ติดตามข่าวสารได้ที่ www.gninternews.com

วันที่ 26 ม.ค. 61 สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า นายบิล ริชาร์ดสัน นักการทูตสหรัฐอเมริกา และที่ปรึกษาของรัฐบาลอดีตประธานาธิบดีบิล คลินตัน ได้ยื่นจดหมายลาออกจากคณะกรรมการที่ปรึกษานานาชาติเพื่อการแก้ไขปัญหาชาวมุสลิมโรฮิงญา หลังจากได้รับเลือกจากนางออง ซาน ซูจี ผู้นำเมียนมา โดย คณะกรรมการที่ปรึกษาชุดดังกล่าวเพิ่งจัดประชุมเต็มคณะเป็นครั้งแรกไปเมื่อวันที่ 22 ม.ค. ที่ผ่านมา ที่กรุงเนปิดอว์ ประเทศเมียนมา

 

ถึงจุดแตกหัก!! นักการทูตสหรัฐฯ ประกาศลาออกจากคณะที่ปรึกษากรณีโรฮิงญา จวกซ้ำไม่ขอตกเป็นเครื่องมือของอองซาน ซูจี

นายบิล ริชาร์ดสัน

นายริชาร์ดสัน ได้ให้เหตุผลในการตัดสินใจลาออกครั้งนี้ว่า คณะกรรมการที่ปรึกษาพยายามลบล้างความผิดที่กองทัพเมียนมากระทำต่อชาวโรฮิงญา ซึ่งเขาไม่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของกองเชียร์รัฐบาลเมียนมา นอกจากนี้เขาได้ทะเลาะรุนแรงกับนางซูจี เนื่องจากได้มีการหารือถึงเรื่องปล่อยตัวผู้สื่อข่าว ที่ทำงานให้กับสำนักข่าวรอยเตอร์ 2 คน ที่โดนทางการเมียนมาจับกุมดำเนินคดีในข้อหาละเมิดกฎหมายความลับทางราชการ ขณะที่นักข่าวทั้ง 2 กำลังไปทำข่าวสืบสวนเกี่ยวกับเรื่องวิกฤตโรฮิงญา 

 

ถึงจุดแตกหัก!! นักการทูตสหรัฐฯ ประกาศลาออกจากคณะที่ปรึกษากรณีโรฮิงญา จวกซ้ำไม่ขอตกเป็นเครื่องมือของอองซาน ซูจี

 

แต่นางซูจี กลับแสดงท่าทีฉุนเฉียวใส่ พร้อมระบุว่าเรื่องดังกล่าวไม่ได้อยู่ในขอบเขตของคณะที่ปรึกษาของนายริชาร์ดสัน ซึ่งสร้างความตกตะลึงเขาเป็นอย่างมาก แม้เขาจะรู้จักนางซูจีมานานกว่า 30 ปี และเคารพเธอมาก แต่นางซูจี กลับไม่มีความเป็นผู้นำด้านศีลธรรมในเรื่องความขัดแย้งในรัฐยะไข่ และข้อกล่าวหาว่ากองทัพเมียนมากำลังลบล้างเผ่าพันธุ์โรฮิงญา ทำให้เขารู้สึกเสียใจมาก นายริชาร์ดสัน กล่าว

ขณะที่นายจอว์ ฮเทย์ โฆษกรัฐบาลเมียนมา ได้ออกตอบโต้นายริชาร์ดสันทันทีว่า ให้กลับไปพิจารณาตัวเองถึงเรื่องการให้ร้ายนางซูจี ในฐานะประธานที่ปรึกษาแห่งรัฐ และเสียใจที่นายริชาร์ดสันลาออกไปเพราะเข้าใจผิด

 

ถึงจุดแตกหัก!! นักการทูตสหรัฐฯ ประกาศลาออกจากคณะที่ปรึกษากรณีโรฮิงญา จวกซ้ำไม่ขอตกเป็นเครื่องมือของอองซาน ซูจี


ทั้งนี้ นายริชาร์ดสัน ได้เคยเดินทางมาเยี่ยมนางซูจี เป็นระยะในช่วงที่นางซูจี ถูกกักบริเวณตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 จนกระทั่งเมื่อนางซูจี ได้รับอิสรภาพและได้รับการเลือกตั้งเป็นรัฐบาล นายริชาร์ดสันรับคำเชิญมาเป็นคณะกรรมการที่ปรึกษานานาชาติเพื่อการแก้ไขปัญหาชาวมุสลิมโรฮิงญา หลังจากมีชาวโรฮิงญาทะลักหนีภัยออกจากรัฐยะไข่ไปแล้ว 6 แสนกว่าคน ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวนี้มีสมาชิก 10 คน โดยเป็นชาวต่างชาติ 5 คน