วาร์พสปีด     เร็วเหนือแสง ใกล้เป็นจริง

วาร์พสปีดเร็ว เหนือแสง ใกล้เป็นจริง

วาร์พสปีด     เร็วเหนือแสง ใกล้เป็นจริง

วาร์พสปีด...
เร็วเหนือแสง ใกล้เป็นจริง

 

   ใครที่เคยดูหนัง “Star Wars” หรือ “Star trek” คงคุ้มกับภาพยานอวกาศที่พุ่งพรวดหายไปในอากาศอันเวิ้งว้างในชั่วพริบตา เพื่อไปโผล่ ณ อีกขอบจักรวาล 
 

    ในตอนนี้ยานอวกาศที่เร็วที่สุดของมนุษย์คือ ยาน Voyager 1 ซึ่งมีความเร็วประมาณ ๓๘,๖๐๐ ไมล์ต่อชั่วโมง (mph) ขณะที่ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้ระบบสุริยะของเราที่สุดคือ “Proxima Centauri” อยู่ห่างออกไป ๔.๓ ปีแสง (๑ ปี แสงเท่ากับระยะทางที่ใช้เวลาเดินทาง ๑ ปี คือประมาณ ๙,๔๖๓ X ๑๐ กม.) คำนวณแล้วยานที่เร็วที่สุดเท่าที่เรามีอยู่กว่าจะเดินทางไปเคาะประตูเพื่อนบ้านได้ ก็กินเวลาปาเข้าไปประมาณ ๘๐,๐๐๐ ปี 
 

    เรียกว่าคนบนยานเกิด-ตาย ตาย-เกิด กันเป็นร้อยชาติก็ยังไม่ถึง 
    
     แต่ถ้าจะไปให้ถึงดาวฤกษ์เพื่อนบ้านภายในเวลา ๑๐ ปี ความเร็วที่ใช้ก็ต้องมีประมาณครึ่งหนึ่งของความเร็วแสง ตามทฤษฏีสัมพันธภาพพิเศษของไอน์สไตน์ 

 

     ความเร็วขนาดนี้จะทำให้ยานมีมวลเพิ่มขึ้น ๑  เท่าครึ่งของมวลเดิมที่เริ่มทางออกจากโลก ซึ่งนั่นหมายถึงพลังงานที่จะเผาผลาญเพื่อขับเคลื่อนยานมีค่าเท่ากับพลังทุกอย่างที่มนุษย์ผลิตในปัจจุบันในช่วงเวลา ๑ เดือน
 

    การเดินทางในห้วงอวกาศระหว่างดาว จึงเป็นเพียงจินตนาการในนิยามวิทยาศาสตร์ และเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ด้วยเทคโนโลยี และฟิสิกส์ปัจจุบันที่เรามีอยู่
 

    แต่องค์การนาซ่าประกาศที่จะผลัดดันให้เกิดภารกิจสำรวจหมู่ดาวใน ๒๕ ปีข้างหน้า นั่นทำให้นักวิทยาศาสตร์หลายคนต้องเริ่ม “ฝันในฝันที่เป็นไปไม่ได้” นั่นคือ มีการสำรวจความคิดที่จะทำให้เกิดความเป็นไปได้ของการเดินทางข้ามอวกาศขึ้นมา 
 

    Marc Millis คือผู้นำของกลุ่มนักวิทยาศาสตร์เหล่านั้น “แทนที่เราจะทำการวิจัยแบบใช้ระยะหลายปี ผมได้แบ่งการวิจัยแบบใช้ระยะหลายปี ผมได้แบ่งการวิจัยเหล่านั้นออกเป็นส่วนย่อยซึ่งแต่ละส่วนก็จะรับเอาปัญหาหนึ่งไปขบคิด ซึ่งโดยตัวของมันเองยังไม่ใช่การคิดเครื่องยนต์ขับเคลื่อนโดยตรง” Millis กล่าว

 

วาร์พสปีด     เร็วเหนือแสง ใกล้เป็นจริง Marc Millis นักวิทยาศาสตร์ ผู้เสนอทฤษฎี วาร์พสปีด

 

  ปัญหาที่ถูกนำมาขบคิดก็ได้แก่ การเปลี่ยนค่าแรงเฉื่อย (inertia) ให้แกว่งอยู่ในระดับปกติในสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งจะทำให้แรงเฉื่อยไม่มีผลต่อตัวยาน และสามารถเคลื่อนที่เร็วขึ้นด้วยพลังงานที่น้อยกว่า 
   

 หรือการสำรวจความเป็นไปได้ของพลังงานที่เรียกว่า “Zero Point Energy” (พลังงาน ณ จุดศูนย์) ซึ่งนักฟิสิกส์เชื่อว่าเป็นแหล่งพลังงานมหาศาลที่เหลืออยู่ในสุญญากาศหลังจากแยกพลังงานอื่น ๆ ออกไปจนหมด 
 

วาร์พสปีด     เร็วเหนือแสง ใกล้เป็นจริง ภาพจำลอง ทฤษฎี Zero Point Energy 

 

  ซึ่งพลังงานสุญญากาศแค่หนึ่งลูกบาศก์เซนติเมตร สามารถต้นน้ำในมหาสมุทรทั้งโลกให้เดือดได้เป็นต้น

    นอกจากนี้ทีมวิจัยยังขบปัญหาของความเป็นไปได้ในด้านทฤษฏี เช่นความเป็นไปได้ของ “รูหนอน” (wormholes) หรือบริเวณอุโมงค์อวกาศที่ปิดตัวเชื่อมต่อกันซึ่งสามารถย่นระยะทางในอากาศให้สั้นลงได้ ซึ่งปัญหาก็คือ รูหนอน เองยังคงเป็นเพียงทฤษฏี หรือหากมีจริงจะมีวิธีส่งยานหรือวัตถุผ่านมันไปอย่างไรนั่นเป็นเรื่องที่ต้องขบคิดกันต่อ

วาร์พสปีด     เร็วเหนือแสง ใกล้เป็นจริง ภาพจำลอง ทฤษฎี Wormholes