ประธานาธิบดีเรเซป เตอร์ยิบ เฮอร์โดกัน บอกว่า ท้ายที่สุดแล้วสหรัฐฯจะต้องเลือกระหว่างความสัมพันธ์กับตุรกี หรือ นายเฟตุลเลาะห์ กูเลน

ประธานาธิบดีเรเซป เตอร์ยิบ เฮอร์โดกัน บอกว่า ท้ายที่สุดแล้วสหรัฐฯจะต้องเลือกระหว่างความสัมพันธ์กับตุรกี หรือ นายเฟตุลเลาะห์ กูเลน อดีตพันธมิตรของ เออร์โดกัน ซึ่งลี้ภัยในเพนซิลเวเนียมาตั้งแต่ปี 1999
ตุรกีได้ขอตัวนายกูเลนในฐานะผู้ร้ายข้ามแดน โดยผู้แทนรายหนึ่งของสมาชิกรัฐสภา ส่งมอบกล่องเอกสารหลายสิบกล่องให้เจ้าหน้าที่สหรัฐฯเพื่อสนับสนุนคำร้อง

ตุรกี แปรพักต์ หันซบรัสเซีย สหรัฐฯ โดนถีบหัวส่ง เพราะไม่จริงใจกับพันธมิตรชาติใด
 

ประธานาธิบดีตุรกี เรเซป เตอร์ยิบ เฮอร์โดกัน ได้ทำการเจรจากับรัสเซีย เพื่อจัดหาระบบป้องกันขีปนาวุธจากพื้นที่อากาศ รุ่นใหม่ล่าสุดของรัสเซีย นั่นคือ S-400 ซึ่งเรื่องดังกล่าว ทำให้ทางด้านกระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ รู้สึกไม่พอใจเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากตุรกี นั้นเป็นสมาชิกของกลุ่มนาโต แต่หันไปเจรจาซื้อขายระบบป้องกันขีปนาวุธของรัสเซีย โดยทางด้านเพนตากอน ให้เหตุผลว่า อาจจะทำให้ระบบดังกล่าวไม่สามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์อื่น ๆ ที่บรรดาพันธมิตรของกลุ่มนาโตใช้งานอยู่ ซึ่งทางเพนตากอนยังออกมาเรียกร้องให้ตุรกี ทบทวนเรื่องดังกล่าว พร้อมแนะนำว่าควรจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ จากพันธมิตรในกลุ่มนาโต มากกว่าการซื้อหาจากนอกกลุ่ม

ซึ่งมีรายงานข่าวก่อนหน้านี้ว่าทางด้านตุรกี นั้นใกล้บรรลุข้อตกลงในการซื้อขายระบบป้องกันภัยทางอากาศกับรัสเซียแล้ว ซึ่งระบบที่ทางด้านรัสเซีย เสนอให้กับตุรกี ก็คือระบบ S-400 ที่มีระยะทำการไกลถึง 400 กิโลเมตร ซึ่งระบบดังกล่าวออกแบบมาเพื่อจัดการกับอากาศยานของศัตรู ได้ทันที หากตรวจจับเจอ

หากจะย้อนความบาดหมางของตุรกี กับสหรัฐฯ นั้นเกิดขึ้น หลังจากที่ทางผู้นำตุรกี ยื่นคำขาดถึงสหรัฐฯ เรียกร้องให้ส่งตัวนักการศาสนาคนดัง ที่เขาเชื่อว่าอยู่เบื้องหลังความพยายามรัฐประหารที่ล้มเหลว ในฐานะผู้ร้ายข้ามแดนมายังตุรกี ไม่อย่างนั้นอาจกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ

 

 

ประธานาธิบดีเรเซป เตอร์ยิบ เฮอร์โดกัน บอกว่า ท้ายที่สุดแล้วสหรัฐฯจะต้องเลือกระหว่างความสัมพันธ์กับตุรกี หรือ นายเฟตุลเลาะห์ กูเลน อดีตพันธมิตรของ เออร์โดกัน ซึ่งลี้ภัยในเพนซิลเวเนียมาตั้งแต่ปี 1999
ตุรกีได้ขอตัวนายกูเลนในฐานะผู้ร้ายข้ามแดน โดยผู้แทนรายหนึ่งของสมาชิกรัฐสภา ส่งมอบกล่องเอกสารหลายสิบกล่องให้เจ้าหน้าที่สหรัฐฯเพื่อสนับสนุนคำร้อง

ขณะนั้นอดีตประธานาธิบดี บารัค โอบามา เคยบอกว่า นักการศาสนารายนี้จะถูกส่งตัวในฐานะผู้ร้ายข้ามแดนก็ต่อเมื่อเป็นผลของกระบวนการทางกฎหมายเท่านั้น และเมื่อพบว่าคำร้องขอตัวผู้ร้ายข้ามแดนมีความชอบธรรมตามกฎหมายและสนธิสัญญาที่เกี่ยวข้อง


ด้านผู้นำตุรกีบอกต่อว่า สหรัฐฯอยู่ในจุดที่ต้องเลือก และประเด็นของ นายกูเลน ยังก่อความสัมพันธ์อันตึงเครียดระหว่างตุรกี และสมาชิกอื่น ๆ ของพันธมิตรนาโตด้วย

 

ตุรกี แปรพักต์ หันซบรัสเซีย สหรัฐฯ โดนถีบหัวส่ง เพราะไม่จริงใจกับพันธมิตรชาติใด

ท่ามกลางความสัมพันธ์ที่เย็นชากับสหรัฐฯ ผู้นำตุรกี ได้เดินทางเยือนรัสเซีย พบปะกับประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย ส่งสัญญาณของการปรับท่าทีระหว่างสองผู้นำที่มีเรื่องบาดหมางกันนับตั้งแต่ตุรกียิงเครื่องบินรบรัสเซียตก

 

 

 

ตุรกี แปรพักต์ หันซบรัสเซีย สหรัฐฯ โดนถีบหัวส่ง เพราะไม่จริงใจกับพันธมิตรชาติใด

 


โดยทางด้านประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย และ ประธานาธิบดีเรเซป เตอร์ยิป เฮอร์โดกัน ผู้นำตุรกี ประกาศเดินหน้าฟื้นความสัมพันธ์ ภายหลังเจรจาหารือกันที่นครเซนปิเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย อันเป็นเมืองเกิดของปูติน นับเป็นการพบปะกันครั้งแรกของผู้นำทั้งสองภายหลังเหตุการณ์เครื่องบินขับไล่ตุรกียิงเครื่องบินรบรัสเซียตกที่บริเวณชายแดนซีเรียติดต่อกับตุรกี และก็ถือเป็นครั้งแรกที่ผู้นำตุรกี เดินทางออกนอกประเทศตั้งแต่เกิดการรัฐประหารยึดอำนาจแต่ล้มเหลว และอันนำไปสู่การล้างบางกลุ่มต่อต้านรัฐบาลครั้งใหญ่ และทำให้ความสัมพันธ์กับตะวันตกอยู่ในภาวะปีนเกลียว
ผู้นำทั้งคู่เห็นตรงกันว่า ต้องการรื้อฟื้นเดินหน้าโครงการพลังงานขนาดใหญ่ที่ต้องพับไป ซึ่งรวมถึงการร่วมมือกันในโครงการสร้างสายท่อส่งก๊าซ “เติร์กสตรีม” มูลค่า 20,000 ล้านดอลลาร์ ที่จะนำก๊าซรัสเซียมายังตุรกีเพื่อจ่อส่งต่อไปยังชาติยุโรป และโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่บริษัทรัสเซียจะสร้างในตุรกี

ขณะนั้นตะวันตกติดตามการพบกันของปูตินและเออร์โดกัน ที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ตาไม่กะพริบ เนื่องจากกังวลว่า ตุรกีซึ่งเป็นสมาชิกนาโต (องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ) จะหันไปสนิทชิดเชื้อกับรัสเซีย และถึงเวลานี้ความกลัวเหล่านั้นก็เริ่มเด่นชัดมากยิ่งขึ้น เมื่อความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว และเริ่มทิ้งระยะห่างจากกลุ่มนาโต และสหรัฐฯ มากยิ่งขึ้นทุกวัน