จับตาอภิสิทธิ์แถลงประกาศจุดยืนรับ-ไม่รับ รัฐธรรมนูญ 27 ก.ค.นี้

จับตาอภิสิทธิ์แถลงประกาศจุดยืนรับ-ไม่รับ รัฐธรรมนูญ 27 ก.ค.นี้

 

อีกหนึ่งท่าทีที่น่าสนใจของการชี้ขาดสถานการณ์วันออกเสียงประชามติคือท่าทีของพรรคประชาธิปัตย์  ซึ่งล่าสุดนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จะมีการแถลงท่าทีในวันพุธที่ 27 กรกฎาคมนี้

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า จะแถลงจุดยืนต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ในช่วงบ่ายวันพุธที่ 27 ก.ค. เพราะวันนี้ตนเพิ่งกลับมาจากต่างประเทศ และงานที่ตนผลักดันอยู่คือการมองไปข้างหน้า ซึ่งเลยประเด็นเรื่องของการทำประชามติไปแล้ว สิ่งแรกคือต้องคิดถึงอนาคตของประเทศ ที่ไม่ใช่มาถกเถียงกันเรื่องการเมือง ถ้าวิเคราะห์ปัญหาโดยรวมหลายอย่างจะพบว่าปัญหาด้านการศึกษา มีปัญหาอยู่มาก วันนี้สถาบันออกแบบอนาคตประเทศไทย ได้เข้ามาศึกษาจุดนี้ เพราะอยากให้สังคมมีการตื่นตัว ที่ผ่านมาการปฏิรูปจะอยู่กันในเชิงนามธรรม วันนี้เราเอาประเด็นที่เป็นรูปธรรมโดยการปฏิบัติ และต่อจากนี้จะต้องทำใหญ่กว่านั้นคือ การแก้ปัญหาความยากจน และแก้ปัญหาประเทศ แม้แต่คนที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ยังได้มีการพูดย้อนไปถึงปี 2475 ซึ่งได้เขียนวิธีการแก้ไขปัญหาในรัฐธรรมนูญ คือการปฏิรูปการศึกษา ทั้งนี้มีเวลาอีก 2 วัน ก่อนพูดถึงตัวร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้

   เมื่อถามถึงกรณีที่คนในพรรคมีการแสดงความเห็นก่อนหน้านี้ว่ารับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ทุกคนมีสิทธิ์ในการแสดงความเห็น และเข้าใจในความหลากหลาย และมุมมอง แต่ขอให้ตั้งต้นพิจารณาให้ดีว่าโจทย์ของประเทศเป็นอย่างไร หากมองโจทย์ตรงกันก็หาคำตอบร่วมกันได้ง่าย ถ้าตั้งโจทย์คนละเรื่องก็ยากที่จะได้คำตอบร่วมกัน

ดังนั้นเราจึงต้องมองที่แนวทางและทิศทางอนาคตของประเทศซึ่งมีความสำคัญมาก ส่วนเรื่องการปฏิรูปการศึกษาในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ตนเห็นว่ามีทั้งก้าวหน้าและถอยหลัง เช่นมีการเขียนให้ความสำคัญในเด็กประถมวัยมากขึ้น แต่ตนไม่เข้าใจที่มีการถอยในเรื่องการศึกษาฟรี และการดูแลผู้ด้อยโอกาส ที่มีการเขียนจนเกิดเงื่อนไขให้นายกฯใช้ ม.44

หากทำแต่แรกก็จะเป็นการสร้างความมั่นใจให้เกิดความชัดเจนตั้งแต่แรกต่อสังคม หรือมีหลายอย่างที่พูดกัน ทั้งนี้ต้องยอมรับว่าเราคงไม่สามารถปฏิรูปการศึกษาได้เลย ถ้ารัฐจะเป็นคนทำทั้งหมด ซึ่งจะต้องให้ส่วนท้องถิ่น และเอกชนมีส่วนร่วมด้วย แต่ทิศทางของร่างรัฐธรรมนูญนี้ ไม่ได้ส่งเสริมให้มีการกระจายอำนาจอย่างแท้จริง

เพราะรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดรูปแบบที่จะเปิดให้เอกชนร่วมสนับสนุนในงานแบบนี้ จึงน่าเป็นห่วง เช่นเดียวกับเรื่องสิทธิเสรีภาพ ที่ไม่ได้นำไปโยงในหลายเรื่อง ทั้งที่เป็นหัวใจหลัก ถ้าหากจะให้มีการปฏิรูปเพื่อเดินหน้าแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ความยากจน ก็ต้องเริ่มจากสิทธิเสรีภาพของประชาชนเสียก่อน หากประชาชนมีส่วนร่วมน้อย หรือเข้าถึงข้อมูลต่างๆไม่ได้ เรื่องอื่นก็ตามมายาก

แม้กระทั่งเรื่องการปราบโกง ที่บอกว่าจะมีการตัดหัวเจ็ดชั่วโคตร แต่ถ้าประชาชนไม่มีโอกาสแม้แต่การเข้าถึงข้อมูล จากต้นประเด็นว่าใครทุจริตอะไร เกี่ยวข้องกับใครที่ไหนอย่างไร ก็เป็นเรื่องยาก และบทบัญญัติลงโทษก็มีแค่นั้น

ทั้งนี้ในอดีตที่ผ่านมา ไม่ใช่ว่าเราไม่มีบทลงโทษ เรื่องการทุจริต แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า เราไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายได้เลย หรือเปิดโปงข้อมูลการทุจริตให้สังคมรับทราบ ซึ่งสิ่งสำคัญจะต้องเริ่มจากตรงนี้ หากเราจะวิเคราะห์ร่างรัฐธรรมนูญ เราต้องวิเคราะห์ถึงเป้าหมายของประเทศ ในเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน และการวางบทบาทให้ประชาชนท้องถิ่น ภาครัฐ มีความเชื่อมโยงแค่ไหน ซึ่งน่าเสียดาย ที่มีการพูดถึงเรื่องเหล่านี้

ทั้งนี้ในส่วนของการแถลงท่าทีต่อร่างรัฐธรรมนูญนั้น จะชี้แจงให้ชัดเจน ส่วนจะเห็นด้วยหรือไม่นั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่คงจะพูดว่าเป็นท่าทีของพรรคไม่ได้ เนื่องจากทางพรรคเปิดประชุมไม่ได้ แต่ยืนยันว่าจะมีคำตอบให้สังคมแน่ และไม่หนักใจเพราะตนมีคำตอบในใจอยู่แล้ว อีกทั้งมีการพูดคุยกันในพรรคแล้วทั้งผู้ใหญ่ และผู้น้อยว่าแนวทางจะเป็นอย่างไรหรืออย่างน้อยที่สุดก็คุยว่า ปัจจัยที่จะแสดงออกถึงท่าทีควรจะขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง

ขณะที่ นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. ว่า เท่าที่ตนติดตามโพลสำนักต่างๆส่วนใหญ่ประเมินว่า รัฐธรรมนูญนี้จะผ่านนั้น เนื่องจากฝ่ายที่เห็นต่าง ไม่กล้าแสดงความเห็น เพราะกลัวว่าจะผิดกฎหมาย ขณะที่ฝ่ายสนับสนุนให้รับ สามารถใช้สิทธิได้เต็มที่โดยไม่ต้องกลัวว่าจะมีความผิดแต่อย่างใด

1.คดีความต่างๆที่เกิดขึ้นทางการเมืองไม่มีวันหมดอายุความ

 

2.หากนักการเมืองโกงกิน คอร์รัปชัน ผลาญงบประมาณ มีโทษหนัก คือ ประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต ไม่รอลงอาญา และมิให้ประกันตัว

 

3.หากร่ำรวยผิดปกติ มีการฟอกเงิน มีการยักยอกทรัพย์สินของทางราชการหรืองบประมาณแผ่นดินไปเป็นของตนเองหรือพวกพ้อง นักการเมืองต้องโทษจำคุก 15 ถึง 30 ปี และยึดทรัพย์ที่ได้ไปโดยมิชอบนั้นให้ตกเป็นของแผ่นดิน

 

4.หากบริหารประเทศผิดพลาดทำให้ประเทศชาติเสียหาย หรือเป็นหนี้มหาศาล ต้องโทษจำคุก 15 ถึง 30 ปี

 

5.เมื่อมีคดีติดตัวและอยู่ระหว่างการดำเนินการของศาลหรือองค์กรอิสระ ห้ามเดินทางออกนอกประเทศโดยเด็ดขาด

 

6.ห้ามมิให้นักการเมืองใช้ช่องทาง VIP มิให้อำนวยความสะดวกให้แก่นักการเมือง ห้ามโดยสารเครี่องบินชั้นเฟิร์ส คลาสฟรี