ไปทำอะไรมา!?!...สื่อนอก ช็อคตาค้างทำไมคนไทยถึงรู้สึกกับ"พล.อ.ประยุทธ์"ขนาดนี้

ไปทำอะไรมา!?!...สื่อนอก ช็อคตาค้างทำไมคนไทยถึงรู้สึกกับ"พล.อ.ประยุทธ์"ขนาดนี้

เมื่อวันที่ 23 ธ.ค.2558 ว่า ผลการสำรวจความคิดเห็นสาธารณะของประชาชนชาวไทยล่าสุด พบว่าเกือบร้อยละ 99 มีความสุขกับการปกครองประเทศของรัฐบาลทหาร ในนาม คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช.

นับตั้งแต่ คสช. ขึ้นครองอำนาจจากการก่อรัฐประหาร ซึ่งความนิยมที่สูงมากขนาดนี้ จะพบเห็นได้ในการเลือกตั้งที่เกาหลีเหนือ หรืออิรักในยุคของอดีตผู้นำเผด็จการซัดดัม ฮุสเซน

รัฐบาล คสช. ติดตามไล่ล่ากลุ่มผู้วิพากษ์วิจารณ์อย่างไม่ลดละ คุมขังผู้ที่พยายามจะประท้วง จุดเทียน หรือแม้แต่กดปุ่ม "ไลค์" ชอบ บนเฟซบุ๊ค

แต่กระนั้น ผลการสำรวจที่เผยแพร่ไป แสดงให้เห็นถึงความน่าประหลาดใจ ที่ชาวไทยส่วนใหญ่มีความพึงพอใจ กับการบริหารงานของรัฐบาล คสช.

 

พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกรัฐบาลไทย กล่าวว่า การสำรวจกระทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ หน่วยงานของรัฐบาล พบว่าร้อยละ 98.9 ของผู้ถูกสอบถาม มีความพึงพอใจและเชื่อมั่นในการบริหารงานของ คสช. พล.ต.สรรเสริญไม่ได้เปิดเผยวิธีการ หรืออัตราคลาดเคลื่อนของผลสำรวจ เพียงแต่กล่าวว่า เป็นผลจากการสอบถามประชาชนทั่วประเทศ 2,700 คน ระหว่างวันที่ 27 พ.ย.2558 - 4 ธ.ค.2558

อย่างไรก็ตาม จำนวนของผู้ถูกสอบถาม และวันที่สอบถาม ในการสำรวจ แตกต่างกันออกไป แล้วแต่แหล่งข่าวของรัฐบาล ทางด้าน พล.ต.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ทำการสำรวจประชาชนกว่า 7,000 คน ในช่วงต้นเดือน ธ.ค.2558 ขณะที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ ที่เป็นผู้ดำเนินการสำรวจ กล่าวว่า สอบถามประชาชน 3,900 คน ระหว่างวันที่ 2 พ.ย.2558 - 10 พ.ย.2558 ผลปรากฏว่า ร้อยละ 98.6 แสดงความพึงพอใจต่อรัฐบาล คสช.

จากข้อมูลของกลุ่มเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ "ฮิวแมนไรท์วอทช์" ระบุว่า การปกครองของรัฐบาลทหาร คสช. ทำให้สถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย เข้าสู่ภาวะตกต่ำแบบไร้การควบคุม คสช.จำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกความคิดเห็น และการร่วมชุมนุม และควบคุมฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ด้วยการควบคุมตัวนักวิชาการ นักการเมือง ผู้สื่อข่าว และอื่นๆ รวมหลายร้อยคน ที่มองว่าวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล และกลุ่มคนเหล่านี้จะถูกนำตัวไปยังค่ายทหาร เพื่อทำในสิ่งที่เรียกว่า "ปรับทัศนคติ" และจะปล่อยตัวเป็นอิสระก็ต่อเมื่อ กลุ่มคนเหล่านี้เซ็นชื่อในข้อตกลง ที่จะไม่แสดงความเห็นเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐบาลอีก