‘เปโตรหยวน’ อาจแทนที่ ‘เปโตรดอลลาร์’ หมากการเงินที่ไม่ธรรมดาของ “สี จิ้นผิง” เริ่มเห็นผล

สหรัฐฯ สั่นสะเทือน เมื่อ เวเนซุเอล่า เลิกใช้ ‘ดอลลาร์’ หันใช้เงิน ‘หยวน’ ซื้อขายน้ำมัน ‘เปโตรหยวน’ อาจแทนที่ ‘เปโตรดอลลาร์’

วันที่ 16 กันยายน 2560 สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานข่าว กรณี ทางด้าน กระทรวงปิโตรเลียมของเวเนซุเอลาได้ทำการเผยราคาขายน้ำมันดิบว่าปิดตลาดในรอบสัปดาห์นี้ ที่ 306.26 หยวน ต่อ 1 บาร์เรล หรือประมาณ 1,562 บาท หรือประมาณ 46.7 ดอลลาร์สหรัฐฯ ปรับขึ้นจากราคาประจำสัปดาห์ที่แล้วซึ่งอยู่ที่ 300.91 หยวน ต่อ 1 บาร์เรล หรือประมาณ 1,535 และสิ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง นี่เป็นประวัติศาสตร์ที่รัฐบาลเวเนซุเอลา ได้มีการกำหนดราคาซื้อขายน้ำมันดิบโดยการใช้สกุลเงินหยวนของจีน แทนการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีใช้มาแต่เดิม

 

 

สหรัฐฯ สั่นสะเทือน เมื่อ เวเนซุเอล่า เลิกใช้ ‘ดอลลาร์’ หันใช้เงิน ‘หยวน’ ซื้อขายน้ำมัน ‘เปโตรหยวน’ อาจแทนที่ ‘เปโตรดอลลาร์’

ทางด้านประธานาธิบดีนิโคลัส มาดูโร ประกาศเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ว่าทางด้านเวเนซุเอลาจะเริ่มกำหนดราคาขายสินค้าหลายรายการ ที่รวมถึงน้ำมันดิบ ทองคำ และก๊าซธรรมชาติ เป็นสกุลเงินอื่นที่ไม่ใช้ดอลลาร์สหรัฐ โดยจะเริ่มจากเงินหยวน เงินรูเบิลของรัสเซีย เงินรูปีของอินเดีย และเงินเยนของญี่ปุ่น เพื่อแก้ไขสถานการณ์จากมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่ได้จำกัดสิทธิ์ของเวเนซุเอลาในการเข้าถึงตราสารทุนและพันธบัตร และการห้ามสถาบันการเงินของสหรัฐฯ ซื้อพันธบัตรที่ออกโดยรัฐบาลเวเนซุเอลา และบริษัทพีดีวีเอสเอรัฐวิสาหกิจด้านน้ำมันของรัฐบาลเวเนซุเอลา
 

สหรัฐฯ สั่นสะเทือน เมื่อ เวเนซุเอล่า เลิกใช้ ‘ดอลลาร์’ หันใช้เงิน ‘หยวน’ ซื้อขายน้ำมัน ‘เปโตรหยวน’ อาจแทนที่ ‘เปโตรดอลลาร์’


แต่ทว่าทางด้านนักวิเคราะห์บางส่วนมองว่าการที่เวเนซุเอลา ได้กำหนดราคาน้ำมันดิบโดยอ้างอิงเงินหยวนยังไม่น่าสร้างความเปลี่ยนแปลงได้มากนัก เนื่องจากตลาดส่วนใหญ่ยังคงใช้เงินดอลลาร์สหรัฐหรือเงินยูโร
 

 

สหรัฐฯ สั่นสะเทือน เมื่อ เวเนซุเอล่า เลิกใช้ ‘ดอลลาร์’ หันใช้เงิน ‘หยวน’ ซื้อขายน้ำมัน ‘เปโตรหยวน’ อาจแทนที่ ‘เปโตรดอลลาร์’

สหรัฐฯ สั่นสะเทือน เมื่อ เวเนซุเอล่า เลิกใช้ ‘ดอลลาร์’ หันใช้เงิน ‘หยวน’ ซื้อขายน้ำมัน ‘เปโตรหยวน’ อาจแทนที่ ‘เปโตรดอลลาร์’

ถึงแม้ว่าอาจจะยังไม่สร้างความสั่นสะเทือนได้มากนัก แต่สิ่งที่เกิดขึ้นครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก แต่มันกลายเป็นสิ่งที่น่าจับตามองต่อไปหลังจากนี้ เนื่องจาก ก่อนหน้านี้ทางด้านรัสเซียได้ประกาศยกเลิกการใช้ เงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในการซื้อ-ขายพลังงานระหว่างบริษัทของจีน กับ ก๊าซปรอม ยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานของรัสเซีย โดยได้จับมือรัฐบาลจีนในการใช้เงินสกุลรูเบิล และ เงินหยวน แทนในตลาดพลังงานฯ ผู้เชี่ยวชาญหลายฝ่ายเชื่อว่าเงินหยวนได้ก้าวขึ้นหมากสำคัญในการล้อมดอลลาร์สหรัฐฯ เพราะจีนเป็นชาติซึ่งบริโภคพลังงานมากที่สุดในโลก มีสิทธิ์ที่จะคิดว่า ทำไมต้องจ่ายค่าพลังงานด้วยเงินดอลลาร์ ซึ่งสหรัฐฯ ร่วมกับชาติค้าน้ำมันในอดีต กำหนดกฎให้ทุกชาติต้องซื้อขายพลังงานด้วยเงินดอลลาร์ หรือที่เรียกว่า เปโตรดอลลาร์ จนทำให้ดอลลาร์สหรัฐฯ ยิ่งใหญ่มาโดยตลอด

จีนมีความพยายามในการลดบทบาทของสกุลเงินดอลลาร์ซึ่งเอาเปรียบชาติอื่นๆ มานาน ผู้เชี่ยวชาญการเงิน ได้สังเกตจังหวะสัญญาณการล้อมดอลลาร์ของจีนมาตลอด ซึ่งมีนัยยะสำคัญตั้งแต่การลดเครดิตความน่าเชื่อถือหนี้สหรัฐฯ เมื่อปี 2554 โดยต้ากง ​โกลบอล ​เครดิต เรทติ้ง บริษัทจัดอันดับ​ความน่า​เชื่อถือของจีน ประกาศ​​แนว​โน้มที่จะปรับลดอันดับ​ความน่า​เชื่อถือของสหรัฐฯ โดยระบุว่าภาวะ​เศรษฐกิจถดถอยยาวนาน อัน​เนื่องมาจาก​การบริหาร​และ​น​โยบาย​เศรษฐกิจของสหรัฐฯ ส่งผลกระทบต่อระบบสิน​เชื่อ หลังจากนั้นจีนได้ดำเนินการเดินหน้าทำสัญญาแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศกับคู่ค้าชาติต่าง ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้เงินดอลลาร์ในการซื้อขายระหว่างประเทศ และพยายามจะใช้เงินหยวนเข้าไปบทบาทหลักในการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ
 

สหรัฐฯ สั่นสะเทือน เมื่อ เวเนซุเอล่า เลิกใช้ ‘ดอลลาร์’ หันใช้เงิน ‘หยวน’ ซื้อขายน้ำมัน ‘เปโตรหยวน’ อาจแทนที่ ‘เปโตรดอลลาร์’


ปี 2552 ที่จีนเข้าไปทำสัญญาแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ กับกลุ่มประเทศในแอฟริกา และอเมริกาใต้นั้น วิน ธิน นักกลยุทธศาสตร์ระดับอาวุโสจากบราวน์ บราเธอส์ แฮรริแมน ในนิวยอร์กเคยกล่าวว่า จีนพยายามสร้างอิทธิพลในเวทีโลกให้ลึกซึ้งขึ้น พวกเขาลงทุนในหลายประเทศที่ไม่มีใครต้องการเข้าไปยุ่งเกี่ยวเช่นประเทศร่ำรวยสินแร่อย่างแอฟริกาและอาร์เจนติน่า โดยมีการประเมินกันว่า หากสามารถลดการใช้เงินสกุลดอลลาร์ ก็เท่ากับการตัดคนกลางของการค้าขายออกไปได้
ระหว่างที่เงินดอลลาร์ค่อยๆ สูญเสียความเชื่อมั่นในนานาชาติ จีนซึ่งถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ รายใหญ่ที่สุด ได้ลดการถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯลง อีกทั้งมองหาช่องทางกระจายการลงทุนใหม่กับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่มีอยู่ ขณะเดียวกันก็นำเอาเงินทุนสำรองระหว่างประเทศไปลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ของยุโรปมากขึ้นๆ นอกจากนั้นแล้วจีนได้ตั้งเป้าจะเป็นผู้ผลิตทองคำมากที่สุดในโลก ยังเพิ่มการถือครองทองคำมากขึ้นไปอีก มีการนำเข้ามหาศาลในแต่ละปี โดยในปี 2557 จีน ได้ซื้อทองคำเพิ่มขึ้นถึง 5,000 ตัน โดยมีวัตถุประสงค์ ใช้เป็นหลักค้ำประกันเงินหยวนสู่การเป็นสกุลเงินแลกเปลี่ยนแทนที่ดอลลาร์

 

สหรัฐฯ สั่นสะเทือน เมื่อ เวเนซุเอล่า เลิกใช้ ‘ดอลลาร์’ หันใช้เงิน ‘หยวน’ ซื้อขายน้ำมัน ‘เปโตรหยวน’ อาจแทนที่ ‘เปโตรดอลลาร์’


เปโตรหยวน คือการรุกคืบชิงพื้นที่ครั้งสำคัญล่าสุด เมื่อบริษัทกาโซวายา โปรมีชเลนนอสต์ หรือชื่อย่อที่รู้จักกันทั่วไปว่าก๊าซปรอม ยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานของรัสเซีย ซึ่งครองตำแหน่งผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติรายใหญ่ที่สุดของโลก ได้ประกาศในคืนวันพฤหัสบดี 26 มิถุนายน 2557 ยกเลิกการใช้เงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในทางบัญชีอย่างสิ้นเชิง หันมาใช้เงินรูเบิลของรัสเซีย และเงินหยวนของจีน เป็นสื่อกลางในการซื้อขายก๊าซธรรมชาติอย่างเต็มตัว โดยจะเริ่มกับทางบริษัทพลังงานของจีน ซึ่งเท่ากับว่า การซื้อขายน้ำมันจำนวนมหาศาลระหว่างรัสเซียกับจีนนั้น เรียกได้ว่า เปโตรหยวน เทียบเท่า และอาจแทนที่ เปโตรดอลลาร์ของสหรัฐฯ ยิ่งซื้อมากจีนยิ่งมีอำนาจมาก ต่างจากอดีตที่ใครซื้อพลังงานมาก สหรัฐฯ ยิ่งมีอำนาจมาก
ถึงวันนี้ นักวิเคราะห์ทางการเงินเริ่มจะเห็นเค้าลาง ว่าเงินหยวนนั้นน่าจับตามองอย่างยิ่ง ในขณะที่เงินดอลลาร์ เริ่มที่จะขาดความเสถียรภาพออกไปเสียทุกที ขณะนี้หลายประเทศที่จับมือค้าขายกับจีน ก็หันมาใช้สกุลเงินท้องถิ่น และ เงินหยวนมากขึ้นเท่ากับว่า เป็นการตัดทอนกำลังของเงินดอลลาร์เพิ่มมากขึ้นเล่นกัน