ท้ารบเผด็จการ!?!..."วรเจตน์" กร้าวไฟที่กำลังโชติช่วงในใจทุกคน(รายละเอียด)

กลุ่มขบวนการประชาธิปไตยใหม่ ร่วมกับเครือข่าย 43 องค์กร จัดกิจกรรม ใส่ใจประชามติรัฐธรรมนูญกำหนดอนาคตประชาชน โดยนายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ แกนนำกลุ่มนิติราษฎร์และอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร

กลุ่มขบวนการประชาธิปไตยใหม่ ร่วมกับเครือข่าย 43 องค์กร จัดกิจกรรม ใส่ใจประชามติรัฐธรรมนูญกำหนดอนาคตประชาชน  โดยนายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ แกนนำกลุ่มนิติราษฎร์และอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ ประชามติ 7 สิงหา กับอนาคตสังคมไทย  ซึ่งกล่าวตอนหนึ่งว่า  สิ่งที่เผด็จการกลัวที่สุด คือไฟที่โชติช่วงในใจทุกคน ซึ่งดับไม่ได้ ตราบเท่าที่ความหวังในใจของคนที่รักประชาธิปไตยยังโชติช่วงอยู่ วันหนึ่งเผด็จการจะรู้ว่าเขาไม่อาจดับไฟเหล่านี้ได้ และในวันที่ไฟในใจของประชาชนมารวมกัน วันนั้นเราก็จะมีประชาธิปไตย มีกฎหมายที่เป็นธรรมอย่างแท้จริง

 

ท้ารบเผด็จการ!?!..."วรเจตน์" กร้าวไฟที่กำลังโชติช่วงในใจทุกคน(รายละเอียด)

ไม่เพียงเท่านั้น นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ ยังระบุว่า แม้หลายคนยืนยันว่าจะมีการทำประชามติแน่นอน แต่ก็ยังแน่ใจไม่ได้ เพราะหัวหน้า คสช.มีมาตรา 44 สั่งว่าจะจัดหรือเลื่อนออกไปก็ได้ และแม้ว่าผู้ร่างรัฐธรรมนูญจะเขียนให้แก้ไขได้ แต่ก็พบว่ายากต่อการแก้ไขมาก ซึ่งเรื่องนี้มีนัย คือ อาจเป็นชนวนและระเบิดเวลาที่นำไปสู่ความรุนแรงในอนาคต อีกทั้งเงื่อนไขที่กำหนดในร่างรัฐธรรมนูญยังเขียนให้รองรับมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว ทั้งๆ ที่รัฐธรรมนูญปกติกำหนดคือการทำให้อำนาจรัฐประหารสิ้นสุดเมื่อมีรัฐธรรมนูญถาวร แต่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังให้หัวหน้า คสช.มีอำนาจต่อไป อีกทั้งคำสั่ง คสช.ก็จะเป็นมรดกตกทอดต่อไป

  ท้ารบเผด็จการ!?!..."วรเจตน์" กร้าวไฟที่กำลังโชติช่วงในใจทุกคน(รายละเอียด)

 ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังมีปัญหาเรื่องโครงสร้างองค์กรของรัฐ และการเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมืองโดยการเลือกตั้งจะเปลี่ยนไปจากเดิม ซึ่งเป็นการยากหรือที่จะทำให้ประชาชนมีคะแนนเสียง 2 คะแนน คือเลือก ส.ส.เขตและแบบบัญชีรายชื่อแยกกัน ไม่เข้าใจว่าทำไมกำหนดให้เลือกได้อย่างเดียว เหมือนเป็นการบังคับโดยปริยาย ในแง่นี้อาจทำให้เจตนารมณ์ของประชาชนในการเลือกผู้แทนไม่สมบูรณ์

 

ท้ารบเผด็จการ!?!..."วรเจตน์" กร้าวไฟที่กำลังโชติช่วงในใจทุกคน(รายละเอียด)

ส่วนการได้มาซึ่ง ส.ว.ประชาชนจะไม่มีสิทธิเลือก ทั้งๆ ที่มีอำนาจอย่างมากในการออกกฎหมายความชอบธรรมมีน้อย อำนาจของศาลและองค์กรอิสระก็เพิ่มมากขึ้น มีบุคคลที่ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐบาล คสช.บอกว่า หากรัฐธรรมนูญไม่ผ่าน อาจหมายถึงอยากให้ คสช.อยู่ยาว การจัดประชามติครั้งนี้ถ้ารัฐธรรมนูญผ่าน แปลว่าคนเห็นชอบ แต่ถ้าไม่ผ่านหมายถึงประชาชนปฏิเสธผลงานที่มา คนที่เป็นกรรมการร่างฯจะรับผิดชอบอย่างไร แล้วที่แต่งตั้งกรรมการร่างฯจะรับผิดชอบอย่างไร บางคนเริ่มไขว้เขว พอบอกว่าไม่รับ อยากให้ คสช.อยู่นานๆหรือ เราจะต้องอยู่บ้านไม่ไปใช้สิทธิ หรือไปโหวตรับ ซึ่งเห็นว่าถ้ารัฐธรรมนูญไม่ผ่าน ความชอบธรรมของ คสช.คงไม่เหมือนเดิม

  ท้ารบเผด็จการ!?!..."วรเจตน์" กร้าวไฟที่กำลังโชติช่วงในใจทุกคน(รายละเอียด)

ในส่วนประเด็นคำถามพ่วง มีข้อสังเกตว่า ถ้าคำถามพ่วงนี้ผ่าน ส.ว.มาร่วมโหวตเลือกนายกฯ แต่ 5 ปีแรกของ ส.ว.มาจากการคัดเลือกของ คสช.เมื่อเป็นเช่นนี้คำถามแรกว่า เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบรัฐธรรมนูญ บังเอิญตนเป็นคนถนัดขวา ดังนั้นคำถามที่สองจะให้กาช่องซ้ายก็กระไรอยู่ คงกาช่องขวาทั้งสองช่อง ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญเป็นอย่างไรจะกำหนดชะตากรรมของชาตินั้นๆ ประวัติศาสตร์พิสูจน์มาแล้วว่า ชาติใดที่ประชาชนสามารถกำหนดชะตากรรมของตนเอง มีประชาธิปไตย ย่อมเกิดการคอร์รัปชั่นน้อยชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี