สำนักข่าวรอยเตอร์ ได้เผยแพร่ภาพถ่ายริ้วขบวนเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

สื่อนอกเผยแพร่ภาพ “ขบวนพระบรมราชอิสริยยศ”  ไปทั่วโลก งดงามสมพระเกียรติ

วันที่ 26 ตุลาคม 2560 ทางสำนักข่าวรอยเตอร์ ได้เผยแพร่ภาพถ่ายริ้วขบวนเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ไปสู่สายตาชาวโลก ที่สื่อได้ถึงราชประเพณี และ ความรู้สึกของพสกนิกรชาวไทย ที่ต่างมาน้อมส่งเสด็จพระองค์ท่านสู่สวรรคาลัย

สื่อนอกเผยแพร่ภาพ “ขบวนพระบรมราชอิสริยยศ”  ไปทั่วโลก งดงามสมพระเกียรติ

สื่อนอกเผยแพร่ภาพ “ขบวนพระบรมราชอิสริยยศ”  ไปทั่วโลก งดงามสมพระเกียรติ

สื่อนอกเผยแพร่ภาพ “ขบวนพระบรมราชอิสริยยศ”  ไปทั่วโลก งดงามสมพระเกียรติ

สื่อนอกเผยแพร่ภาพ “ขบวนพระบรมราชอิสริยยศ”  ไปทั่วโลก งดงามสมพระเกียรติ

สื่อนอกเผยแพร่ภาพ “ขบวนพระบรมราชอิสริยยศ”  ไปทั่วโลก งดงามสมพระเกียรติ

 

 

 

สื่อนอกเผยแพร่ภาพ “ขบวนพระบรมราชอิสริยยศ”  ไปทั่วโลก งดงามสมพระเกียรติ

สื่อนอกเผยแพร่ภาพ “ขบวนพระบรมราชอิสริยยศ”  ไปทั่วโลก งดงามสมพระเกียรติ

สื่อนอกเผยแพร่ภาพ “ขบวนพระบรมราชอิสริยยศ”  ไปทั่วโลก งดงามสมพระเกียรติ

สื่อนอกเผยแพร่ภาพ “ขบวนพระบรมราชอิสริยยศ”  ไปทั่วโลก งดงามสมพระเกียรติ

สื่อนอกเผยแพร่ภาพ “ขบวนพระบรมราชอิสริยยศ”  ไปทั่วโลก งดงามสมพระเกียรติ

 

 

สื่อนอกเผยแพร่ภาพ “ขบวนพระบรมราชอิสริยยศ”  ไปทั่วโลก งดงามสมพระเกียรติ

สื่อนอกเผยแพร่ภาพ “ขบวนพระบรมราชอิสริยยศ”  ไปทั่วโลก งดงามสมพระเกียรติ

สื่อนอกเผยแพร่ภาพ “ขบวนพระบรมราชอิสริยยศ”  ไปทั่วโลก งดงามสมพระเกียรติ

สื่อนอกเผยแพร่ภาพ “ขบวนพระบรมราชอิสริยยศ”  ไปทั่วโลก งดงามสมพระเกียรติ

สื่อนอกเผยแพร่ภาพ “ขบวนพระบรมราชอิสริยยศ”  ไปทั่วโลก งดงามสมพระเกียรติ

 

 

 

สื่อนอกเผยแพร่ภาพ “ขบวนพระบรมราชอิสริยยศ”  ไปทั่วโลก งดงามสมพระเกียรติ

สื่อนอกเผยแพร่ภาพ “ขบวนพระบรมราชอิสริยยศ”  ไปทั่วโลก งดงามสมพระเกียรติ

สื่อนอกเผยแพร่ภาพ “ขบวนพระบรมราชอิสริยยศ”  ไปทั่วโลก งดงามสมพระเกียรติ

สื่อนอกเผยแพร่ภาพ “ขบวนพระบรมราชอิสริยยศ”  ไปทั่วโลก งดงามสมพระเกียรติ

สื่อนอกเผยแพร่ภาพ “ขบวนพระบรมราชอิสริยยศ”  ไปทั่วโลก งดงามสมพระเกียรติ

สำหรับความรู้เรื่อง ขบวนพระบรมราชอิสริยยศ มีดังต่อไปนี้ ...

การอัญเชิญพระบรมศพจากพระมหาปราสาทไปสู่พระเมรุมาศ หรืออัญเชิญพระบรมอัฐิจากพระเมรุมาศมาสู่พระบรมมหาราชวัง พระบรมราชสรีรางคารไปบรรจุหรือลอยพระอังคาร ตามโบราณกาลจะอัญเชิญด้วยขบวนพระราชอิสริยยศ ซึ่งเรียกว่าริ้วขบวนโดยแต่ละริ้วขบวนมีคนหาม คนฉุดชักจํานวนมาก พร้อมด้วยเครื่องประกอบพระอิสริยยศ

การจัดริ้วขบวนเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีขบวนพระบรมราชอิสริยยศ จำนวน 6 ริ้วขบวน โดยมีการบูรณะตกแต่งราชรถ ราชยาน และเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศ เพื่อให้พร้อมสำหรับการอัญเชิญพระบรมศพ พระบรมอัฐิ และพระบรมราชสรีรางคาร รวมทั้งซักซ้อมการเคลื่อนขบวนให้งดงามประหนึ่งราชรถเคลื่อนบนหมู่เมฆส่งเสด็จสู่สวรรค์

เครื่องประกอบพระอิสริยยศที่ปรากฏในริ้วขบวน

ในริ้วขบวนมีเครื่องสูงประกอบพระอิสริยยศที่สืบทอดคติความเชื่อเกี่ยวกับการจัดงานพระบรมศพ หรือพระศพของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศ์เมื่อส่งเสด็จสู่สวรรคาลัยมาเป็นเวลายาวนาน จนกล่าวได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมราชประเพณีที่สำคัญของชาติ

เครื่องประกอบพระอิสริยยศในริ้วขบวน จำแนกได้เป็นฉัตร เครื่องสูง ราชยาน ราชรถ รูปเทวดา และรูปสัตว์หิมพานต์ ทั้งที่ปรากฏในริ้วขบวนแห่พระศพที่มีมาแต่โบราณ และที่ประดับบนชั้นฐานพระเมรุ ณ ท้องสนามหลวง ซึ่งสมควรที่จะกล่าวถึงต้นกำเนิดที่มาของคติความเชื่อและพัฒนาการในการนำมาประกอบในพระราชพิธีที่ปรับเปลี่ยนไปบ้างตามกาลเวลา เพื่อความเหมาะสมกับกลไกที่ก้าวหน้าแต่มิได้ละเลยถึงเอกลักษณ์ของราชสำนักไทย

สำหรับมีขบวนพระบรมราชอิสริยยศ จำนวน 6 ริ้วขบวน มีดังนี้

พระยานมาศสามลำคาน (ริ้วขบวนที่ 1)

พระยานมาศสามลำคาน เป็นยานที่มีคานหามขนาดใหญ่ ทำด้วยไม้จำหลักลวดลายลงรักปิดทอง มีพนักโดยรอบ 3 ด้าน และมีคานหาม 3 คาน จึงเรียกว่า พระยานมาศสามลำคาน อยู่ในขบวนพระบรมราชอิสริยยศ ริ้วที่ 1 ใช้สำหรับอัญเชิญพระบรมโกศจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง ไปประดิษฐานบนพระมหาพิชัยราชรถ ที่จอดเทียบรออยู่ใกล้พลับพลายก บริเวณทิศตะวันออกของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

พระราชยานองค์นี้สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เพื่อใช้อัญเชิญพระบรมโกศพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเป็นครั้งแรก

พระมหาพิชัยราชรถ (ริ้วขบวนที่ 2)

พระมหาพิชัยราชรถอยู่ในขบวนพระบรมราชอิสริยยศ ริ้วที่ 2 ในงานพระราชพิธี วันที่ 26 ตุลาคม 2560 พระมหาพิชัยราชรถมีลักษณะเป็นราชรถทรงบุษบก ทำด้วยไม้แกะสลัก ลงรักปิดทอง ประดับกระจก สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ใช้เพื่อการอัญเชิญพระโกศพระอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก (ทองดี) ออกพระเมรุ เมื่อพุทธศักราช 2339 ต่อมาใช้อัญเชิญพระบรมโกศพระมหากษัตรย์ และพระโกศพระบรมวงศ์จนถึงปัจจุบัน

พระมหาพิชัยราชรถเป็นราชรถที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศ ด้วยความสูง 11.20 เมตร กว้าง 4.87 เมตร ยาว 18 เมตร เเละด้วยน้ำหนักถึง 13.7 ตัน จึงต้องใช้พลฉุดชักเพื่อเคลื่อนพระมหาพิชัยราชรถทั้งหมด 216 นาย แบ่งเป็นส่วนด้านหน้า 172 นาย ด้านหลัง 44 นาย เเละพลควบคุม 5 นาย

ราชรถปืนใหญ่ (ริ้วขบวนที่ 3)

ราชรถปืนใหญ่ เป็นราชรถที่เชิญพระโกศพระบรมศพ พระศพของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศ์ที่ทรงรับราชการทหารเมื่อครั้งดำรงพระชนม์ชีพ แทนพระยานมาศสามลำคานตามธรรมเนียมเดิมจากพระบรมมหาราชวังหรือวังของพระบรมวงศ์ พระองค์นั้นๆ สู่พระเมรุมาศ หรือพระเมรุ และแห่อุตราวัฏ (เวียนซ้าย) รอบพระเมรุมาศ 3 รอบ



ซึ่งธรรมเนียมใหม่นี้เกิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการพระราชพิธีพระราชทานเพลิง พระศพจอมพล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช เมื่อ พ.ศ. 2459 เป็นครั้งแรก และครั้งหลังสุดในการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร เมื่อ พ.ศ. 2493

ในหมายกำหนดการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ เรียกราชรถนี้ ว่า “ราชรถปืนใหญ่รางเกวียน” ส่วนในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพเรียก ว่า “รถปืนใหญ่” “เกวียนรางปืน” “รถปืนใหญ่รางเกวียน” และ “รางเกวียนปืนใหญ่”

พระที่นั่งราเชนทรยาน (ริ้วขบวนที่ 4 และ ริ้วขบวนที่ 5)

พระที่นั่งราเชนทรยาน เป็นพระราชยานที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ลักษณะเป็นทรงบุษบกย่อมุมไม้สิบสอง หลังคาซ้อน 5 ชั้น สร้างด้วยไม้ แกะสลักลงรักปิดทองประดับกระจก พนักพิงและกระจังปฏิญาณแกะสลักเป็นภาพเทพนมไว้ตรงกลาง และมีรูปครุฑยุดนาคประดับที่ฐาน มีคานสำหรับหาม 4 คาน ใช้คนหาม 56 คน แต่เวลาปกติจะคงคานประจำไว้ 2 คาน ใช้ในการเสด็จพระราชดำเนิน

โดยขบวนแห่อย่างใหญ่ ที่เรียกว่า “ขบวนสี่สาย” เช่น ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก จะเสด็จพระราชดำเนินจากพระราชมณเฑียรไปถวายสักการะพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

นอกจากนี้ ยังใช้ในการเชิญพระโกศพระบรมอัฐิพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินี และพระอัฐิพระบรมวงศ์ จากพระเมรุมาศ พระเมรุ ท้องสนามหลวง ไปยังพระบรมมหาราชวังอีกด้วย

พระราเชนทรยานน้อย เป็นพระราชยานที่ใช้ในการประดิษฐานพระบรมราชสรีรางคาร เข้าสู่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง พระราเชนทรยานน้อยมีลักษณะเป็นทรงบุษบก สร้างด้วยไม้แกะสลักลงรักปิดทองประดับกระจกทั้งองค์ ขนาดกว้าง 100 เซนติเมตร ยาว 548 เซนติเมตร รวมคานหาม สูง 414 เซนติเมตร มีคานสำหรับหาม 4 คาน จำนวนคนหาม 56 คน

ขบวนกองทหารม้า (ริ้วขบวนที่ 6)

ขบวนกองทหารม้า เชิญพระบรมราชสรีรางคารจากพระศรีรัตนเจดีย์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยรถยนต์พระที่นั่งออกจากพระบรมมหาราชวัง ทางประตูวิเศษไชยศรี ไปยังวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามและวัดบวรนิเวศวิหาร


 


ที่มา Kingrama9.net