ไปอีกขั้น!! ปากีสถานเปิดตลาดค้าขายกับจีน โดยใช้เงินหยวน  หลังจากก่อนหน้าเปิดพื้นที่ให้จีนทำนิคมอุตสาหกรรม ยกระดับความเป็นอยู่ประชาชน

ไปอีกขั้น!! ปากีสถานเปิดตลาดค้าขายกับจีน โดยใช้เงินหยวน หลังจากก่อนหน้าเปิดพื้นที่ให้จีนทำนิคมอุตสาหกรรม ยกระดับความเป็นอยู่ประชาชน

เมื่อปลายปี 2558 ทางจังหวัดบาลูจิสถาน จังหวัดยากจนที่สุดของปากีสถาน ได้ทำการส่งมอบที่ดินประมาณ 1,708 ไร่ จากทั้งหมด 5,750 ไร่ ซึ่งเป็นที่ดินปลอดภาษี ให้กับ จีน เพื่อพัฒนาเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ในท่าเรือน้ำลึกกวาดาร์ ริมฝั่งทะเลอาหรับ ซึ่งจะทำให้จีนเข้าถึงตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรป ได้มากยิ่งขึ้น

ไปอีกขั้น!! ปากีสถานเปิดตลาดค้าขายกับจีน โดยใช้เงินหยวน  หลังจากก่อนหน้าเปิดพื้นที่ให้จีนทำนิคมอุตสาหกรรม ยกระดับความเป็นอยู่ประชาชน

ซึ่งทางรัฐบาลจีนจะพัฒนาพื้นที่แห่งนี้ตามสัญญาเช่า 43 ปี ที่ดินส่วนที่เหลือจะส่งมอบภายใต้ข้อตกลงกับบริษัทมหาชน ไชน่า โอเวอร์ซีส์ พอร์ต โฮลดิ้ง คัมปานี ของจีน โครงการเหล่านี้ของจีน นั้นเพื่อที่จะได้ขยายการค้าและการคมนาคมขนส่ง ทั่วภูมิภาคเอเชียกลางและเอเชียใต้ พร้อมไปกับการต่อต้านอิทธิพลของสหรัฐฯ และอินเดีย ท่าเรือน้ำลึกกวาดาร์ จะตัดระยะทางได้หลายพันกิโลเมตร สำหรับการขนส่งลำเลียงน้ำมันและก๊าซ ที่จีนนำเข้าจากแอฟริกาและตะวันออกกลาง และภายใต้โครงการจะมีการก่อสร้างท่าอากาศยานนานาชาติในเมืองกวาดาร์ ซึ่งจีนจะบริจาคเงินสนับสนุนโดยการก่อสร้างจะเริ่มในเดือน มกราคม 2559 ท่าเรือน้ำลึกกวาดาร์ ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองใหญ่การาจี ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 540 กม. ก่อสร้างเมื่อปี 2550 ด้วยความช่วยเหลือทางเทคนิคจากจีน รวมทั้งความช่วยเหลือทางการเงินประมาณ 248 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับท่าเรือกวาดาร์จะทำให้จีนมีช่องทางใหม่ในการเข้าถึงทะเลอาหรับ โครงการนี้แสดงให้ทั่วโลกได้เห็นว่า จีนพร้อมที่จะช่วยเหลือเพื่อน และแผ่ขยายอิทธิพลผ่านกิจกรรมที่สร้างสรรค์ทางด้านเศรษฐกิจและการค้า

ไปอีกขั้น!! ปากีสถานเปิดตลาดค้าขายกับจีน โดยใช้เงินหยวน  หลังจากก่อนหน้าเปิดพื้นที่ให้จีนทำนิคมอุตสาหกรรม ยกระดับความเป็นอยู่ประชาชน

แน่นอนว่าการแผ่ขยายของจีนไปยังปากีสถาน นั้นเพื่อที่จะเชื่อมต่อเข้าสู่ตะวันออกกลาง เพราะเวลานี้สำหรับจีนกลายเป็นประเทศนำเข้าน้ำมันสูงสุดประเทศหนึ่ง ผลประโยชน์พื้นฐานของจีนในตะวันออกกลาง คือการเข้าถึงแหล่งน้ำมันและก๊าซที่มากมายมหาศาลในย่านนี้ ทุกวันนี้จีนก็ยังต้องนำเข้านำมันจากตะวันออกกลางถึงครึ่งหนึ่ง โดยนำเข้าเฉพาะจากซาอุดีอาระเบีย และอิหร่าน ที่คิดเป็น ร้อยละ 30 ของการนำเข้าทั้งหมด

ไปอีกขั้น!! ปากีสถานเปิดตลาดค้าขายกับจีน โดยใช้เงินหยวน  หลังจากก่อนหน้าเปิดพื้นที่ให้จีนทำนิคมอุตสาหกรรม ยกระดับความเป็นอยู่ประชาชน

นอกจากนั้นแล้วจีน ยังได้เข้าไปลงทุนในอุตสาหกรรมต่อเนื่องในประเทศต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา อาทิเช่น ในคูเวต ก็ได้มีการลงนามในข้อตกลงเข้าไปตั้งโรงกลั่นน้ำมัน รวมถึงให้ทางคูเวต นั้นได้เข้ามาตั้งโรงงาน ปิโตรเคมีในมณฑลกวางตุ้ง


ส่วนจีน กับซาอุดีอาระเบีย ก็มีความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน ในฐานะประเทศที่มีความต้องการน้ำมัน ขยายตัวอย่างมากที่สุดในโลก อย่างจีน กับประเทศที่ผลิตน้ำมันใหญ่ที่สุดในโลก อย่างซาอุดีอาระเบีย โดยข้อมูลสถิติ พบว่า ตั้งแต่ปี 2002 ซาอุดีอาระเบีย ส่งน้ำมันไปยังสหรัฐฯ ลดลงเรื่อยๆ แต่กลับส่งออกไปยังจีนเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ เช่นเดียวกัน จนกลายเป็นจีนเป็นผู้นำเข้าน้ำมันสูงสุดจากซาอุดีอาระเบีย

ไปอีกขั้น!! ปากีสถานเปิดตลาดค้าขายกับจีน โดยใช้เงินหยวน  หลังจากก่อนหน้าเปิดพื้นที่ให้จีนทำนิคมอุตสาหกรรม ยกระดับความเป็นอยู่ประชาชน

ขณะที่จีนเองก็มีข้อตกลงกับทางด้านซาอุดีอาระเบีย ในการขยายการสำรวจหาก๊าซธรรมชาติ บนที่ราบอัลกาห์ลีของซาอุดีอาระเบีย ขณะที่ทางด้านซาอุดีอาระเบียเองก็ได้มีข้อตกลงในการช่วยจีนพัฒนาแหล่งน้ำมันสำรอง และช่วยปรับปรุงศักยภาพของโรงกลั่น รวมถึงการก่อสร้างโรงแยกก๊าซในจีนอีกหลายแห่ง

นอกจากนั้นแล้วจีนยังมีความสัมพันธ์อันดีกับอิหร่าน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งขั่วอำนาจในตะวันออกกลาง โดยจีนลงนามในข้อตกลง ในระยะ 25 ปี จีนจะซื้อก๊าซจากอิหร่านเป็นปริมาณ 10 ล้านตัน แลกกับการที่จีนจะถือหุ้น 50% ที่จะเข้าไปพัฒนาบ่อน้ำมันยาฮาวาราน ของอิหร่าน

นอกจากนั้นจีนยังเป็นผู้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรายใหญ่ให้กับทางด้านอิหร่าน

ไปอีกขั้น!! ปากีสถานเปิดตลาดค้าขายกับจีน โดยใช้เงินหยวน  หลังจากก่อนหน้าเปิดพื้นที่ให้จีนทำนิคมอุตสาหกรรม ยกระดับความเป็นอยู่ประชาชน

 

ไปอีกขั้น!! ปากีสถานเปิดตลาดค้าขายกับจีน โดยใช้เงินหยวน  หลังจากก่อนหน้าเปิดพื้นที่ให้จีนทำนิคมอุตสาหกรรม ยกระดับความเป็นอยู่ประชาชน

ไปอีกขั้น!! ปากีสถานเปิดตลาดค้าขายกับจีน โดยใช้เงินหยวน  หลังจากก่อนหน้าเปิดพื้นที่ให้จีนทำนิคมอุตสาหกรรม ยกระดับความเป็นอยู่ประชาชน

 

ล่าสุด วันที่ 19 ธันวาคม 2560 อาสัน อิกบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า รัฐบาลปากีสถานกำลังพิจารณาข้อเสนอเพื่อเริ่มต้นใช้เงินหยวนเปิดตลาดในการค้ากับจีน

"เรากำลังตรวจสอบการใช้เงินหยวนแทนเงินดอลลาร์สหรัฐเพื่อการค้าระหว่างสองประเทศ"รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมกล่าวหลังจากที่ LTC เปิดตัวแผนระยะยาวสำหรับทางเดินเศรษฐกิจของจีน - ปากีสถาน (CPEC)

การค้าทวิภาคีระหว่างปากีสถานกับจีนมีมูลค่า 13.8 พันล้านดอลลาร์ในปี 2015-2016 หลังจากที่ได้ลงนามในข้อตกลงการค้าเสรี ระหว่างประเทศในด้านพลังงานโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลเครือข่ายการเชื่อมต่อการค้าการขนส่งทางรถไฟและสวนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวการเกษตรและการบรรเทาความยากจน แผนนี้จะดำเนินการใน 3 ขั้นตอน ในฉบับแรกปี 2563 ตามมาด้วยอีกฉบับหนึ่งในปี พ.ศ. 2568 และเสร็จสิ้นภายในปี 2573

ภายใต้แผนนี้ประเทศต่างๆมีความตั้งใจที่จะพัฒนาความร่วมมือหลายระดับและเสริมสร้างการประสานงานด้านนโยบายรวมถึงการจัดตั้งและปรับปรุงระบบเครดิตข้ามพรมแดนและบริการทางการเงิน การาจีและปักกิ่งยังวางแผนที่จะเพิ่มการจัดเตรียมการแลกเปลี่ยนเงินตราและสร้างระบบการชำระเงินและการชำระเงินแบบทวิภาคี

เมื่อต้นปีที่ผ่านมาจีนได้ให้คำมั่นว่าจะลงทุนในปากีสถานมูลค่า 57,000 ล้านเหรียญเพื่อระดมทุนในโครงการ CPEC ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ "Belt and Road" ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง "เส้นทางสายไหมใหม่" ของเส้นทางการค้าทางบกและทางทะเลในกว่า 60 ประเทศทั่วโลก ทั้งในเอเชีย ยุโรปและแอฟริกา โดยปัจจุบันนี้ประเทศที่ใช้เงินหยวนในการค้าระหว่างประเทศ ได้แก่ สหรัฐฯ ฮ่องกง ไทย ไทเป สิงคโปร์ อังกฤษ