ตอกย้ำความเลวร้ายของระบอบทักษิณ???...คุก3ปีเบญจาช่วย "โอ๊ค-เอม" เลี่ยงภาษีหุ้นชิน

ตอกย้ำความเลวร้ายของระบอบทักษิณ???... คุก3ปีเบญจาช่วย "โอ๊ค-เอม" เลี่ยงภาษีหุ้นชิน

ในวันนี้อีกหนึ่งคดีที่ตอกย้ำและพิสูจน์ให้เห็นถึงความเลวร้ายของระบอบทักษิณเมื่อครั้งเป็นรัฐบาล ด้วยการหาผลประโยชน์ร่วมกับข้าราชการระดับสูงและคนในครอบครัว

ซึ่งก็คือคดีอดีตรองอธิบดีกรมสรรพากรได้ร่วมกันเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 โดยเอื้อประโยชน์ให้กับ น.ส.พินทองทา และ นายพานทองแท้ เลี่ยงภาษีจำนวน 7 พันล้านบาท

 

ศาลอ่านคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำ อท.43/2558 ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนางเบญจา หลุยเจริญ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง สมัยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และอดีตรองอธิบดีกรมสรรพากร น.ส.จำรัส แหยมสร้อยทอง อดีต ผอ.สำนักกฎหมาย น.ส.โมรีรัตน์ บุญญาศิริ อดีตผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย นายกริช วิปุลานุสาสน์ ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย กรมสรรพากร และ น.ส.ปราณี เวชพฤกษ์พิทักษ์ คนใกล้ชิดเลขานุการส่วนตัวของคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร อดีตภรรยานายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นจำเลยที่ 1-5 ในความผิดฐานร่วมกันเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157

คดีดังกล่าว ป.ป.ช.ยื่นฟ้องแผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐในศาลอาญา เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2558 ระบุพฤติการณ์สรุปว่า จำเลยที่ 1-4 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานของกรมสรรพากรปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อไม่ให้นายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทา ชินวัตร บุตรของนายทักษิณ ต้องเสียภาษีอากร หรือเสียภาษีน้อยกว่าที่จะต้องเสีย และได้รับประโยชน์ที่มิควร โดยชอบด้วยกฎหมาย จากการที่ นายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทา ซื้อหุ้นบริษัทชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด เมื่อปี 2549 คนละ 164,600,000 หุ้น ในราคาพาร์หุ้นละ 1 บาท

ขณะที่ราคาตลาดหุ้นละ 49.25 บาท ถือได้ว่านายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทา เป็นผู้ได้รับเงินพึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 39 และมีหน้าที่ต้องเสียภาษีของส่วนต่างราคาหุ้น คนละ 7,941,950,000 บาท ซึ่งการกระทำนั้นทำให้กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง และราชการเสียหาย จำเลยทั้งหมดให้การปฏิเสธต่อสู้คดี

ศาลพิเคราะห์แล้ว คดีมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1-4 ร่วมกันปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่มิชอบ โดยมีจำเลยที่ 5 เป็นผู้สนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่มิชอบหรือไม่ เห็นว่าคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร เคยมีความเห็นเกี่ยวกับรายได้และส่วนต่างการโอนขายหุ้นให้กับบุคคลธรรมดา เข้าลักษณะเป็นผู้ได้รับประโยชน์ ซึ่งต้องนำเงินนั้นมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 39 กรณีของนายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทา ได้ประโยชน์จากส่วนต่างของการขายหุ้นละ 1 บาท จึงต้องเป็นรายได้ที่นำมาคำนวณเพื่อเสียภาษี โดยผลจากการกระทำของจำเลยที่ 1-4 ในการตอบข้อหารือที่ขัดออกไปก่อให้เกิดความเสียหายต่อกรมสรรพากร ซึ่งความผิดสำเร็จตั้งแต่การตอบข้อหารือ

ส่วนจำเลยที่ 5 ซึ่งหารือมายังสำนักกฎหมาย แล้วนำคำหารือไปใช้ประโยชน์ จึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนด้วย จึงพิพากษาว่า จำเลยที่ 1-4 มีความผิดฐานปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และ 83 ให้จำคุกคนละ 3 ปี ส่วนจำเลยที่ 5 มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และ 86 มีโทษ 2 ใน 3 จึงให้จำคุกเป็นเวลา 2 ปี และเมื่อพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีของจำเลยทั้งหมดจึงไม่มีเหตุให้รอการลงโทษ

 ต่อมาทนายความจำเลยทั้งห้าได้ยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์ เพื่อขอปล่อยชั่วคราวระหว่างยื่นอุทธรณ์ โดยจำเลยที่ 1-4 ยื่นหลักทรัพย์เป็นหนังสือรับรองเพื่อรับการช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ ที่ต้องหาคดีของกรมสรรพากร มีวงเงินไม่เกิน 4.2 แสนบาท ส่วนจำเลยที่ 5 ใช้หลักทรัพย์เป็นเงินสด จำนวน 3 แสนบาท

ศาลอาญาแผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐในศาลอาญา ได้อนุญาตให้นางเบญจา กับพวก รวม 5 คน ได้รับการประกันตัวโดยตีราคาประกันไว้ 3 แสนบาท และไม่กำหนดเงื่อนไข

จริงๆแล้วอาจไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะถ้าหากย้อนไปตรวจสอบนางเบญจา หลุยเจริญ  ในยุคที่เครือข่ายทักษิณเรืองอำนาจ พบว่ามีการร่ำรือถือว่ามีความสนิทใกล้ชิดกับคุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์

นางเบญจา มีความสนิทใกล้ชิดกับคุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์

ว่ากันว่าตลอด 8 ปี ก่อนหน้าที่นางเบญจาจะมานั่งในตำแหน่งรมช.คลัง ได้ยึดมั่นในหลักการและจุดยืนตนเองอย่างเสมอต้นเสมอปลาย ไม่ว่าจะถูกคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) เรียกมาสอบสวนกี่ครั้งก็ตาม เธอก็ยังยืนยันว่า “การซื้อ-ขายหุ้นบริษัทชินคอร์ปอเรชั่นของครอบครัวชินวัตร

ทั้งกรณีซุกหุ้นชินฯ 1 และซุกหุ้นชินฯ 2 วินิจฉัยอย่างไรก็ไม่ต้องเสียภาษี” สุดท้ายกรมสรรพากรจึงต้องยุติการดำเนินคดีซื้อ-ขายหุ้นชินคอร์ปฯ ทุกกรณี

ผลงานของ นางเบญจา ไม่ได้หยุดลงอยู่แค่ตรงนี้ หลังจาก ครม.ปู1 จัดตั้งรัฐบาลเสร็จเรียบร้อย ปลายปี 2554 นางเบญจา ได้รับการแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมสรรพสามิต ในระหว่างที่ นางเบญจา กำลังเคลียร์ปัญหารถยนต์จดประกอบและรถยนต์หรูอยู่นั้น

ปรากฏว่าสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลนำโควตาสลากฯ 4 ล้านฉบับ มูลค่าหลายพันล้านบาท ไปทำสัญญาขายล่วงหน้ากับตัวแทนจำหน่ายสลากฯ ภาคเหนือเป็นเวลา 2 ปี โดยที่ไม่มีผู้ใหญ่ในพรรคเพื่อไทยทราบเรื่องนี้มาก่อน

นางเบญจา ในฐานะประธานคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล จึงต้องลงมาเคลียร์เรื่องนี้ สอบไปสอบมา นางเบญจา ถูกเด้งออกจากตำแหน่งประธานบอร์ดสลากฯ เรื่องนี้จึงร้อนไปถึงคนที่ดูไบ ผลคือ นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ถูกปลดจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

และให้นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี ควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแทน

 

แต่อย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลังก็ไม่สามารถเรียกโควตาสลากฯ 4 ล้านฉบับ กลับคืนมาได้ เพราะสำนักงานสลากฯ ไปทำสัญญาผูกพันกับบริษัทเอกชนเรียบร้อยแล้ว หากไปบอกเลิกสัญญา สำนักงานสลากฯ จะถูกฟ้องเรียกค่าเสียหาย

สุดท้าย นายสมชาติ วงศ์วัฒนศานต์ ผู้อำนวยการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จึงต้องกลายเป็นแพะ ถูกกระทรวงการคลังเลิกจ้างในข้อหาขาดภาวะความเป็นผู้นำ

หลังจาก นางเบญจา เคลียร์ปัญหารถยนต์จดประกอบเสร็จเรียบร้อย โดยการยกเลิกการจดทะเบียนรถยนต์จดประกอบ วันที่ 1 ตุลาคม 2555 นางเบญจา ถูกแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศุลกากร เพื่อเคลียร์ปัญหาผู้นำเข้ารถยนต์หรูสำแดงราคานำเข้าต่ำผิดปกติ ทำให้รัฐบาลสูญเสียรายได้เป็นจำนวนมาก จนประเด็นรถหรูถูกดำเนินการไป