ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ www.tnews.co.th


ในเว็บไซต์ สมาคมดาราศาสตร์ไทย ได้เปิดเผยเรื่องราวของ "ดาวปลากัด กินดาวเคราะห์ของตัวเอง" โดยคุณวิมุติ วสะหลาย ได้ระบุไว้ว่า มีดาวฤกษ์ดวงหนึ่งที่ชื่อ ดาวอาร์แซดปลา (RZ Piscium) ที่เปรียบเสมือนแม่ผู้ให้กำเนิด ซึ่งดาวเคราะห์บริวารจะโคจรรอบดาวแม่โดยได้รับแสงรับพลังงานและความโน้มถ่วงจากดาวแม่ และดาวแม่นี้นักดาราศาสตร์พบว่ามันกำลังจะกินลูกของตัวเอง ซึ่งอยู่ห่างจากโลก 550 ปีแสง มีอุณหภูมิพื้นผิวประมาณ 5,330 องศาเซลเซียส คือร้อนน้อยกว่าดวงอาทิตย์เพียงเล็กน้อย

นักดาราศาสตร์ เผย "ดาวปลากัด" กินดาวเคราะห์ของตัวเอง ซึ่งอยู่ห่างจากโลก 550 ปีแสง !!!

.

ซึ่งเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา มีนักดาราศาสตร์อเมริกันกลุ่มหนึ่งได้รายงานผลการสำรวจดาวดวงนี้ว่า บางครั้งแสงดาวหรี่ลงเป็นเวลาสั้น ๆ อย่างคาดเดาไม่ได้ โดยแต่ละครั้งกินเวลาประมาณ 2 วัน พวกเขาเชื่อว่าเหตุที่แสงดาวหรี่ลงเพราะรอบ ๆ ดาวดวงนี้มีก้อนฝุ่นและแก๊สหลายร้อยก้อนล้อมอยู่ บางครั้งก้อนแก๊สเหล่านั้นมาบังแสงดาวทำให้ดูเหมือนว่าแสงหรี่ลงไป ซึ่งแต่ละก้อนน่าจะมีความหนาแน่นและมีขนาดใหญ่ เพราะแต่ละครั้งที่ถูกบังทำให้แสงดาวลดลงไปถึง 10 เท่า ฝุ่นแก๊สรอบดาวเกิดได้จากหลายอย่าง กระบวนการสร้างดาวฤกษ์ก็มักทิ้งฝุ่นแก๊สไว้รอบดาว ดาวเคราะห์และวัตถุบริวารอื่น ๆ ก็เกิดขึ้นจากฝุ่นแก๊สเหล่านั้น 

.

นักดาราศาสตร์ เผย "ดาวปลากัด" กินดาวเคราะห์ของตัวเอง ซึ่งอยู่ห่างจากโลก 550 ปีแสง !!!

.

โดยดาวอาร์แซดปลาน่าจะมีอายุราว 30-50 ล้านปี จากการประเมินอายุด้วยการแผ่รังสีอินฟราเรด ความเข้มข้นของรังสีเอกซ์ และปริมาณของธาตุลิเทียมในดาว ถือว่าอายุมากพอที่จานฝุ่นและแก๊สที่เป็นแหล่งกำเนิดดาวเคราะห์ควรจะสลายไปนานแล้ว ดังนั้นฝุ่นแก๊สที่มาบดบังแสงดาวดังที่นักดาราศาสตร์พบจึงไม่น่าจะเป็นฝุ่นแก๊สที่ให้กำเนิดดาวเคราะห์ หากเป็นฝุ่นแก๊สที่เป็นซากดาวเคราะห์ที่แหลกสลาย

.

นักดาราศาสตร์ เผย "ดาวปลากัด" กินดาวเคราะห์ของตัวเอง ซึ่งอยู่ห่างจากโลก 550 ปีแสง !!!

.

อย่างไรก็ตาม ผู้สำรวจมีการตั้งทฤษฎีว่า ดาวเคราะห์จำนวนหนึ่งได้เคลื่อนเข้ามาใกล้ดาวแม่จนเกินไป จนถูกแรงน้ำขึ้นลงของดาวแม่ฉีกจนแหลก โดย การวิเคราะห์สเปกตรัมเผยว่าฝุ่นแก๊สเหล่านั้นจำนวนหนึ่งกำลังไหลลงสู่ดาวอาร์แซดปลาอย่างช้า ๆ

.

นักดาราศาสตร์ เผย "ดาวปลากัด" กินดาวเคราะห์ของตัวเอง ซึ่งอยู่ห่างจากโลก 550 ปีแสง !!!

.

อ่านต่อได้ที่ >>> เว็บไซต์ สมาคมดาราศาสตร์ไทย

.

ชมคลิป >>

.

.

ข้อมูลจาก : คุณวิมุติ วสะหลาย , เว็บไซต์ สมาคมดาราศาสตร์ไทย

.

.