บุกทำเนียบ!!!..."ไพบูลย์-นพ.มโน"ยื่นนายกฯจัดหนัก"สมเด็จช่วง" ขวางตั้ง"สังฆราช"(มีคลิป)

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ www.tnews.co.th

เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 12 กรกฎาคม ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ทำเนียบรัฐบาล ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายไพบูลย์ นิติตะวัน อดีตสปช. พร้อมนพ.มโน เลาหวนิช อดีตศิษย์เอกวัดพระธรรมกาย ยื่นหนังสือถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ เพื่อคัดค้านการเสนอนามสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (สมเด็จช่วง) เป็นสมเด็จพระสังฆราช คนที่ 20 โดยนายไพบูลย์ กล่าวว่า สาเหตุที่ต้องคัดค้านการเสนอนามดังกล่าวเนื่องจากพบว่ายังมีคดีความ มีการล่วงละเมิดพระธรรมวินัย จึงต้องขอให้มีการตรวจสอบ เพื่อไม่ให้เกิดการระคายเคืองเบื้องพยุคลบาทเมื่อนำเสนอชื่อขึ้นกราบบังคมทูลฯ จึงให้พึงระวัง 4 เรื่อง คือ

 

1.กรณีที่ปรากฎว่ามีการครอบครองรถเบนซ์ที่ผิดกฎหมาย ซึ่งคดีกำลังอยู่ในขั้นตอนการสอบสวนของดีเอสไอ

 

 2. ตนได้ยื่นเรื่องร้องดีเอสไอไว้ในกรณีสมเด็จช่วงให้การช่วยเหลือพระธัมชโยกรณีพระลิขิตสมเด็จพระสังฆราชเข้าข่ายกระทำการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 โดยมีหลักฐานว่ามีผลประโยชน์ร่วมกับพระธัมมชโย

 

3นอกจากนั้น ยังพบว่า มีกาารชำระเงินค่ารถเบนซ์คันที่มีปัญหาโดยจ่ายเป็นบัญชีกระแสรายวัน สั่งจ่ายเป็นเช็ค ระบุชื่อเจ้าของอู่รถ ซึ่งเป็นการทำผิดธรรมวินัย 2 ข้อ คือ พระภิกษุการต้องไม่รับหรือยินดีเงินทอง และต้องไม่นำเงินทองไปทำการซื้อขายแลกเปลี่ยน แต่แต่กฎว่า มีการนำเช็คดังกล่าวไปชำระค่าซ่อมรถ โดยเรื่องนี้ควรตั้งกรรมการอิสระตามพูดตรวจการแผ่นดินเคยเสนอไว้ ขึ้นมาตรวจสอบ โดยประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ พระภิกษุชั้นผู้ใหญ่ นักวิชาการ ฯลฯ เนื่องจากเกรงว่าหากผู้ตรวจสอบและพูดถูกตรวจสอบเป็นคนเดียวกันจะไม่ได้ข้อยุติ และเกิดความไม่สง่างาม

 

และ 4.ในวันที่ 9 มิถุนายน 59 ที่วัดพระแก้ว ที่มีงานราชพิธีสำคัญ สมเด็จช่วงในฐานะประธานในพิธีต้องนำสวดบทถวายพระพรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี 2 บทก่อน แต่ท่านกลับข้าม ไม่นำสวดบทถวายพระพรดังกล่าว ตนจึงได้ทำหนังสือร้องเรียนไปยังสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พ.ศ.) ให้ตรวจสอบสาเหตุและข้อเท็จจริง

เมื่อถามว่า นายกฯระบุว่า การเสนอนามซึ่งเป็นอำนาจนายกฯนั้น หากพบว่ามีปัญหาจะยังไม่พิจารณา นายไพบูลย์ กล่าวว่า รู้สึกประทับจัย และเชื่อใจหากนายกฯพูดอย่างนั้น แต่ก็จะถูกกดดันจากฝ่ายที่เรียกร้องให้เสนอแต่งตั้งสมเด็จช่วง จึงไม่อยากให้เกิดปัฯหา ขอให้นายกฯพิจารณาด้วยความรอบคอบ โดยมีความเห็นของกฤษฎีกาเข้ามาประกอบการพิจารณา ส่วนจะปฏิบัติตามหรือไม่อย่างไรก็ขึ้นอยู่กับนายกฯ