เหลืออีก 2 สัปดาห์ ประชามติ 7 สิงหา ... ประชาธิปัตย์ ยังกั๊กสถานการณ์สับสน อยู่ที่ประชาชนชี้ขาดอนาคตประเทศ

เหลืออีก 2 สัปดาห์ ประชามติ 7 สิงหา ... ประชาธิปัตย์ ยังกั๊ก สถานการณ์สับสน อยู่ที่ประชาชนชี้ขาดอนาคตประเทศ

เหลืออีกแค่เพียงสองสัปดาห์เท่านั้นที่จะถึงวันลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งสถานการณ์ขณะนี้เต็มไปด้วยความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะท่าทีของพรรคประชาธิปัตย์ ว่าจะประกาศรับไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ

 

ยังเหลือเวลาอีก ประมาณ 2 สัปดาห์เศษเท่านั้นก็จะถึงประชามติวันที่ 7 สิงหาคม จึงเป็น 2 สัปดาห์ ที่คงต้องติดตามว่าอนาคตประเทศไทยจะเดินหน้าไปอย่างไร

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นประธานเปิดการประชุมประจำปี 2559 ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยกล่าวตอนหนึ่ง ว่า ถือเป็นโอกาสดีในช่วงเปลี่ยนผ่านประเทศ ให้เป็นประเทศที่มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน มีแผนการทำงานระยะยาว ทำให้วิกฤติเป็นโอกาส เพื่อลดความเสี่ยงในอนาคตจากปัจจัยภายนอกและภายใน โดยใช้แผนพัฒนาฉบับที่ 12 ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ของรัฐบาล โดยยอมรับว่า รัฐบาลไม่สามารถจะทำให้ทุกอย่างจบใน 2 ปีได้ แต่เรื่องใดที่ยังไม่สามารถดำเนินการได้ทันที จะต้องปรับให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อให้รัฐบาลขับเคลื่อนต่อไป

พร้อมกันนี้ ขอประชาชนอย่าฟังคำบิดเบือนและอย่าไปให้ความสนใจ ทั้งการบิดเบือนข้อเท็จจริง เรื่องการตัดสิทธิรักษาพยาบาล บัตรทอง 30 บาทออกไป เพราะเป็นเพียงความพยายามของคนกลุ่มเดียวเท่านั้น ที่พยายามสร้างความสับสนให้แก่ประชาชน

ขณะที่ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เปิดเผยถึงสถานการณ์ช่วงก่อนการลงประชามติ ที่มีการฉีกรายชื่อผู้มีสิทธิ์ออกเสียงประชามติ ว่า ส่วนตัวได้รับทราบเรื่องดังกล่าวแล้ว และกำลังติดตาม ซึ่งการฉีกรายชื่อนั้น อาจเกิดจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเด็ก หรือประชาชนบางคน รวมไปถึงลมพัดจนทำให้บัญชีรายชื่อเกิดความเสียหาย ซึ่งเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมีเพียง 4 จุดในประเทศเท่านั้น ยืนยันว่า ไม่ใช่กระบวนการก่อกวนหรือป่วน และไม่ใช่การล้มประชามติ ซึ่งขณะนี้สถานการณ์มีความเรียบร้อยดีทุกอย่าง

 

อย่างไรก็ตาม ช่วงโค้งสุดท้ายก่อนลงประชามติไม่จำเป็นต้องเข้มงวดขึ้น เนื่องจากมีการเข้มงวดตลอดอยู่แล้ว และเจ้าหน้าที่ก็ดูแลอยู่ทุกขั้นตอน ขณะเดียวกัน ใกล้ได้ตัวบุคคลที่แจกร่างรัฐธรรมนูญปลอมแล้ว

 

ทั้งนี้ข้อเรียกร้องของเครือข่ายกลุ่มพลเมืองผู้ห่วงใย ที่ต้องการให้เปิดพื้นแสดงความคิดเห็น โดยจัดพื้นที่สาธารณะที่ปลอดภัยสำหรับทุกฝ่าย ว่า ได้ดำเนินการตามข้อเรียกร้องของกลุ่มดังกล่าวแล้ว และเปิดให้ในทุกช่องทาง

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่างถึงการจัดเวทีดีเบตร่างรัฐธรรมนูญ ว่า ส่วนตัวได้ประสานกับกระทรวงมหาดไทยและคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ไปดำเนินการจัดเวทีให้ประชาชนมีพื้นที่ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญในทุกจังหวัด โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้แทนจากส่วนกลางไปให้ข้อมูล เพราะต้องการให้เป็นพื้นที่ของคนในท้องถิ่น และไม่ได้กำหนดกรอบระยะเวลา แต่กำชับให้ดำเนินการสอดคล้องกับ ม.4, 7 และไม่ขัดกับ ม.61 ของพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ดูแลเรื่องสถานที่และผู้เข้าร่วมเวที

 

หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านการทำประชามติ มีทางออกเดียวคือต้องร่างใหม่ ซึ่งขณะนี้มีแนวทางอยู่แล้ว แต่ไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้ เพราะยังไม่ชัดเจน และไม่อยากทำให้ประชาชนเกิดความไขว้เขว

ณ.ตอนนี้เองมีฝ่ายที่ทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับของอ.มีชัย ที่ออกมาแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับร่างฉบับนี้

นายโคทม อารียา ที่ปรึกษาสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา (สสมส.) มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงกรณีที่นายกรัฐมนตรีระบุว่า อย่ามาบีบบังคับรัฐบาล หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติ แล้วจะทำอย่างไร ว่า เป็นเพียงการเสนอความคิดเห็น อย่าถือสากัน แต่หวังว่านายกรัฐมนตรี รับข้อเสนอไว้พิจารณา ถ้าไม่ผ่านให้นำรัฐธรรมนูญปี 2550 มาปรับปรุงแก้ไขใหม่ แล้วประกาศใช้ชั่วคราวในช่วง 4 ปี โดยระหว่างนั้น ให้แต่งตั้ง หรือสรรหา สภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) เพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการออกแบบร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เพื่อให้เป็นแบบประชามติ ส่วนจะทำเป็นหนังสือหรือไม่นั้น ก็อาจจะทำเป็นข้อเสนอเป็นลายลักษณ์อักษร

ส่วนการลงชื่อเป็นจุดเริ่มต้นให้ประชาชนตัดสินใจในทางใดทางหนึ่งหรือไม่ นายโคทม กล่าวว่า ตนมองโลกในแง่ดี และเชื่อว่าทุกคนมีสิทธิ์กำหนดใจตัวเอง

ด้านมุมมองการเปิดเวทีแสดงความคิดเห็นจะช้าเกินไปหรือไม่ นายโคทม กล่าวว่า ไม่มีอะไรที่สายเกินไป จะได้เป็นอีกช่องทางหนึ่งให้ประชาชนศึกษาและมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจว่าจะเลี้ยวซ้าย หรือเลี้ยวชวา เพราะขณะนี้ไม่ทราบว่าเลี้ยวไปแล้วจะเจออะไร ทั้งนี้ ขอไม่แสดงความคิดเห็นกรณีที่กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ไม่เข้าร่วมเวทีดีเบตทุกเวที

ด้านนายนพดล ปัทมะ อดีตรมว.ต่างประเทศ และแกนนำพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ พูดถูกแล้วที่ว่าประชาชนเป็นผู้กำหนดทิศทางประชาธิปไตย อยากเห็นรัฐบาลนำคำพูดของพล.อ.ประยุทธ์ ไปลงมือทำให้เกิดผลขึ้นจริง บุคคลสำคัญในรัฐบาลและ คสช.บอกว่าสถานการณ์ในขณะนี้ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง และตนเชื่อว่าคนไทยมีความรับผิดชอบพอที่จะไม่ก่อความไม่สงบในช่วงก่อนการลงประชามติ จึงควรเปิดให้คนไทยมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและรณรงค์ร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อร่วมกำหนดทิศทางประชาธิปไตยตามคำพูดของนายกรัฐมนตรีโดยปราศจากความกลัว ไม่ต้องอยู่ภายใต้ข้อจำกัดเรื่องห้ามการชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้น

นายจาตุรนต์ ฉายแสง แกนนำพรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว "Chaturon Chaisang" ว่า 3 เรื่อง 3 ปัญหาในร่างรัฐธรรมนูญฉบับ "มีชัย" โดยระบุในร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่จะลงประชามตินี้ มีเรื่องหลายเรื่องที่จะมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งมีองค์กรภาคประชาสังคมได้วิพากษ์วิจารณ์กันไปมากพอสมควร และคงจะมีการวิพากษ์วิจารณ์มากขึ้นอีกในช่วงต่อไป เรื่องที่จะแสดงความเห็นต่อไปนี้เป็นเรื่องที่เห็นว่าอาจมีผลกระทบต่อโครงการหรือมาตรการของรัฐ ซึ่งจะมีผลต่อประชาชนอย่างมากในวงกว้าง ทั้งยังเป็นประเด็นที่เป็นที่สนใจและเป็นที่ถกเถียงกันอย่างมาก

 

ทั้งนี้ นายจาตุรนต์ ระบุ เรื่องที่จะกล่าวถึงมีอยู่ 3 เรื่อง คือ เรื่องที่มีปัญหา คือ 1.เรื่องระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือที่มักรู้จักกันในชื่อ "30 บาทรักษาทุกโรค" 2.เรียนฟรี 12 ปี หรือ 15 ปี และ 3.การแทรกแซงราคาสินค้าเกษตร

ขณะที่ นายชินวัฒน์ หาบุญพาด อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และแกนนำคนเสื้อแดง โพสต์รูปภาพ พร้อมระบุข้อความลงเฟซบุ๊ ว่า ผมอยากจะถามพี่น้องคนไทยในประเทศทั้งฝ่ายที่เคยสนับสนุนนายคนนี้ และฝ่ายที่ต้านนายคนนี้ ว่า ได้รับประโยชน์อะไรจากการกระทำของนายคนนี้บ้าง โดยเฉพาะในช่วงตั้งแต่ตั้งเวทีล้มล้างการปกครอง ชัตดาวน์กรุงเทพฯ ขัดขวางการเลือกตั้ง เรียกทหารออกมาทำรัฐประหาร ท่านได้อะไร ประเทศได้อะไร ประเทศและประชาชนเสียหายอะไรบ้าง พร้อมกันนี้คนในประเทศนี้จะเชื่อนายคนนี้อีกต่อไปหรือไม่

 

พี่น้องครับโดยส่วนตัวผมเห็นว่านายคนนี้เป็นโมฆะบุรุษ คือคนไร้ประโยชน์ต่อแผ่นดินและเป็นตัวอันตรายต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย การที่นายคนนี้ออกมาบอกว่าร่างรัฐธรรมนูญที่จะลงประชามติกันในวันที่7สค.นี้ดี ผมจึงไม่เชื่อนายคนนี้ ดังนั้นผมจะออกไปใช้สิทธิ์ แต่จะไม่เห็นชอบ ไม่เอาร่างรัฐธรรมนูญนี้ครับ

และเหมือนเช่นทุวัน นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธานมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย แกนนำ กปปส. ได้โพสต์เฟซบุ๊กไลฟ์  ซึ่งในวันนี้พูดในประเด็น ถ้ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านการลงประชามติ