ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่เฟสบุ๊คเพจ "ความจริง"

วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ศูนย์การศึกษา NEO (CNEOS)ได้ออกหนังสือถึงการเฝ้าระวังดาวเคราะห์น้อยที่โคจรเฉียดโลก สืบเนื่องจากการติดตามดาวเคราะห์น้อยTC4 เป็นดาวดวงใหม่ ที่เพิ่งถูกค้นพบในปี 2012 จะโคจรเข้าใกล้โลกมากๆในวันที่ 12 ตุลาคมที่จะถึงนี้ และถึงแม้ว่านักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเข้าใกล้โลกเราแค่ไหน แต่พวกเขามั่นใจว่าดาวเคราะห์น้อยดวงนี้จะโคจรผ่านโลกของเราไปได้ในระยะห่างที่ปลอดภัย
นักวิชาการยังบอกอีกว่าก่อนหน้านี้ที่ไม่เคยเห็นดาวเคราะห์น้อยดวงนี้มาก่อน เพิ่งตรวจพบจากวิดีโอที่บันทึกไว้ได้เมื่อเดือนตุลาคมปี 2012 ตอนที่มันโคจรผ่านพ้นโลกไปแล้วประมาณหนึ่งในสี่ของระยะทางจากโลกถึงดวงจันทร์ เบื้องต้นคาดว่าจะมีขนาดประมาณ 30 ถึง 100 ฟุต (10 ถึง 30 เมตร)
ซึ่งในขณะนั้นดาวเคราะห์น้อยอยู่ไกลเกินไปและจางเกินที่จะตรวจสอบได้ในตอนนั้น แต่ปัจจุบันนี้ได้นำเทคโนโลยีกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่มาใช้เพื่อสร้างเส้นทางวงโคจรที่แม่นยำขึ้น จึงคาดว่าจะช่วยปรับปรุงความรู้เกี่ยวกับวงโคจรและระบบสุริยะจักรวาล เพื่อลดความเสี่ยงในการคำนวนทิศทางที่ดาวดังกล่าวจะโคจรมาใกล้กับโลกในช่วงเดือนตุลาคม นับถอยหลัง 12 ตุลาคมนี้!! ลุ้น "ดาวเคราะห์น้อย TC4" แค่เฉียดหรือชน?? (ชมคลิป)

 

พอลโชเดส ผู้จัดการศูนย์ศึกษาวัตถุใกล้โลก (CNEOS)ของ NASA กล่าวว่า "เรามีแนววงโคจรของดาวเคราะห์ TC4 2012 แล้ว และมั่นใจว่าจะไม่มีผลกระทบกับโลกแต่อย่างใด" โดยในช่วงวันที่ 12 ตุลาคมนี้ ดาวดวงนี้จะโคจรผ่านโลกของเราไปในระยะกระชั้นชิดที่ 4,200 ไมล์ (6,800 กิโลเมตร) และห่างไกลออกไปไกลถึง 170,000 ไมล์ (270,000 กิโลเมตร)
หรือสองในสามของระยะทาง จากโลกไปสู่ดวงจันทร์ ซึ่งการคำนวณเหล่านี้อิงตามการติดตาม  TC4 2012 ในวันที่ 5 ตุลาคม 2555 โดยกล้องโทรทรรศน์สำรวจ Panoramic และระบบตอบสนองอย่างรวดเร็ว (Pan-STARRS) จาก Haleakala บนเกาะ Maui, Hawaii นับถอยหลัง 12 ตุลาคมนี้!! ลุ้น "ดาวเคราะห์น้อย TC4" แค่เฉียดหรือชน?? (ชมคลิป)

นับถอยหลัง 12 ตุลาคมนี้!! ลุ้น "ดาวเคราะห์น้อย TC4" แค่เฉียดหรือชน?? (ชมคลิป)

ล่าสุดได้ตรวจพบดาวเคราะห์น้อยดวงดังกล่าวอีกครั้ง ด้วยกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ ในวันที่ 27 กรกฎาคม 2560 ที่ผ่านมา ทำให้เป็นที่ทราบกันแน่ชัดว่าในวันที่ 12 ตุลาคม 2560 ที่จะถึงนี้ ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้จะวนโคจรมากระทบกับชั้นบรรยากาศของโลกของเราอีกครั้งในระยะใกล้ชิด นอกจากนี้ยังมีกระแสพูดถึงจุดที่ใกล้ชิดโลกที่สุดด้วยว่าอยู่ช่วงบริเวณทวีปเอเชียตะวันออก?? ซึ่งก็คงต้องติดตามเรื่องนี้กันอย่างใกล้ชิดต่อไป

นับถอยหลัง 12 ตุลาคมนี้!! ลุ้น "ดาวเคราะห์น้อย TC4" แค่เฉียดหรือชน?? (ชมคลิป)