UNESCO ถวายสดุดีเทิดพระเกียรติ ในหลวง ร.๙ ‘ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีคุณูปการอย่างยิ่งต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจของโลก’

การประชุมสันติภาพนานาชาติในหัวข้อ การสร้างสังคมแห่งสันติภาพที่ยั่งยืน สืบสานพระราชปณิธาน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

UNESCO ถวายสดุดีเทิดพระเกียรติ ในหลวง ร.๙ ‘ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีคุณูปการอย่างยิ่งต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจของโลก’

วันที่ 26 กันยายน 2560 การประชุมสันติภาพนานาชาติในหัวข้อ การสร้างสังคมแห่งสันติภาพที่ยั่งยืน สืบสานพระราชปณิธาน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่สำนักงานใหญ่องค์การการศึกษา วัฒนธรรม และวิทยาศาสตร์แห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ได้มีการเพื่อถวายสดุดีเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

 

โดยทางด้านนางอิริน่า โบโคว่า ผู้อำนวยการยูเนสโก ได้กล่าวถึงพระราชกรณียกิจและแนวคิดของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เกี่ยวกับการพัฒนาอันมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งสอดรับกับความสำคัญของการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนในปี 2573 ของยูเนสโก

 

นอกจากนั้นแล้วยังได้พูดถึง เรื่องของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีคุณูปการอย่างยิ่งต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจในปัจจุบัน เป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับโลก ไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แนวคิดนั้นมีความทันสมัยอยู่ตลอดเวลา เหมาะสมกับการพัฒนาในยุคศตวรรษที่ 21 มีการพัฒนามนุษย์ ช่วยเสริมศักยภาพแก่ผู้ที่ด้อยกว่าเพื่อมุ่งไปสู่แนวทางของความเท่าเทียมทางสังคมในรูปแบบที่ยั่งยืน ทำให้แนวทางดังกล่าวนั้นสอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืนของทางยูเนสโกที่มีขึ้นเมื่อปี 2558 รวมถึงการปกป้องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และปกป้องโลกของเรา โดยปรัชญานี้สามารถเป็นต้นแบบในการพัฒนามนุษย์ได้ในส่วนของความเท่าเทียม การไม่แบ่งแยก ซึ่งเมื่อปี 2555 ในวาระที่ทรงมีพระชนมายุ 84 พรรษา ยูเนสโกเคยมีการเสวนาในหัวข้อมุ่งสู่เศรษฐกิจพอเพียง กระบวนทัศน์ใหม่ทางจริยธรรมเพื่อความยั่งยืน นอกจากนี้ หลักการพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน ยังสอดคล้องกับคติและเป้าหมายของยูเนสโก

นอกจากนั้นแล้วทางด้านนางอิริน่า โบโคว่า ยังได้ยกย่องให้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเป็นครูของประชาชน เพราะพระองค์ท่านทรงชี้นำในเรื่อการศึกษาสู่พัฒนาการที่เรียนรู้คิด และแสดงออกตามความสามารถของบุคคล ไม่ใช่แค่การเรียนรู้เพื่อเขียนอ่านและคำนวณ แต่ต้องหมายรวมถึงองค์ความรู้ด้านวัฒนธรรมและความหลากหลาย การศึกษาต้องช่วยเสริมศักยภาพให้ผู้เรียนพัฒนาไปสู่การเป็นพลเมืองโลก มีส่วนร่วมในสังคมของตน และเปิดกว้างสู่โลกภายนอก และนี่คือบทบาทของการศึกษาในศตวรรษที่ 21

นอกจากนั้นทางด้านนางอิริน่า โบโคว่า ยังได้พูดถึงการทำงานของตามแนวนโยบายไทยแลนด์ 4.0 เพื่อสร้างเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและสังคมที่ขับเคลื่อนด้วยความรู้ เศรษฐกิจโลกแบบใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม องค์ความรู้ และงานวิจัย วิสัยทัศน์นี้เป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องอย่างยิ่งกับคำมั่นที่พระองค์ทรงตั้งไว้ทั้งในเรื่องของประชาธิปไตย การบริหารบ้านเมืองอย่างมีธรรมาภิบาล และหลักกฎหมาย เพราะการพัฒนาอย่างยั่งยืน สร้างสังคมที่สงบสุข เท่าเทียม และเป็นธรรมสำหรับทุกคน โดยยูเนสโกจะยึดมั่นสานต่อพระราชปณิธาน การพัฒนาโดยการให้ประชาชนทุกคนมีส่วนร่วม และการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขท่ามกลางธรรมชาติ ที่สอดรับ สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชน

UNESCO ถวายสดุดีเทิดพระเกียรติ ในหลวง ร.๙ ‘ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีคุณูปการอย่างยิ่งต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจของโลก’

UNESCO ถวายสดุดีเทิดพระเกียรติ ในหลวง ร.๙ ‘ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีคุณูปการอย่างยิ่งต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจของโลก’