สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย เผยแพร่ถ้อยแถลงของเอกอัครราชทูต กลิน ที. เดวีส์ ต่อการถึงแก่อนิจกรรมของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ

ทูตสหรัฐฯ ยก ดร.สุรินทร์ คือปูชนียบุคคล เป็นผู้นำ ผู้มีวิสัยทัศน์อันกว้างไกล และ เป็นมิตรสนิทของสหรัฐฯ

วันที่ 30 พฤศจิกายน 2560 สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย เผยแพร่ถ้อยแถลงของเอกอัครราชทูต กลิน ที. เดวีส์ ต่อการถึงแก่อนิจกรรมของ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

คำแถลงของเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา กลิน ที. เดวีส์ ต่อการถึงแก่อนิจกรรมของดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ‎

นับเป็นความโศกเศร้าอย่างใหญ่หลวงเมื่อได้ทราบข่าวการจากไปอย่างกระทันหันของดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ ในนามของ​ชาวอเมริกัน ข้าพเจ้าขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อครอบครัว มิตรสหายของดร. สุรินทร์ และต่อประชาชนไทยรวมถึงภูมิภาคแห่งนี้

ดร. สุรินทร์นับเป็นปูชนียบุคคล รัฐบุรุษ นักการศึกษา ผู้นำและผู้มีวิสัยทัศน์อันกว้างไกล ท่านได้ทำงานหลากหลายเพื่อความมั่นคงและเฟื่องฟูของประเทศไทยและภูมิภาคนี้ ซึ่งมีพื้นฐานมาจากหน้าที่และการทำงานในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจนถึงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียน ดร. สุรินทร์ยังเป็นมิตรสนิทของสหรัฐอเมริกา ผู้ซึ่งเราจะรำลึกถึงตลอดไปจากงานของท่านที่ร่วมสร้างความแข็งแกร่งให้ความสัมพันธ์ของเราสองประเทศ‎ ส่วนตัวแล้ว ข้าพเจ้าจำได้ถึงการเดินทางเยือนโรงเรียนประทีปศาสน์กับท่านสุรินทร์เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 ดร. สุรินทร์พาข้าพเจ้าเดินชมโรงเรียนของท่านด้วยความภาคภูมิใจ ข้าพเจ้าเห็นใบหน้าที่ตื่นเต้นยินดีของเด็กนักเรียนเมื่อดร. สุรินทร์เข้าไปทักทาย สิ่งเหล่านั้นทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกตื้นตันและชื่นชมยิ่ง

เราจะรำลึกถึงผลงานอันล้ำค่าซึ่งดร. สุรินทร์ทำให้แก่ประเทศของท่าน ภูมิภาค​แห่ง​นี้ และประชาคมโลกตลอดไป

-------------------------------------------------

Statement by U.S Ambassador Glyn T. Davies on the Passing of Dr. Surin Pitsuwan

It is with great sadness that we learn of the sudden passing of Dr. Surin Pitsuwan. On behalf of the American people, I offer our heartfelt condolences to his family, friends, and the people of Thailand and the region.

Dr. Surin was a monumental figure – a statesman, educator, leader and visionary. He made many contributions to the stability and prosperity of Thailand and the region throughout his distinguished career, most prominently through his service as Minister of Foreign Affairs and later as Secretary-General of the Association of South East Asian Nations. Dr. Surin was also and always a strong friend of the United States. We will long remember his work to strengthen the partnership between our two nations. On a personal level, I recall with great fondness my January 2016 visit with him to Prateepsasana Islamic School in Nakhon Si Thammarat. As Dr. Surin took me around his school with great pride, the joy on students’ faces when he greeted them was moving and impressive.

We will long remember the deep, lasting contributions Dr. Surin made to his country, his region, and his world.

 

ทูตสหรัฐฯ ยก ดร.สุรินทร์ คือปูชนียบุคคล เป็นผู้นำ ผู้มีวิสัยทัศน์อันกว้างไกล และ เป็นมิตรสนิทของสหรัฐฯ
 

สำหรับ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีต รมว.ต่างประเทศ และอดีตเลขาธิการอาเซียน ได้ถึงแก่กรรม ด้วยโรคหัวใจวายเฉียบพลัน เมื่อเวลาประมาณ 15.00 น.ของวันที่ 30 พฤศจิกายน

นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เกิดวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2492 ที่ จ.นครศรีธรรมราช มีบิดาเป็นครูสอนศาสนาอิสลาม ศึกษาระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดบ้านตาล ศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช และโรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยแคลร์มอนต์ สหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2515 (ก่อนหน้านี้เคยศึกษาที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2 ปี) ปริญญาโทสาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (พ.ศ. 2517) และปริญญาเอกด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (พ.ศ. 2522) เริ่มอาชีพนักวิชาการในตำแหน่งอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2518-2529

 

ทูตสหรัฐฯ ยก ดร.สุรินทร์ คือปูชนียบุคคล เป็นผู้นำ ผู้มีวิสัยทัศน์อันกว้างไกล และ เป็นมิตรสนิทของสหรัฐฯ

ด้านการเมือง นายสุรินทร์เข้าสู่แวดวงการเมืองในปี พ.ศ. 2529 โดยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.นครศรีธรรมราช สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้งเข้ามาในสภาผู้แทนราษฎรติดต่อกัน 7 สมัย เคยเป็นเลขานุการของนายชวน หลีกภัย ขณะที่นายชวนดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร (พ.ศ. 2529-2531) ต่อมาเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ระหว่างปี พ.ศ. 2535-2538 และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ระหว่างปี พ.ศ. 2540-2544 ต่อมานายสุรินทร์ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียน ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 - 1 มกราคม พ.ศ. 2556 ก่อนจะมาเป็นประธานสถาบันออกแบบอนาคตประเทศไทย

 

ทูตสหรัฐฯ ยก ดร.สุรินทร์ คือปูชนียบุคคล เป็นผู้นำ ผู้มีวิสัยทัศน์อันกว้างไกล และ เป็นมิตรสนิทของสหรัฐฯ

ทูตสหรัฐฯ ยก ดร.สุรินทร์ คือปูชนียบุคคล เป็นผู้นำ ผู้มีวิสัยทัศน์อันกว้างไกล และ เป็นมิตรสนิทของสหรัฐฯ