเนียมและพลูโตเนียมเป็นวัตถุดิบในการผลิตระเบิดนิวเคลียร์ และเคยนำระเบิดเหล่านั้นมาทดสอบแล้วถึง 5 ครั้ง ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าอาจจะมีครั้งที่ 6 เกิดขึ้นเร็วๆ นี้

ขณะที่อีกด้านหนึ่งนั้นเกาหลีเหนือยังมุ่งมั่นพัฒนาขีปนาวุธพิสัยไกลที่จะสามารถส่งหัวรบนิวเคลียร์ไปโจมตีสหรัฐฯได้ ส่วนนักวิจัยจาก 38 North เคยประเมินไว้เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ว่า เกาหลีเหนืออาจมีระเบิดนิวเคลียร์เก็บเอาไว้ในคลังแสงมากถึง 20 ลูก และมีศักยภาพที่จะผลิตเพิ่มได้ 1 ลูกต่อเดือน
 

 

ซึ่งถึงเวลานี้ ก็น่าจะถึงเวลาแล้วที่ทางด้านสหรัฐ ภายใต้การนำของนายโดนัลด์ ทรัมป์ จะต้องเปิด การเจรจาโดยตรงชนิดไม่มีการกำหนดเงื่อนไขล่วงหน้าใดๆ กับเกาหลีเหนือ เลิกที่จะคิดให้จีนนั้นเป็นผู้เจรจา หรือบีบบังคับให้เกาหลีเหนือหยุดพัฒนาโครงการนิวเคลียร์ และสหรัฐฯเองก็จะต้องหยุดข่มขู่เกาหลีเหนือเรื่องใช้กำลังและอาวุธในการ จัดการขั้นเด็ดขาดกับเกาหลีเหนืออีกต่อไปเพราะมันจะทำให้อีกหลายประเทศในภูมิภาคดังกล่าวได้รับผลกระทบอย่างหนักเช่นเดียวกัน อาทิเช่น เกาหลีใต้ หรือแม้แต่ญี่ปุ่นก็จะได้รับผลกระทบด้วยเช่นเดียวกัน

 

“คิม จองอึน”  อาจจะมีนิวเคลียร์มากกว่าที่คิด “สหรัฐฯ” ต้องคิดให้หนักหากจะเปิดฉากถล่ม “เกาหลีเหนือ”

 

จากการที่เกาหลีทดสอบขีปนาวุธครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งปรากฏว่ามีพิสัยทำการที่มีศักยภาพคุกคามเมืองใหญ่หลายๆ แห่งของอเมริกาได้ ทำให้คณะบริหารโดนัลด์ ทรัมป์ ตกอยู่ในภาวะที่ต้องระมัดระวังมากยิ่งขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาสหรัฐฯ ก็พยายามจะส่งสัญญาณว่าตนเองก็พร้อมที่จะตอบโต้เกาหลีเหนือพร้อมกับเดินหน้าทดสอบ การป้องกัน หากเกิดภัยคุกคามจากเกาหลีเหนือแบบไม่คาดคิด ขณะที่ทางการทูตนั้นทางสหรัฐฯ ก็เดินหน้าบีบให้เกาหลีเหนือต้องยุติดโครงการนิวเคลียร์ และขีปนาวุธอย่างต่อเนื่อง ทั้งประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์, รัฐมนตรีต่างประเทศเร็กซ์ ทิลเลอร์สัน, รัฐมนตรีกลาโหม เจมส์ แมตทิส, และเอกอัครราชทูตประจำสหประชาชาติ นิกกี้ เฮลีย์ ต่างก็ เป็นเสียงเดียวกันว่าปัญหานี้จะคลี่คลายขึ้นมาทันทีหากจีนนั้นกระโดดลงมาช่วยบีบให้เกาหลีเหนือทำตาม

 

แต่ที่ผ่านมาไม่มีเหตุผลใดเลยที่จีนจะต้องทำตามในสิ่งที่สหรัฐฯ ต้องการ
เพราะ จีน กับ เกาหลีเหนือ ไม่ได้มีสัญญาใด ๆ หรือมีเหตุใด ๆ ที่ว่าจีนนั้นจะต้องควบคุมเกาหลีเหนือ เพราะต่างก็มีเอกราชเป็นของตนเอง
และทั้งสองประเทศ ที่ผ่านมาก็ไม่มีท่าทีว่าจะก้าวก่ายการดำเนินกิจกรรมใด ๆ ของกันและกัน ดังนั้น สรุปง่าย ๆ ทั้งสองจะไม่ก้าวก่ายนโยบายของแต่ละประเทศนั่นเอง แม้จีนสนับสนุนมติสหประชาชาติที่ประณามเกาหลีเหนืออย่างรุนแรง แต่ก็ไม่ได้ทำให้ทางเกาหลีเหนือหวั่นเกรงแต่อย่างใด


เกาหลีเหนือมีความเชื่อว่ามีความจำเป็นต้องมีสมรรถนะในการโจมตีด้วยนิวเคลียร์ เพื่อที่จะทำให้สหรัฐฯต้องหันมายอมรับและมองตนเองด้วยความจริงจัง มาตรการลงโทษคว่ำบาตรต่างๆ ต่อเกาหลีเหนือนั้นใช้ไม่ได้ผล ขณะที่ทางด้านสหรัฐฯ ต้องการบีบเรื่องเศรษฐกิจทำให้เกาหลีเหนือลำบากในการหางบประมาณมาดำเนินการเรื่องนิวเคลียร์ แต่จีนเองนั้น ไม่ยอมรับ เพราะท้ายที่สุดปัญหาก็จะมาพอกพูนที่จีน นั่นก็คือ เกิดวิกฤตการณ์ทางมนุษยธรรมขนาดใหญ่ และจีนก็จะถูกปล่อยทิ้งให้ต้องรับมือกับปัญหาผู้ลี้ภัย


ส่วนอีกวิธีการหนึ่ง นั่นก็คือสหรัฐฯ อาจจะใช้เป็นวิธีการจัดการกับเกาหลีเหนือด้วยการเปิดฉากใช้กำลังทหารเข้าถล่มโจมตีเล่นงานเกาหลีเหนือก่อนที่เกาหลีเหนือจะสามารถทำการโจมตีได้ โดยต้องเข้าโจมตีอย่างรวดเร็วและทำลายล้างอย่างรุนแรงแบบชนิดสร้างความตื่นตระหนกและตกใจกลัว อย่างเดียวกับที่ โดนัลด์ รัมสเฟลด์ รัฐมนตรีกลาโหมในยุคคณะบริหารประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช เคยทำเมื่อตอนที่สหรัฐฯเปิดฉากยกกองทัพเข้ารุกรานและยึดครองอิรัก แต่ในความจริงแล้ว ก็ยากเพราะสิ่งที่ตามมา คือการตอบโต้แก้แค้นของเกาหลีเหนือจนสร้างความเสียหายต่อกรุงโซลและส่วนอื่นๆ ของเกาหลีใต้อย่างมโหฬาร โดยยังไม่ต้องพูดถึงอันตรายที่จะเกิดกับกองทหารอเมริกันจำนวน 30,000 คนซึ่งตั้งประจำอยู่ในเกาหลีใต้ นั่นเอง